โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งการรักษาโดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล เว้นแต่ในรายที่มีความเสี่ยงต้องสังเกตอาการใกล้ชิด มีอาการรุนแรง หรือต้องตรวจเพิ่มเติม เพื่อแยกกับโรคทางกายบางชนิด ภาวะซึมเศร้าในแต่ละคนอาจมีแนวทางการรักษาที่เหมาะสมแตกต่างกันไปและในบางรายอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน
การรักษาด้วยการใช้ยา
-
ยากลุ่มต้านเศร้า (Antidepressants) ยาในกลุ่มนี้ปัจจุบันมีหลากหลายชนิด พบอาการข้างเคียงลดลง และมีจำนวนผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาเพิ่มมากขึ้น โดยแพทย์และผู้ป่วยสามารถทำงานร่วมกันในการเลือกยาให้เหมาะสม
-
ยากลุ่มอื่น ๆ (Other Medications) ยาในกลุ่มอื่น ๆ ที่นำมาใช้ร่วมเพื่อการรักษาภาวะซึมเศร้าในบางราย เช่น ยากลุ่มคลายกังวล ยากลุ่มสมาธิ ยากลุ่มควบคุมอารมณ์หรือยากลุ่มต้านโรคจิต โดยแพทย์จะพิจารณาจากความเหมาะสมร่วมกับการตอบสนองต่อการรักษาที่ผ่านมา
การรักษาแบบจิตบำบัด
การทำจิตบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนหรือเรียนรู้วิธีที่ต่างออกไปในการจัดการปัญหาหรือความท้าทายต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต รวมถึงปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบ อันเป็นผลมาจากภาวะซึมเศร้า เช่น จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Psychotherapy) การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) ตัวอย่าง CBT ที่ใช้ในการรักษาคือ Rational Emotive Behavior Therapy (REBT) and Dialectical Behavior Therapy (DBT)
การรักษาแบบอื่น
- การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy or ECT) Transcranial Magnetic Stimulation (TMS)
- การกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส Vagus Nerve Stimulation