จากการสำรวจพบว่า มีประชาชนที่สูบบุหรี่ถึง 10.8 ล้านคน เป็นชายกว่า 10 ล้านคน เป็นหญิงถึง 6 แสนคน เทียบอัตราส่วนเท่ากับ 20:1 ผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 80 ต้องการเลิกสูบบุหรี่ เหตุที่การเลิกสูบบุหรี่ยาก เพราะว่ายาสูบมีสารที่เรียกว่า “นิโคติน” ใครก็ตามที่ได้รับสารเข้าไปจะเกิดการ“เสพติด” อย่างรุนแรง เมื่อคุณสูบ สูด หรือดมเข้าไป จะส่งผลต่อไปยังสมองและทำให้เริ่มติดบุหรี่
การสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะมีแต่โรคมารุมเร้าอยู่เสมอ โดยมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 10 เท่า และมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้นอย่างมาก ความน่ากลัวยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะผู้หญิงที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ มีโอกาสแท้งบุตรและสูญเสียบุตรได้ เพราะสารพิษจากบุหรี่ที่ถ่ายทอดจากกระแสเลือดของแม่ผ่านทางรกมายังทารกได้โดยตรง ผลจากการได้รับสารพิษจากควันบุหรี่ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (บุหรี่มือสอง) ก็ล้วนเกิดความเสียหายต่อตนเองและคนรอบข้าง เลิกสูบบุหรี่ตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่บุหรี่จะทำร้ายคุณและคนที่คุณรัก
โรคที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากการสูบบุหรี่
- โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคมะเร็ง
- ผลต่อผู้ตั้งครรภ์
- โรคที่ขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายนิ้วมือ และนิ้วเท้า
- โรคต้อกระจก หรือต้อแก้วตา ที่อาจส่งผลให้ตาบอดได้
- ความรู้สึก ความรับรู้เสื่อมลง
- มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
- มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปากและฟัน
ผลดีต่อผู้ที่เลิกสูบบุหรี่
- ร่างกายค่อย ๆ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้กลับมาดังเดิมได้
- มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- มีอายุยืนยาวขึ้น
- โอกาสในการเกิดโรคต่าง ๆ ลดลง เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังสูบอยู่
10 ปีให้หลัง
- เซลล์ที่กำลังจะก่อตัวทำให้เกิดมะเร็งจะได้รับการกำจัดออกไป
- ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งอื่น ๆ จะลดลง
15 ปีให้หลังและต่อ ๆ ไป
- ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดจะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่
- ความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลกรุงเทพพร้อมให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มตัดสินใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ถึง 1 ปี โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ผู้ชำนาญการที่จะคอยดูแล เอาใจใส่ ตลอดจนตรวจวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคในการเลิกสูบบุหรี่ เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล ภาวะเครียด ฯลฯ โดยการติดตามผลอย่างใกล้ชิด เน้นการรักษาควบคู่กับกิจกรรมผ่อนคลาย เพื่อสุขภาพดี อาทิ การออกกำลังกาย การเล่นโยคะ ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด กิจกรรมสันทนาการรายกลุ่ม/เดี่ยว ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด