เพื่อเป็นการลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อและเพิ่มความมั่นใจในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ทางโรงพยาบาลได้มีมาตรการการป้องกันการแพร่กระจายและการควบคุมโรคอย่างเข้มงวด
1. Access and screening
- มีการจำกัดทางเข้า-ออก ของแต่ละอาคาร โดยให้มี 1 ทางเข้า-ออก สำหรับ 1 ตึกเท่านั้น
- ทุกทางเข้าอาคารและเคาน์เตอร์ในโรงพยาบาล จะมีการซักประวัติการเดินทาง/สัมผัสกลุ่มเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา รวมถึง ประวัติไข้ อาการทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ เจ็บคอ ไอ จาม มีน้ำมูกหายใจลำบาก หายใจติดขัด เจ็บหรือแน่นหน้าอก
- ทุกจุดเข้า-ออกหลักของโรงพยาบาลทุกตึก มีการใช้เครื่อง Thermo scan เพื่อตรวจอุณหภูมิเบื้องต้น
- มีการติดตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์เจลสำหรับทำความสะอาดมือในทุกจุดของโรงพยาบาล
- มีบริการแจกหน้ากากอนามัยให้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบหายใจ
2. Hygiene and Cleaning
- มีการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุก 30 นาที ทั่วทั้งโรงพยาบาลในบริเวณที่มีการสัมผัส เช่น ประตู หน้าต่าง ลิฟท์ เคาน์เตอร์ ที่จับบันไดหรือบันไดเลื่อน ที่จับประตู พื้น และโต๊ะ
- มีการใช้ทิชชู่เคลือบน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อทำความสะอาดยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้รับ-ส่ง คนไข้ และ บุคคลากร เช่น บริการ valet, รถตู้, รถกอล์ฟ โดยจะทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้แต่ละครั้ง
- มีการจัดการและกำจัดขยะติดเชื้อและขยะทั่วไปอย่างเคร่งครัด
3. Isolation area for serving suspected cases
- Acute Respiratory Infection Clinic ตั้งอยู่ที่ข้างแผนกฉุกเฉิน ให้บริการตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่เข้าข่ายติดเชื้อโดยแยกพื้นที่บริการออกจากพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของโรงพยาบาลอย่างชัดเจน
- การตรวจคัดกรองและการตรวจทางห้องปฏิบัติการทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ
- อุปกรณ์ป้องกันและห้องความดันลบ และ Healthy Bot
- ในขณะรอผลการตรวจ ผู้ป่วยจะได้รับการแยกรักษาในวอร์ดพิเศษ ที่มีการแยกเป็นพื้นที่พิเศษ
- หากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อ รพ.กรุงเทพ ให้การรักษาในวอร์ดพิเศษแยกโรค โดยมีระบบระบายอากาศตามมาตรฐานการรักษาโรคติดเชื้อ และ Isolation stretcher ในกรณีที่จะต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล
4. Hospital Personnel
- แพทย์ พยาบาล และบุคลากรโรงพยาบาลทุกคนปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันอย่างเคร่งครัดทุกจุดบริการ
- มีการใช้อุปกรณ์ป้องกัน (PPE) หากมีข้อบ่งใช้
- มีการให้บริการความช่วยเหลือทางการแพทย์หากพนักงานมีข้อบ่งใช้
- มีการจัดอบรมเพื่ออัพเดทเหตุการณ์ความรุนแรง รวมทั้งมาตรการการควบคุมของโรงพยาบาล
5. Public Communication
- การสื่อสารสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทุกระยะและความปลอดภัย
- สร้างความตระหนัก ให้ความรู้แก่สาธารณชนและบุคลากรภายในรพ. ในแง่ของการดูแลสุขภาพ การลดความเสี่ยง และการกักตัวที่บ้าน ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สื่อออนไลน์, contact center และอีเมล