กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรือมีไขมันเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดตีบแคบลงจนอุดตันจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
การตรวจ Aneurysm Screening เพื่อดูเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองบริเวณหน้าอกและช่องท้อง
การตรวจ M.R.A Brain เพื่อดูสภาพเส้นเลือดสมอง
ตรวจ Carotid เพื่อดูเส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอที่ไปเลี้ยงสมอง
การตรวจ ABI (Ankle Brachial Pressure Index) เพื่อดูสภาพเส้นเลือดที่ขา ช่วยตรวจดูว่ามีการตีบตันของหลอดเลือดข้างนั้น ๆ หรือไม่ ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีโอกาสพบได้ประมาณ 12 % ของแต่ละช่วงอายุ ในผู้ที่มีภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเท่า ๆ กัน
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึง ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ การนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน หากเป็นแล้วต้องรีบตรวจรักษา เพราะนอกจากรบกวนคุณภาพชีวิตและร้ายแรงตั้งแต่อัมพาตจนถึงเสียชีวิต
โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลายเกิดจากการตีบ ตัน หรือมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดของผู้ที่มีความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคอ้วน หรืออายุที่มากขึ้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงผิดปกติ
สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยที่ไม่ใช่อุบัติเหตุมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงเป็นอันดับ 2 และมีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่ปัจจุบันคนไทยมีอัตราการเกิดโรคนี้มากที่สุดและเป็นสาเหตุของการตายอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย
หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น ภาวะที่หัวใจอ่อนแอหรืออ่อนกำลังลง (Heart Failure) ทำให้การทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งปกติเป็นเรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น แต่ก็มีวิธีต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยและแพทย์จะร่วมมือกันเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ดีขึ้น
โรคหลอดเลือดหัวใจอันตรายและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต มักมีอาการเจ็บหน้าอกซ้ายหรือกลางหน้าอก แน่นหน้าอก คลื่นไส้ หากมีอาการควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางหัวใจโดยเร็ว ปัจจุบันสามารถรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยการสวนหัวใจโดยเทคนิคสายสวนผ่านทางข้อมือที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว นอกจากนี้แพทย์อาจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยหัวใจกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft - CABG) หรือบายพาสหัวใจ เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โดยศัลยแพทย์หัวใจจะใช้เทคนิคนี้ทั้งแบบใช้และไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมตามความจำเป็นของผู้ป่วย
โรคหัวใจที่สำคัญและคุณควรรู้ไว้ ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหัวใจรูห์มาติค<br /><br />