
โรคหลอดเลือดหัวใจ รักษาได้ด้วยเทคนิคสายสวนผ่านทางข้อมือ
โรคหลอดเลือดหัวใจอันตรายและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต มักมีอาการเจ็บหน้าอกซ้ายหรือกลางหน้าอก แน่นหน้าอก คลื่นไส้ หากมีอาการควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางหัวใจโดยเร็ว ปัจจุบันสามารถรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยการสวนหัวใจโดยเทคนิคสายสวนผ่านทางข้อมือที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว นอกจากนี้แพทย์อาจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยหัวใจกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว

ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft - CABG)
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft - CABG) หรือบายพาสหัวใจ เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โดยศัลยแพทย์หัวใจจะใช้เทคนิคนี้ทั้งแบบใช้และไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมตามความจำเป็นของผู้ป่วย

โรคหัวใจมีหลายประเภทที่คุณควรรู้
โรคหัวใจที่สำคัญและคุณควรรู้ไว้ ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหัวใจรูห์มาติค<br /><br />

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรักษาได้
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ การนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจอ่อนกำลัง (Heart Failure)
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น คือภาวะที่หัวใจอ่อนแอหรืออ่อนกำลังลง ทำให้การทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งปกติเป็นเรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น แต่ก็ยังมีวิธีต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยและแพทย์จะร่วมมือกันเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ดีขึ้น

ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจซึ่งได้รับความนิยม เพราะไม่ต้องผ่าตัด

เส้นเลือดขอด (Varicose Veins)
โรคของเส้นเลือดดำที่ขาที่พบได้บ่อยคือ เส้นเลือดขอด การรักษานั้นทำได้ไม่ง่ายนัก หากเป็นน้อยอาจใช้วิธีใส่ถุงน่อง แต่ถ้าเป็นมากต้องรักษาด้วยการฉีดยาเฉพาะจุด และผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทาง

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Primary PCI)
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนับเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตราย เพราะผู้ป่วยอาจเสียชีวิตทันทีถึงครึ่งหนึ่ง ณ ที่เกิดเหตุ เพราะการนําไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ทําให้หัวใจเต้นระริกไม่บีบตัว จําเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน

ภาวะหลอดเลือดแข็ง ตรวจพบไวป้องกันรักษาได้ทัน
ภาวะหลอดเลือดแข็งเป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดชั้นในหนาตัวขึ้นเรื่อย ๆ มีไขมันไปสะสมระหว่างหลอดเลือดจนในที่สุดทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน ยิ่งตรวจพบเร็วโดยที่ยังไม่แสดงอาการจะช่วยป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที

ผ่าตัดแก้ไขภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่เกิดจากหัวใจห้องบน (Atrial Fibrilation)
การผ่าตัดแก้ไขไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ ศัลยแพทย์ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพทำการผ่าตัดแก้ไขไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจด้วยเทคนิคแผลเล็กหรือการใช้เครื่องมือผ่าตัดคล้ายหุ่นยนต์ ทำให้การผ่าตัดได้ผลดีถึง 90% ผู้ป่วยจะฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วและสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์

โรคหัวใจ ร้ายแรงแต่ป้องกันได้
หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่ควรใส่ใจดูแล ไม่ใช่เพียงเพื่อให้ได้ยินเสียงหัวใจเต้นอยู่ได้นานที่สุด แต่เพื่อให้เสียงหัวใจเต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอ บ่งบอกถึงสุขภาพที่ดีของชีวิต<br /><br />

ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก ต้นเหตุสมองขาดเลือด
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 1 - 2 รายในประชาชนทั่วไปและพบบ่อยขึ้นตามอายุ การป้องกันโรคสมองขาดเลือดจากภาวะหัวใจเต้นระริกจึงเป็นอีกเป้าหมายสำคัญในการรักษา ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการรักษาหลายวิธี โดยมียาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดเป็นหัวใจหลักในการป้องกันรักษา