การรู้ตัวล่วงหน้าว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อม จะช่วยให้เราสามารถวางแผนและปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต โดยเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อสมอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เน้นการบริหารสมองด้วยการอ่านหนังสือ เล่นเกมที่อาศัยการคิดคำนวณ พยายามพบปะผู้คนเพื่อพูดคุยและเข้าสังคม และสุดท้ายอย่างลืมบริหารจัดการความเครียดให้ดี ทั้งหมดสามารถช่วยชะลอหรือทุเลาอาการเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้
‘ศตวรรษแห่งสมอง’
เพื่อตอบสนองจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีจำนวนมากขึ้น ทำให้ทิศทางการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ของโลกมุ่งให้ความสำคัญกับ ‘ศตวรรษแห่งสมอง’ มากขึ้น การพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์เพื่อให้รุดหน้าการคุกคามของโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่มาจาก ‘สมอง’ กลไกหลักที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย ซึ่งหานกสูญเสียความสามารถในการทำงานไปแล้ว การฟื้นฟูกลับมามีสมรรถนะเช่นเดิมได้นั้นค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา
บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS จับมือศัลยแพทย์สมองชื่อดังของโลก ร่วมเป็นพันธมิตรในการวิจัยเพื่อรักษาผู้ป่วยเนื้องอกและมะเร็งสมอง ก้าวสู่การเป็น ‘สถาบันการรักษาด้านสมองและระบบประสาท’ ที่ทันสมัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ความร่วมมือกับ ศ.นพ.คีธ แอล แบล็ค ศัลยแพทย์สมองชื่อดังของโลก
การทำโครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพสำหรับอนาคตในการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาท ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ จะมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมาใช้ในการรักษา โดยความร่วมมือแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกคือ การใช้เทคโนโลยีเครื่องเลเซอร์สำหรับผ่าตัดเนื้องอกในสมอง Time Resolved Fluorescence Spectroscopy (TRFS)
“ด้วยแนวคิดตรงกันเพื่อยกระดับความก้าวหน้าทางการแพทย์ด้านศัลยกรรมสมองให้ล้ำหน้าการพัฒนาของโรค เพื่อการป้องกันและเตรียมพร้อมสำหรับการรักษาที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ผมตัดสินใจร่วมงานวิจัยกับ BDMS ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการผ่าตัดเนื้องอกและมะเร็งในสมอง เนื่องจากปัจจุบัน หนึ่งในความท้าทายของศัลยแพทย์ระบบประสาท คือ จะไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจนระหว่างเนื้อเยื่อสมองที่ดีและส่วนที่เป็นมะเร็ง ดังนั้นเทคนิคนี้จะเป็นการใช้เลเซอร์ระบุพื้นที่ของเนื้อเยื่อสมองได้อย่างชัดเจน เพื่อให้การผ่าตัดสมองสูญเสียพื้นที่สมองส่วนดีน้อยที่สุด ลดความเสี่ยง ความเสียหายของสมองและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้มากขึ้น
และก้าวต่อไปของกรอบความร่วมมือ คือ การป้องกันความเสี่ยงเรื่องโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์นั้นไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติแต่เนิ่นๆ ทว่าสามารถตรวจพบเมื่อผู้ป่วยแสดงอาการแล้ว เท่านั้น ทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี้ท่าที่ควร ผู้ที่แสดงอาการแล้วความเสียหายของสมองจะมีมากถึง 40% อีกทั้งปัจจุบันการตรวจหาความผิดปกติของโรคอัลไซเมอร์โดยการทำ PET Scan ก็ยังมีราคาสูง โดย ศ.นพ.คีธ แอล แบล็ค ได้ทำการวิจัยการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ด้วยการถ่ายภาพจอประสาทตาเพื่อค้นหาผู้ที่เริ่มเป็นอัลไซเมอร์แม้ยังไม่มีอาการปรากฏ รวมทั้งสามารถตรวจพบความเสี่ยงของผู้ป่วยได้นานถึง 20 ปีก่อนเกิดโรค ซึ่งจะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาในระยะยาวและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น นับได้ว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง |
“ผมเห็นโอกาสสำหรับ BDMS นอกเหนือไปจากมาตรฐานการรักษาในปัจจุบันในการเป็นส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ป่วยทุกระดับสามารถเข้าถึง และได้รับประโยชน์จากการวิจัยทางการแพทย์ในวงกว้างมากที่สุด”
และนี่เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของ BDMS ที่ช่วยตอกย้ำเป้าหมายหลักซึ่งก็คือ การสนับสนุนและส่งเสริมให้คนในสังคมหันมาดูแลใส่ใจตนเอง เพื่อการมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ที่แข็งแรง ขณะเดียวกันก็มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รองรับการดูแลและรักษาผู้ป่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้การเป็น Trusted Health Care Network ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น