คุณเข้าใจลูกมากแค่ไหน?
ทำไมลูกถึงดื้อ เลี้ยงยาก ไม่เชื่อฟัง ติดเพื่อน ติดเกม ไม่ตั้งใจเรียน ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก ก้าวร้าว ไม่ค่อยมีสมาธิ พัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน แล้วจะเลี้ยงดูแบบไหนดี?
จะดีแค่ไหน? ถ้าคุณเข้าใจและค้นพบศักยภาพลูกน้อยได้ตั้งแต่วัยเด็ก
วันนี้คุณสามารถค้นหาตัวตนของลูกน้อยด้วยการตรวจวิเคราะห์พัฒนาการ ตั้งแต่วัย 1 เดือน – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีสำหรับลูกน้อยในการส่งเสริมจุดเด่น ค้นหาสิ่งที่เด็กถนัด และหาจุดที่สามารถต่อยอดให้มีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ โดยกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กร่วมกับผู้ปกครองในการตรวจประเมิน ด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน ประกอบด้วย
ตรวจวัดพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อบอกความถนัดทั้ง 5 ด้าน ได้แก่
- เชาว์นปัญญา (Cognitive Composite Score)
- การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor) และกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor)
- การใช้สายตาในการรับข้อมูลแก้ปัญหา (Visual Reception)
- การใช้ภาษา (Receptive Language)
- ความเข้าใจภาษา (Receptive Language)
ตรวจวัดทักษะในการบริหารจัดการ เพื่อบอกความสามารถของเด็ก ได้แก่
- การวางแผน (Planning)
- ความยืดหยุ่น (Shift)
- การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
- การยับยั้งชั่งใจ (Inhibition Control)
- การจดจำเพื่อนำมาใช้งานในภายหลัง (Working Memory)
รับคำแนะนำเพื่อให้เด็กแต่ละคนมีปัจจัยสู่ความสำเร็จและความสุข 7Q ได้แก่
- Intelligence Quotient มีสติปัญญาและพัฒนาการทางสมองที่ดี
- Emotional Quotient การมีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถเข้าใจอารมณ์ของตนเอง และผู้อื่นได้ รวมทั้งสร้างความสุขให้แก่ตนเองได้
- Social Quotient การมีทักษะทางสังคม สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
- Moral Quotient ความรับผิดชอบจริยธรรมและคุณธรรมประจำตน
- Adversity Quotient สามารถแก้ไขปัญหาและการเผชิญกับวิกฤติ
- Creativity Quotient การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการ และแนวคิดในรูปแบบใหม่ ๆ
- Health Quotient มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เสริมจุดเด่น ลดจุดด้อย
เมื่อตรวจวัดแล้ว แพทย์จะแปลผลว่า เด็กมีความโดดเด่นในด้านใดและกิจกรรมที่ชอบคืออะไร พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูที่เหมาะกับพื้นอารมณ์และความถนัดตามแต่ละช่วงวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กแบบเฉพาะบุคคล (Tailor – Made) อันจะช่วยให้เด็ก ๆ เก่งอย่างมีความสุข และสามารถเติบโตเผชิญกับโลกกว้างด้วยตนเองได้ในอนาคต
ในกรณีที่พบว่าเด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าปกติ สามารถส่งเสริมพัฒนาการที่บกพร่อง โดยทีมผู้ชำนาญการ อาทิ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก และนักจิตวิทยาพัฒนาการ ซึ่งทำการฝึกโดยใช้การเล่นเพื่อการบำบัด นักแก้ไขการพูด และครูการศึกษาพิเศษ คอยให้ความช่วยเหลือและปรับพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง ผ่านการฝึกในกิจกรรมที่เด็กชอบโดยไม่รู้สึกว่าถูกยัดเยียดจนเกิดการต่อต้าน