จากภาวะโรคอ้วนที่ระบาดไปทั่วโลกเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ภาวะการเกิดโรคแทรกซ้อนและโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมาเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือด เกาต์ ข้อเข่าเสื่อม ไปจนถึงภาวะไขมันเกาะตับที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ
ปัญหาของผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือโรคอ้วนส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย หนึ่งในนั้นคือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้ถึงร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทั้งหมด และ 4 ใน 5 ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดนี้มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน
โรครองช้ำเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบบริเวณพังผืดใต้ฝ่าเท้า ส่วนใหญ่มักเป็นบริเวณที่พังผืดยึดกับกระดูกส้นเท้า ผู้ป่วยมักมีการเจ็บปวดบริเวณส้นเท้าเวลาลงน้ำหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรก ๆ ของการลงน้ำหนัก เช่น ตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังจากการนั่งนาน ๆ แต่เมื่อเดินไปเรื่อย ๆ อาการปวดจะดีขึ้น
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เป็นโรคที่มีความรุนแรงมาก หากไม่สามารถวินิจฉัยได้ทัน ทำการรักษาไม่ทันท่วงที ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตทันที ดังนั้นการสังเกตอาการสำคัญที่บ่งบอกถึงความรุนแรงของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยอย่างเด็ดขาด
ความน่ากลัวของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองคือ หากรักษาไม่ทันท่วงทีอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต การผ่าตัดแผลเล็กด้วยวิธีใส่หลอดเลือดเทียมชนิดมีขดลวดถ่างขยายผ่านสายสวน (Endovascular Aneurysmal) นอกจากแผลผ่าตัดเล็ก ยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และส่งผลดีในระยะยาว
การทำเลสิกไร้ใบมีดแบบแผลเล็ก ReLEx รพ.กรุงเทพ
อันตรายของโรคต้อหิน: รายการผู้หญิงถึงผู้หญิง
ถ้าอยากให้สุขภาพแข็งแรง น้ำหนักบนตราชั่งเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ และไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด การเข้าใจต้นเหตุของน้ำหนักที่เพิ่มและรู้จักวิธีลดน้ำหนักที่ถูกต้องคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาน้ำหนักที่ดีให้คงที่ในระยะยาว
ภาวะการมีบุตรยากหรือภาวะการมีลูกยาก (Infertility) หมายถึง เมื่อคู่สมรสที่มีความสัมพันธ์ทางเพศเป็นปกติเป็นเวลา 12 - 24 เดือนขึ้นไปแล้วยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น โดยในระหว่างนี้ไม่มีการใช้การคุมกำเนิดใด ๆ ทั้งสิ้น
มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่พบมากเป็นอันดับที่ 7 ของมะเร็งสตรีทั่วโลก ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ในระยะลุกลามแล้วเป็นส่วนใหญ่ พบมะเร็งรังไข่ได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ 20 - 80 ปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 50 - 60 ปี
โรคเกาต์และโรครูมาตอยด์เป็นโรคข้อที่พบมากในคนไทย ซึ่งส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก การแยกความเจ็บป่วยของทั้งสองโรคไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะฉะนั้นการรู้ถึงความต่างของอาการระหว่างโรคเกาต์และโรครูมาตอยด์จะช่วยให้รับมือได้ทันและดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี
อาการปวดข้ออาจหายไปได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป อาการปวดข้อก็กลายเป็นปวดเรื้อรังที่มีความรุนแรงมากขึ้น และอาจเป็นอาการนำของโรคร้ายบางชนิด