ลำไส้กลืนกัน ภัยเงียบของลูกน้อยที่คุณแม่ควรรู้

1 นาทีในการอ่าน
ลำไส้กลืนกัน ภัยเงียบของลูกน้อยที่คุณแม่ควรรู้

รู้จักโรคลำไส้กลืนกัน 

โรคลำไส้กลืนกัน (Intussusception) คือ ภาวะที่ลำไส้ส่วนต้นมุดเข้าสู่โพรงของลำไส้ส่วนที่อยู่ถัดไปทางด้านปลาย เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะถ้าลำไส้กลืนกันอยู่เป็นเวลานาน จะเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดจนเกิดการเน่า ลำไส้แตกทะลุ และเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รวมทั้งติดเชื้อในกระแสเลือดและอาจจะเสียชีวิตได้ ซึ่งเด็กวัย 3 เดือน ถึง 2 ปี เป็นวัยที่เสี่ยงที่สุด จะเป็นชนิดกลืนกันแบบมีการมุดตัวของลำไส้เล็กส่วนปลายเข้าสู่โพรงลำไส้ใหญ่ส่วนต้น Ileocolic Type

 

ข้อสังเกตสำไส้กลืนกัน

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ว่าลูกมีภาวะลำไส้กลืนกันจาก
  • อาการปวดท้อง กระสับกระส่าย มือเท้าเกร็ง
  • ร้องไห้เป็นพัก ๆ ประมาณ 15 – 30 นาทีก็เริ่มร้องอีก เวลาที่ร้องไห้ลูกจะงอเข่าขึ้นทั้งสองข้าง Colicky ain
  • ท้องอืดและอาเจียน ช่วงแรกมักจะเป็นนมหรืออาหารที่ลูกกินเข้าไป แต่ระยะหลังจะมีสีเหลืองหรือเขียวของน้ำดีปนออกมา
  • อุจจาระมีเลือดคล้ำ ๆ ปนเมือก
  • เด็กบางคนอาจจะมีอาการซึมหรือชักร่วมด้วย

photo31

รักษาโรคให้ถูก

การรักษาโรคลำไส้กลืนกันมี 2 วิธี 

  • วิธีที่ 1 คือ การดันลำไส้ส่วนที่ถูกกลืนให้ออกมาจากลำไส้ส่วนที่กลืนกันอยู่ โดยการใช้แรงดันผ่านทางทวารหนัก ซึ่งอาจจะใช้การสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารของเหลวที่เป็นสารทึบรังสี Barium หรือใช้ก๊าซเป็นตัวดัน ถ้ากระบวนการสวนลำไส้ใหญ่สามารถดันลำไส้ที่กลืนกันออกได้สำเร็จ ก็ไม่จำเป็นจะต้องผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรับประทานอาหารได้ภายใน 1 – 2 วัน

  • วิธีที่ 2 คือ การผ่าตัดเปิดช่องท้อง ในการผ่าตัดนั้นศัลยแพทย์จะใช้มือบีบดันให้ลำไส้ส่วนที่กลืนกันคลายตัวออกจากกัน มีเพียงผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีการเน่าหรือมีการแตกทะลุของลำไส้แล้ว ซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเป็นจะต้องตัดลำไส้ส่วนที่เน่าตายออกและทำการต่อลำไส้ส่วนที่ดีเข้าหากัน กลุ่มนี้จะรุนแรงและให้การดูแลรักษาแบบกลุ่มลำไส้อุดตัน นอนในโรงพยาบาลนาน และมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่า
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 4 อาคาร B โรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00 - 20.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด