ปัญหาสายตาเป็นอุปสรรคสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับหลายๆคน ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อถนอมสายตา และรองรับการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แว่นสายตา คอนแทคเลนส์ จนถึงการผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตา หรือการทำเลสิกที่ปัจจุบันมีความทันสมัยมากขึ้น
ศูนย์เลสิก โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า การทำเลสิกเป็นการผ่าตัดแก้ไขสายตาที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตโดยปราศจากแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ วิธีการทำมี 2 ขั้นตอนหลัก คือ
- การแยกชั้นกระจกตา ในอดีตจะใช้เครื่องแยกชั้นกระจกตา Microkeratome ซึ่งเป็นใบมีดชนิดพิเศษที่แยกชั้นกระจกตาส่วนบนเพื่อเปิดขึ้นเป็นฝากระจกตา
- ต่อมามีเทคโนโลยีที่สามารถแยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์ โดยเครื่อง Femtosecond Laser จึงเป็นที่มาของการทำเลสิกไร้ใบมีด (Femto LASIK) ที่มีความแม่นยำมากขึ้น ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีที่แยกชั้นกระจกตาได้อย่างปลอดภัยและแม่นยำ ในระยะเวลา 17 วินาที โดยเลเซอร์จะโฟกัสลงไปใต้ผิวกระจกตาด้วยความแม่นยำและสแกนไปตามความโค้งของกระจกตา ให้สัมผัสที่อ่อนโยน ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตาระหว่างการผ่าตัด สามารถลดความคลาดเคลื่อนของการแยกชั้นกระจกตา ลดปัญหาผิวกระจกตาถลอก ใช้เวลาในการผ่าตัดโดยรวมเฉลี่ยข้างละ 15 นาที นอกจากนี้กระจกตายังสมานตัวเร็ว ช่วยย่นระยะเวลาการพักฟื้นได้ในอีกด้วย
คุณแอน-ทวีรัตน์ จิรดิลก พิธีกรสาวของรายการสโมสรสุขภาพ ทางช่อง 9 อสมท. กล่าวถึง การใช้ชีวิตประจำวันที่สะดวกสบายมากขึ้นหลังทำเฟมโตเลสิก (Femto LASIK) หรือเลสิกไร้ใบมีด ว่า แอนเคยมีสายตาสั้นมากถึง 700 หากไม่มีแว่นหรือคอนแทคเลนส์จะไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เลย ขับรถไม่ได้เพราะไม่เห็นเส้นถนน ยิ่งงานอาชีพพิธีกรต้องอ่านสคริปต์ อัพเดทข้อมูลจากสมาร์ทโฟนตลอดเวลา ก่อนหน้านี้คุณแอนใช้คอนแทคเลนส์เป็นตัวช่วยหลัก เพราะไม่สะดวกที่จะใส่แว่นเพราะการทำงานหน้ากล้องที่ต้องแต่งหน้า ติดขนตาปลอม แม้คอนแทคเลนส์ที่ต้องติดตัวตลอด ต้องใส่เข้าและถอดออกทุกวัน ต้องระวังการขยี้ตา เพราะจะระคายเคืองหรืออาจติดเชื้อได้ ที่สำคัญ ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ ทุกเดือน ทำให้เริ่มมองหาตัวช่วยอื่นที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น
“ส่วนตัวตั้งใจจะทำเลสิกอยู่แล้ว เพราะไม่อยากใส่คอนแทคเลนส์ทุกวัน และต้องเปลี่ยนตลอด ถือเป็นค่าใช้จ่ายระยะยาว ยิ่งต้องทำงานหน้ากล้อง โดนแสง โดนไฟ ทำให้ตาแห้งเร็ว มองจอ หรือมอนิเตอร์ไม่เห็น เป็นปัญหาต่อการทำงาน ที่สำคัญหากตอนกลางคืนถอดคอนแทคเลนส์แล้วเกิดมีเหตุฉุกเฉิน การที่เรามองอะไรเบลอๆ มองไม่เห็นรอบด้าน จึงกลายเป็นปัญหา” พิธีกรสาวเผย
แต่ก็เคยได้ยินว่า ทำเลสิกแล้ววิสัยทัศน์การมองตอนกลางคืนอาจจะไม่ชัดเลยทำให้ลังเล บวกกับกลัวมีดด้วย จนมีคนแนะนำเลสิกไร้ใบมีด หรือเฟมโตเลสิก ก็เริ่มสนใจ จึงหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ทำให้เชื่อมั่นในเทคโนโลยี จึงได้ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเรื่องการเตรียมตัว สิ่งที่ช่วยให้ตัดสินใจเร็วขึ้นคือ แพทย์ยืนยันว่า การผ่าตัดเฟมโตเลสิก ใช้เวลาในการพักฟื้นน้อย และระหว่างทำเลสิก คุณแอนชี้ว่า ไม่น่ากลัวเพียงแค่จ้องเซนเซอร์จุดสีเขียว ก็จะมีแสงเลเซอร์มาทำหน้าที่สแกน แยกชั้นกระจกตา ที่สำคัญใช้เวลาผ่าตัดน้อยมาก หลังจากการทำเฟมโตเลสิก แพทย์แนะนำเรื่องการดูแลตนเอง และข้อห้ามต่างๆ เช่น ห้ามแต่งหน้า ห้ามโดนน้ำ ห้ามทำอะไรให้ระคายเคืองตา ในช่วงคืนแรกหลังผ่าตัดควรมีคนคอยดูแลเพราะต้องปิดที่ครอบตา แต่ไม่นานก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติ
“หลังจากการทำเฟมโตเลสิก ชีวิตของแอนเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมาก ไม่ต้องเสียเวลาใส่และถอดคอนแทคเลนส์ ใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกขึ้น” คุณแอนกล่าว
สำหรับผู้ที่สนใจทำเลสิกต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไปและมีค่าสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี ไม่ต้องการใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ ไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ไม่มีโรคของกระจกตาหรือโรคตาอย่างรุนแรง เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้งอย่างรุนแรงรวมถึงโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการสมานแผล เช่น โรค SLE ทั้งยังต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในการผ่าตัดวิธีเลสิกอย่างละเอียด ตลอดจนมีความคาดหวังที่ถูกต้อง เพราะความเข้าใจและความคาดหวังของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่สำคัญ การเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในแก้ไขปัญหาสายตา ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงหรืออันตรายที่อาจเกิดตามมาได้
ปรึกษาปัญหาสายตาทุกช่วงวัยที่ ศูนย์เลสิก
ชั้น 5 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 – 16.00 น.
โทร. 0 2755 1307, 0 2310 3307 หรือ Contact Center โทร. 1719
อีเมล : [email protected]