ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ

2 นาทีในการอ่าน
ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ

รู้จักภาวะเปราะบาง

ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของร่างกายซึ่งอยู่ระหว่างกลางของความสามารถในการทำงานได้กับภาวะไร้ความสามารถ และอยู่ระหว่างความมีสุขภาพดีกับความเป็นโรค นับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ที่มีภาวะเปราะบาง ความสามารถทางกายภาพของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายลดลง เพิ่มความรุนแรงของความเจ็บป่วย บกพร่องทางความคิด การเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง ทั้งการเดินและการทรงตัวจนอาจเกิดการพลัดตกหกล้ม และเกิดภาวะพึ่งพาในที่สุด

 

อาการบอกโรค

หากมีอาการตั้งแต่  3 ข้อขึ้นไปจาก 5 ข้อดังต่อไปนี้ถือว่าผู้สูงอายุมีภาวะเปราะบาง

  1. น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ทราบสาเหตุมากกว่า 4.5 กิโลกรัม หรือมากกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวในระยะเวลา 1 ปี (Weight Loss)
  2. รู้สึกเหนื่อย หมดแรง (Exhaustion)
  3. กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Weakness)
  4. เดินช้าลง (Low Walking Speed)
  5. ออกแรงในชีวิตประจำวันลดลง (Low Physical Activity) 

 

ผลกระทบจากภาวะเปราะบาง

  • ด้านจิตใจ บกพร่องทางความคิด ภาวะซึมเศร้า รู้สึกสิ้นหวัง หมดแรง
  • ด้านร่างกาย เพิ่มการพลัดตกหกล้มจากการที่ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการเดินและการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง การทำงานของระบบต่าง ๆ ลดลง
  • ด้านเศรษฐกิจ สูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเพิ่มความรุนแรงของการเกิดโรคต่าง ๆ ทำให้เกิดภาวะสับสนเฉียบพลันจากการเจ็บป่วย ต้องการคนดูแล การดูแลระยะยาว การเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ความพิการ และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น 

photo

ป้องกันก่อนเปราะบาง

การป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพให้ไม่เปราะบาง ได้แก่

  1. ออกกำลังกาย ทั้งออกกำลังกายต้านทานและการออกกำลังกายแอโรบิก
  2. ฝึกออกกำลังกาย รวมถึงความต้านทานการยกน้ำหนัก ออกกำลังกายขนาดใหญ่ของกลุ่มกล้ามเนื้อโครงร่าง ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อในร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงการออกกำลังกาย ความอดทนและความเร็วในการเดิน
  3. ไทชิ เป็นการออกกำลังกายที่ช้าและอ่อนโยนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางกายภาพและการทำสมาธิที่จะปรับปรุงความสมดุลและการเดิน
  4. ทานอาหารเสริม โดยเพิ่มระหว่างมื้ออาหาร อาหารเสริมโปรตีนช่วยในการรักษามวลกล้ามเนื้อ นอกจากนี้อาจรวมถึงยาที่ใช้ในการเพิ่มความอยากอาหาร การประเมินภาวะโชนาการโดยใช้แบบประเมิน Mini Nutritional Exam สามารถใช้สำหรับการประเมินภาวะโภชนาการเพิ่มเติมได้ รวมถึงการรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัว
  5. บำรุงรักษาสุขภาพช่องปาก แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน จำกัดปริมาณน้ำตาล เช่น โซดาและขนม รวมถึงตรวจฟันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  6. ประเมินสิ่งแวดล้อมของบ้านหรือที่อยู่อาศัยในพื้นที่ รวมถึงความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดการพลัดตกหกล้ม สร้างราวจับในห้องอาบน้ำ ฝักบัวอาบน้ำที่มีที่นั่งปรับความสูงเคาน์เตอร์ ตู้ประตูกว้างสีตัดกันของเคาน์เตอร์ พื้น ผนัง และพื้นผิวไม่ลื่น ลาดเอียง แสงที่เหมาะสมและระบบกดเรียกฉุกเฉิน
  7. คนในครอบครัวมีความรู้ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะเปราะบาง สามารถดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้อง
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์

ชั้น 1 อาคาร R

เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 15.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด