ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ การนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น คือภาวะที่หัวใจอ่อนแอหรืออ่อนกำลังลง ทำให้การทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งปกติเป็นเรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น แต่ก็ยังมีวิธีต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยและแพทย์จะร่วมมือกันเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ดีขึ้น
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจซึ่งได้รับความนิยม เพราะไม่ต้องผ่าตัด
โรคของเส้นเลือดดำที่ขาที่พบได้บ่อยคือ เส้นเลือดขอด การรักษานั้นทำได้ไม่ง่ายนัก หากเป็นน้อยอาจใช้วิธีใส่ถุงน่อง แต่ถ้าเป็นมากต้องรักษาด้วยการฉีดยาเฉพาะจุด และผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทาง
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนับเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตราย เพราะผู้ป่วยอาจเสียชีวิตทันทีถึงครึ่งหนึ่ง ณ ที่เกิดเหตุ เพราะการนําไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ทําให้หัวใจเต้นระริกไม่บีบตัว จําเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน
ภาวะหลอดเลือดแข็งเป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดชั้นในหนาตัวขึ้นเรื่อย ๆ มีไขมันไปสะสมระหว่างหลอดเลือดจนในที่สุดทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน ยิ่งตรวจพบเร็วโดยที่ยังไม่แสดงอาการจะช่วยป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที
การผ่าตัดแก้ไขไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ ศัลยแพทย์ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพทำการผ่าตัดแก้ไขไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจด้วยเทคนิคแผลเล็กหรือการใช้เครื่องมือผ่าตัดคล้ายหุ่นยนต์ ทำให้การผ่าตัดได้ผลดีถึง 90% ผู้ป่วยจะฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วและสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่ควรใส่ใจดูแล ไม่ใช่เพียงเพื่อให้ได้ยินเสียงหัวใจเต้นอยู่ได้นานที่สุด แต่เพื่อให้เสียงหัวใจเต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอ บ่งบอกถึงสุขภาพที่ดีของชีวิต<br /><br />
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 1 - 2 รายในประชาชนทั่วไปและพบบ่อยขึ้นตามอายุ การป้องกันโรคสมองขาดเลือดจากภาวะหัวใจเต้นระริกจึงเป็นอีกเป้าหมายสำคัญในการรักษา ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการรักษาหลายวิธี โดยมียาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดเป็นหัวใจหลักในการป้องกันรักษา
หัวใจเป็นอวัยวะที่ต้องดูแลให้ดี เพราะความผิดปกติอาจซ่อนอยู่ และแสดงอาการเมื่ออายุมากขึ้น ทุกอย่างเสื่อมลง โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพเผยเทคนิคการซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก (TAVI/TAVR) เพื่อผู้ป่วยสูงวัยที่มีอัตราความเสี่ยงในการรักษาสูง กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง
โรคหรือภาวะบางอย่างอาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตามีความอ่อนแอ เกิดการโป่งพองขยายขนาดจนใหญ่กว่าปกติขึ้น (Aneurysm) สามารถพบได้ในทุกระดับของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่อยู่ในช่องอกหรือช่องท้อง
ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง แนวทางการรักษาที่ให้ผลที่ดีที่สุด คือ การตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาก่อนที่จะมีอาการโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เพราะให้ผลการรักษาที่ดีกว่ากรณีฉุกเฉินถึงสิบเท่า