ปัจจุบันพบว่าเด็กวัยเตรียมอนุบาลและวัยอนุบาลเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมที่คล้ายออทิสติกมากขึ้น ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจากวิธีการเลี้ยงดู แต่พฤติกรรมที่คล้ายหรือเหมือนจะเป็นออทิสติกนี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้หากคุณพ่อคุณแม่รู้เท่าทันและใส่ใจดูแลลูกแบบใกล้ชิด
พฤติกรรมคล้ายออทิสติกคืออะไร
พฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือในสื่อสังคมมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” เป็นภาวะที่เด็กขาด “การกระตุ้น” ในการสื่อสารสองทาง จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางการสื่อสารกับผู้อื่น เนื่องจากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับลูก เช่น ไม่พูดคุย ไม่เล่นกับลูก เป็นต้น แต่ให้ลูกเล่นอุปกรณ์สื่อสารอย่างแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ One – Way Communication หรือการรับสารเพียงทางเดียว จึงส่งผลให้เด็กเกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสังคม
ออทิสติก VS ออทิสติกเทียม
โรคออทิสติกเกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดจาก “ขาดการกระตุ้น” เป็นหลัก และถึงแม้ว่าทั้งสองอย่างจะมีลักษณะอาการคล้ายกัน แต่เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมหากได้รับ “การกระตุ้น” ที่เหมาะสมถูกทางในระยะเวลาสั้น ๆ ก็จะสามารถกลับมาเป็นเด็กปกติได้ ในขณะที่เด็กออทิสติกยังคงมีพฤติกรรมที่ต่างจากเด็กปกติ ถึงแม้จะได้รับการฝึกกระตุ้นพัฒนาการแล้ว อย่างไรก็ตามเด็กที่เป็นออทิสติกหากได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสมก็สามารถมีพัฒนาการและพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้อย่างมาก
เช็กลูกให้ชัวร์ระวังอาการออทิสติก
อายุ |
อาการ |
6 เดือน | ไม่ยิ้มหรือไม่แสดงอารมณ์สนุกสนาน |
9 เดือน | ไม่มีการส่งเสียง ยิ้ม แสดงสีหน้า โต้ตอบกลับไปมา |
12 เดือน | ไม่หันหาเสียงเรียกชื่อ ไม่เล่นน้ำลาย |
18 เดือน | ไม่มีการเล่นสมมติง่าย ๆ ไม่มีการใช้ภาษาพูดร่วมกับภาษาท่าทาง |
***เด็กที่มีลักษณะอาการเหล่านี้เข้าข่ายเสี่ยงเป็นออทิสติก ซึ่งการจะรู้แน่ชัดว่าเด็กเป็นออทิสติกหรือแค่มีพฤติกรรมคล้ายออทิสติกควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านพัฒนาการเด็ก
เลี้ยงลูกให้ห่างไกลพฤติกรรมคล้ายออทิสติก
วิธีการเลี้ยงลูกให้ห่างไกลพฤติกรรมที่คล้ายออทิสติก คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ ดังนี้
- พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ
สำหรับเด็กเล็กต้องพูดช้า ๆ ชัด ๆ เพื่อให้ลูกเรียนรู้การออกเสียงและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้เลี้ยงดู อย่างน้อยควรคุยกับเด็กวันละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดการสื่อสารแบบ Two – Way Communication คือ โต้ตอบระหว่างกัน และให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ที่ช่วยในการสื่อสาร ตลอดจนเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่ – เด็ก, ครู – นักเรียน, เพื่อน – เพื่อน และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นกับเด็กด้วยกันเองบ้าง
- ให้ลูกอยู่ห่างสมาร์ทโฟน
ในการเลี้ยงลูกช่วง 1.5 ขวบปีแรก ไม่ควรนำสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตมาให้เด็กเล่น ในเด็กหลัง 1.5 ขวบ หากให้เล่นต้องไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยหลีกเลี่ยงการให้เด็กเล่นเพียงลำพัง ขณะเดียวกันต้องมอบความรักความอบอุ่น รวมถึงเสริมสร้างทักษะด้วยการเล่นเพื่อเสริมพัฒนาการสมองและร่างกาย เช่น การต่อบล็อก ร้อยเชือก ระบายสี ปั่นแป้ง เตะบอล ขี่จักรยาน เป็นต้น
พฤติกรรมคล้ายออทิสติก รู้ไว หายเร็ว
หากเด็กมีพฤติกรรมที่คล้ายออทิสติกคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจ เพราะสามารถหายขาดและหายไวได้ถ้ารู้โดยเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่เด็กที่พบว่ามีพฤติกรรมคล้ายออทิสติกถ้าทำการรักษาอย่างถูกต้อง อาการจะดีขึ้นภายในระยะเวลา 6 เดือน และกลับมาเป็นเด็กปกติได้
สำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่กำลังสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าลูกเป็นออทิสติกหรือมีพฤติกรรมที่คล้ายออทิสติกหรือไม่ ควรนำเด็กเข้ารับการตรวจเช็กพัฒนาการกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยอาการที่ถูกต้องและไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะวัย 5 ขวบแรกเป็นช่วงวัยที่สมองของเด็กมีพัฒนาการอย่างเต็มที่ต้องป้องกันและรีบรักษาให้ถูกวิธี
ทุกปัญหาของเด็กมีทางออกที่ “คลินิกพัฒนาการเด็ก ศูนย์กุมารเวช”
คุณสามารถพาลูกเข้ารับโปรแกรมการตรวจเช็กพัฒนาการเด็ก โดยแพทย์ผู้ชำนาญการของคลินิกพัฒนาการเด็ก ศูนย์กุมารเวช อาทิ
- โปรแกรมตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น
- โปรแกรมตรวจวัดระดับพัฒนาการเด็กในแต่ละวัย
- โปรแกรมตรวจวัดระดับพัฒนาการเด็กในแต่ละวัย ทักษะในการบริหารจัดการ ทักษะก่อนเข้าเรียน และทักษะในการเรียนของเด็ก (Pre – Academic Skills)
เครื่องมือการตรวจวัดพัฒนาการ
- เครื่องมือ ASQ
- เครื่องมือ Denver II เครื่องมือมาตรฐาน Mullen Scale of Early Learning
- เครื่องมือ BRIEF-P ที่สามารถบอกออกมาเป็นคะแนนในแต่ละระดับ โดยเปรียบเทียบกับคะแนนมาตรฐานสากล ซึ่งเป็น Standard Test ที่ให้ผลถูกต้องชัดเจนกว่าที่อื่นในรูปแบบ Screening Test
พร้อมด้วยทีมบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่
- จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
- กุมารแพทย์เฉพาะทางสาขาพัฒนาการและพฤติกรรม
- นักกิจกรรมบำบัด
- นักแก้ไขการพูดหรือครูการศึกษาพิเศษที่ช่วยด้านการปรับพฤติกรรมและกระตุ้นพัฒนาการของเด็กที่เกิดปัญหาให้กลับมาเป็นปกติและเติบโตสมวัย
จะดีแค่ไหน? ถ้าคุณเสริมสร้างศักยภาพลูกน้อยให้เรียนรู้และพัฒนาการได้เต็มวัย