การตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการดูแลครรภ์ รวมถึงการพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อติดตามสุขภาพของคุณแม่และเจ้าตัวเล็ก การอบรมครรภ์คุณภาพจึงมีความสำคัญกับคุณพ่อคุณแม่ เพราะช่วยเตรียมความพร้อมตลอดการตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง ช่วยให้ลูกน้อยลืมตาดูโลกอย่างราบรื่น
ความสำคัญของการฝากครรภ์
- ดูแลรักษาสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ให้ราบรื่นตลอดการตั้งครรภ์และการคลอด
- คลอดบุตรที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
- ลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนของแม่และเด็ก
- วินิจฉัย ป้องกัน และรักษาความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อน
ปัญหาก่อนตั้งครรภ์
- โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
- เบาหวาน
- เนื้องอกมดลูก
- ความดันโลหิตสูง
ปัญหาระหว่างตั้งครรภ์
ปัญหาที่ตรวจพบระหว่างการตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกจนถึงก่อนคลอด
- ครรภ์แฝด
- ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ภาวะครรภ์เป็นพิษ
- เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ตรวจเช็กคุณแม่
- ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ตรวจธาลัสซีเมีย
- ตรวจคัดกรองเบาหวาน
- ตรวจ Streptococcus group B เป็นเชื้อโรคที่สามารถตรวจพบในช่องคลอดและทวาร
ตรวจเช็กทารกในครรภ์
- ตรวจอัลตราซาวนด์
- ตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม
- ตรวจน้ำคร่ำ
ตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม
- แปลผลเป็นค่าความเสี่ยง
- ใช้ระดับฮอร์โมนในเลือดร่วมกับความหนาของ Nuchal Translucency
- ถ้าความเสี่ยงสูงแนะนำพิจารณาการเจาะน้ำคร่ำ
- ถ้าความเสี่ยงต่ำ ไม่ได้หมายความว่า “ไม่เป็นแน่นอน”
- การตรวจอื่น ๆ เช่น NIPT Test ซึ่งเป็นการเจาะเลือดของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เพื่อตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงที่ทารกจะมีความผิดปกติของโครโมโซม โดย NIPT Test เป็นการตรวจที่มีความไวสูง (High Sensitivity) สามารถตรวจคัดกรองความเสี่ยงของภาวะดาวน์ซินโดรม (Trisomy 21), กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Trisomy 18), กลุ่มอาการพาทู (Trisomy 13) รวมทั้งโครโมโซมเพศ
ปัญหาระหว่างคลอด
- ภาวะคลอดยาก
- เด็กท่าก้น
- ภาวะทารกขาดออกซิเจน
- รกเกาะต่ำ
- รกค้าง
- ภาวะตกเลือดหลังคลอด
ความรู้ที่คุณแม่ต้องรู้
- การปฏิบัติตัวด้านโภชนาการ สุขอนามัย การออกกำลังกาย และการทำงาน
- แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ลดความกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด และการเลี้ยงเด็กแรกเกิด
- แยกแยะภาวะผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง
วิธีปฏิบัติตัวของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์
- อาหาร
- ต้องการแคลอรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
- เพิ่มโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน
- เน้นเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ผัก และผลไม้
- งดอาหารรสจัด สุรา ยาเสพติด
- ไม่สูบบุหรี่
- สุขอนามัย
- สะอาด
- เสื้อผ้าหลวมใส่สบาย
- ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง
- ดูแลรักษาฟัน หน้าท้อง ทรวงอก ระบบขับถ่าย
- มีเพศสัมพันธ์ด้วยท่าที่เหมาะสม กรณีไม่มีข้อห้าม
- พักผ่อนนอนหลับ 8 – 14 ชั่วโมง
- ขูดหินปูน
- การออกกำลังกายและการทำงาน
- ปฏิบัติงานประจำวันได้ตามปกติ
- ไม่ควรทำงานหนัก
- ไม่ควรออกกำลังกายจนเหนื่อย
- การออกกำลังกายควรเริ่มหลังตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน
เลือกคลอดเองหรือผ่าตัด
การคลอดเองจะเป็นธรรมชาติที่สุด ซึ่งจะดีต่อคุณแม่และคุณลูก ทั้งในการปรับตัวหลังคลอดและระหว่างการคลอด แต่การผ่าตัดจะสงวนไว้สำหรับคุณแม่ที่ผิดปกติ ซึ่งแพทย์จะทำการประเมินช่องทางคลอด ตรวจภายใน และประเมินน้ำหนักเด็ก
เจ็บท้องจริงดูให้เป็น
เจ็บท้องจริง หมายถึง การบีบรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอติดต่อกัน ยิ่งเวลานานเท่าไรก็ยิ่งกระชั้นมากขึ้น ทำให้น้ำเดินและมีมูกเลือด
ปัญหาการคลอด
- การคลอดยาก
- เสียงหัวใจเด็กเต้นช้า
- เลือดออกก่อนคลอด
- เลือดออกหลังคลอด
- ปากมดลูกไม่เปิด
***ควรปรึกษากับสูติ – นรีแพทย์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
ประเมินระหว่างคลอด
ถ้าประเมินระหว่างคลอดแล้วคุณแม่แข็งแรง ผลตรวจทุกอย่างเป็นปกติ ย่อมหมายถึงโอกาสราบรื่นสูง ได้แก่
- การเปิดของปากมดลูกโดยการตรวจภายใน
- การหดรัดตัวของมดลูกต้องสม่ำเสมอ
- เสียงหัวใจเด็กรวมกับการเปิดของปากมดลูก
- การลดลงส่วนนำ หรือเข้าไปในอุ้งเชิงกราน
เมื่อคุณแม่ฝากครรภ์และวางแผนคลอดบุตรกับโรงพยาบาลกรุงเทพ ทางโรงพยาบาลจะจัดอบรมครรภ์คุณภาพเพื่อให้ความรู้แก่คุณพ่อคุณแม่ โดยจะจัดอบรม 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกการอบรมคุณแม่ตั้งครรภ์ และครั้งที่ 2 การอบรมเตรียมดูแลบุตร เพื่อเตรียมความพร้อมคุณพ่อคุณแม่ก่อนคลอดให้คลอดบุตรได้อย่างสบายใจ