แก้ไขปัญหาสายตาด้วย PRK

2 นาทีในการอ่าน
แก้ไขปัญหาสายตาด้วย PRK

8eecbd8e983dbffd1c1dd42c83ecfbc9

 

รู้จัก PRK 

PRK (Photorefractive Keratectomy) เป็นการรักษาสายตาผิดปกติด้วยแสงเลเซอร์เหมือนกัน แต่ต่างกันที่เลสิกมีการแยกชั้นกระจกตา แต่ PRKไม่ต้องแยกชั้นกระจกตา แต่ใช้แสงเลเซอร์ปรับผิวกระจกตาโดยตรง เมื่อปรับความโค้งเสร็จแล้วจึงปิดแผลด้วยคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ เพื่อรอให้ผิวด้านบนกลับมาคลุมเหมือนเดิม แล้วจึงนำคอนแทคเลนส์ออก ดังนั้นการทำเลสิกจะมีข้อดีกว่าการทำ PRK ตรงที่เลสิกจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตาหลังผ่าตัดมากกว่า ไม่ค่อยมีอาการเคืองหรือปวดตา และสายตาจะกลับคืนเป็นปกติได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าการทำผ่าตัดด้วยวิธี PRK


ตรวจเช็กก่อนแก้ไขสายตา

คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าใคร ๆ ก็สามารถเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์ได้ ในทางตรงกันข้ามคนบางคนอาจมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมกับการทำเลสิก โดยปกติจักษุแพทย์จะต้องทำการตรวจสอบวัดค่าสายตา ตรวจประเมินสภาพตาอย่างละเอียด และตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษอื่น ๆ เช่น ความโค้งและความหนาของกระจกตา ขนาดรูม่านตา วัดระดับการเบี่ยงเบนของแสง (Wavefront Analysis) เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ขั้นพื้นฐานในการเข้ารับการผ่าตัดทำเลสิก


ผู้ที่สามารถทำเลสิกได้

  • มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • มีค่าสายตาคงที่อย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี
  • ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • ไม่มีโรคของกระจกตา
  • ไม่มีโรคตาอย่างอื่นที่รุนแรง เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้งอย่างรุนแรง
  • ไม่มีโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคเบาหวาน ฯลฯ
  • มีความเข้าใจการผ่าตัดด้วยวิธีการแก้สายตาขาดหรือเกิน (การเห็นแสงกระจาย ความคมชัดไม่คงที่ ภาวะตาแห้ง)

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

การตัดสินใจทำการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกตินับเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ทั้งในแง่ประโยชน์ที่จะได้รับและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยทั่วไปแล้วเลสิกเป็นหัตถการที่ผลข้างเคียงต่ำและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาสายตา หากอยู่ภายใต้การดูแลจากจักษุแพทย์ที่มีประสบการณ์แทบไม่พบภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่ส่งผลให้เกิดความจำเป็นในการต้องทำการผ่าตัดแก้ไขหรือทำให้เกิดการสูญเสียทัศนวิสัย อย่างไรก็ตามอาจพบผลข้างเคียงเล็กน้อย ดังนี้

  • การติดเชื้อ (Infection) 

  • การแก้สายตาขาดหรือเกิน (Under and Over Corrections)

  • การเห็นแสงกระจาย (Glare) หรือมีรัศมีรอบดวงไฟ (Halo) โดยเฉพาะตอนกลางคืนในระยะแรก ๆ หลังการรักษาแล้วจะค่อย ๆ ดีขึ้น 

  • ความคมชัดไม่คงที่ (Fluctuation of Vision)

  • ภาวะตาแห้ง (Dry Eyes)

Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์เลสิก

ชั้น 5 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดให้บริการ

จันทร์ - เสาร์ 08.00 - 17.00 น.

อาทิตย์ 08.00 - 16.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด