การตรวจภาวะการไหลย้อนที่กระเพาะอาหารควรพบอายุรแพทย์หรือแพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบทางเดินอาหารเพื่อสอบถามและตรวจอาการให้แน่ใจว่าเกิดจากภาวะไหลย้อน และแพทย์จะเป็นผู้แนะนำวิธีการตรวจทดสอบที่เหมาะสมกับลักษณะของอาการ วิธีการตรวจทดสอบสามารถตรวจปัญหาของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก แพทย์อาจจะให้ทานยาโดยไม่ต้องทำการตรวจทดสอบ ถ้าอาการบ่งชี้ว่าเป็นภาวะไหลย้อนอย่างชัดเจน
อาการภาวะการไหลย้อนที่กระเพาะอาหาร
ผู้ใหญ่และเด็กเกือบทุกคนจะมีภาวะการไหลย้อนที่กระเพาะอาหารในปริมาณเล็กน้อยโดยไม่เคยรู้สึก เนื่องจากสิ่งที่ไหลย้อนนั้นสามารถไหลกลับเข้าไปในกระเพาะอาหารโดยไม่ทำอันตรายต่อหลอดอาหาร อย่างไรก็ตามในเด็กบางรายนั้น สิ่งที่ไหลย้อนมานั้นยังคงอยู่ในหลอดอาหารและทำให้เกิดการอักเสบ ในบางรายที่ภาวะการไหลย้อนไหลขึ้นไปถึงบริเวณปากและลำคอ เมื่อมีการกลืนลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ไหลย้อนอาจจะไหลผ่านบริเวณด้านหลังของปาก ซึ่งเชื่อมต่อกับทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการเสียงแหบหรือไอได้ รวมถึงอาการต่าง ๆ ดังนี้- ปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย
- เสียงแหบแห้ง
- กลืนอาหารยากและเจ็บ
- อาเจียน
- เจ็บคอ
- น้ำหนักลด
- เจ็บเสียดบริเวณหน้าอกที่เรียกว่า Heartburn
ตรวจภาวะการไหลย้อนที่กระเพาะอาหาร
วิธีการตรวจทดสอบที่มักจะใช้ในการตรวจภาวะไหลย้อนมีดังนี้
-
การเอกซเรย์ Upper Gastrointestinal (GI) Series X Ray. การใช้เอกซเรย์เป็นเพียงการตรวจดูความเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบภายในของร่างกาย เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและสำไส้ แต่การตรวจเอกซเรย์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถใช้วิเคราะห์ได้ว่าเป็นภาวะไหลย้อนหรือไม่ เพียงแต่สามารถช่วยวินิจฉัยในกรณีที่อาการที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ภาวะไหลย้อน
-
การส่องกล้อง Endoscopy. จะต้องมีการให้ยานอนหลับก่อนการส่องกล้อง เนื่องจากต้องใช้กล้อง ซึ่งติดอยู่กับท่ออ่อนยาว ๆ สอดเข้าไปทางปากเพื่อผ่านไปยังหลอดอาหารและหูรูด กล้องสามารถช่วยให้แพทย์มองเห็นภาพภายในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เพื่อใช้ในการวินิจฉัย รวมทั้งสามารถทำการตัดชิ้นเนื้อและนำมาตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อระบุถึงระดับความรุนแรงของปัญหาได้
-
การตรวจวัดสภาพกรดด่างในหลอดอาหาร Esophageal pH Probe. เครื่องตรวจลักษณะคล้ายเส้นลวดจะถูกสอดเข้าไปทางจมูกผ่านไปยังส่วนล่างของหลอดอาหาร หัวตรวจจะสามารถตรวจปริมาณกรดที่ไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารและทำให้สามารถระบุได้ว่ามีภาวะไหลย้อนหรือไม่
แจ้งแพทย์หากมีอาการเหล่านี้
ควรจะแจ้งให้แพทย์ทราบ ถ้ามีอาการหล่านี้ร่วมด้วย
-
อาเจียนอย่างรุนแรง
-
สิ่งที่อาเจียนออกมามีสีเขียว สีเหลือง มีสีคล้ายกาแฟหรือคล้ายเลือด
-
หายใจลำบากหลังมีการอาเจียน
-
รู้สึกเจ็บจากการรับประทานอาหาร
-
เบื่ออาหารและน้ำหนักลด
-
กลืนอาหารยากและเจ็บ