ลูกไอนานไปไม่ดีแน่ พ่อแม่ต้องเร่งหาสาเหตุ

2 นาทีในการอ่าน
ลูกไอนานไปไม่ดีแน่ พ่อแม่ต้องเร่งหาสาเหตุ

อาการไอในเด็กมักเกิดจากหวัดและหายได้ภายใน 2 – 3 สัปดาห์ แต่หากว่าอาการไอนั้นเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นเรื้อรังจนรบกวนชีวิตประจำวัน รบกวนการนอน และอาจรบกวนคนรอบข้างหรือเพื่อนที่โรงเรียน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้องโดยเร็วที่สุด

ตัวการไอในเด็ก

สาเหตุอาการไอในเด็กได้แก่

  • สาเหตุจากการติดเชื้อ เช่น
    • เชื้อไวรัส อาการเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น หวัด, โพรงจมูกและโพรงไซนัสอักเสบเฉียบพลัน, หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น
    • เชื้อแบคทีเรีย อาจทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม
    • เชื้อวัณโรค 
  • สาเหตุที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น
    • ภูมิแพ้โพรงจมูก
    • โพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง
    • โรคหืด
    • หลอดลมไวมากกว่าปกติ
    • กรดไหลย้อน
    • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
    • ความผิดปกติของโครงสร้างหลอดลม
    • นอนกรน
    • สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
    • ภาวะสำลักอาหารเรื้อรัง
    • โรคหัวใจบางชนิด
    • การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อากาศเป็นพิษ เช่น ควันบุหรี่, สารเคมี, ควันจากการเผาไหม้
    • ความผิดปกติบางอย่างทางจิตใจ 
    • ฯลฯ 

ลักษณะการไอที่พบ

  • ไอแห้ง ๆ จากการระคายเคือง
  • ไอเปียก ๆ จากมีเสมหะหรือน้ำมูกลงคอ

ลูกไอนานไปไม่ดีแน่ พ่อแม่ต้องเร่งหาสาเหตุ

ตรวจวินิจฉัยบอกโรค

การซักประวัติโดยแพทย์มีความสำคัญมาก ทั้งนี้พ่อแม่ผู้ปกครองควรสังเกตบุตรหลานและให้ข้อมูลอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นไอตั้งแต่เมื่อไร ไอมานานแล้วหรือไม่ ลักษณะการไอว่าเป็นไอแห้งหรือไอแบบมีเสมหะ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการไอ ไอช่วงไหนของวัน ประวัติโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคติดต่อ วัณโรคในครอบครัว การสูบบุหรี่ในครอบครัว เป็นต้น โดยแพทย์จะตรวจร่างกายทั้งทางเดินหายใจส่วนบนและทางเดินหายใจส่วนล่าง หากประวัติและการตรวจร่างกายยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ จึงจำเป็นต้องตรวจสืบค้นเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจน้ำมูก/เสมหะ ตรวจหัวใจและหลอดเลือด เอกซเรย์ เป็นต้น


วิธีการรักษา

วิธีการรักษาอาการไอในเด็กขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบเป็นสำคัญ สำหรับหลักการรักษาโดยทั่วไปที่เป็นประโยชน์ทั้งในทางป้องกันและการรักษา ได้แก่

  • การดูแลแบบประคับประคอง โดยทั่วไปสามารถหายได้ใน 1 – 3 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และเหมาะสม
  • ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ เลี่ยงน้ำเย็น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดี

หากเจ้าตัวเล็กมีอาการไอเรื้อรังติดต่อกันนานเกินไป ไอติดต่อกันทั้งวันแม้กระทั่งตอนนอนหลับ แนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองอย่าชะล่าใจ รีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที


 

ข้อมูลโดย

Doctor Image
พญ. ฐิติรัตน์ รัตนศิลา

กุมารเวชศาสตร์

กุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ
พญ. ฐิติรัตน์ รัตนศิลา

กุมารเวชศาสตร์

กุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ
Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 4 อาคาร B โรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00 - 20.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด