ซีเซียมอันตรายแค่ไหน

4 นาทีในการอ่าน
ซีเซียมอันตรายแค่ไหน

รู้จักกับซีเซียม 

ซีเซียม (Cesium : Cs-137) เป็นสารกัมมันตรังสี โดยเป็นไอโซโทปของซีเซียม ลักษณะเป็นของแข็งคล้ายผงเกลือ สามารถฟุ้งกระจายได้เมื่อแตกออกจากแคปซูลที่ห่อหุ้มไว้ มีค่าครึ่งชีวิต (Half Life) นาน โดยประมาณกว่า 30 ปี เมื่อสลายตัวจะปล่อยรังสีบีตา (Not Penetrate) ประมาณ 95% และรังสีแกมมา (Penetrate) แล้วกลายสภาพไปเป็นธาตุแบเรียม-137 (Ba-137)


การใช้ประโยชน์ซีเซียม

  • ปริมาณเล็กน้อย ใช้สอบเทียบอุปกรณ์ตรวจจับรังสี เช่น เครื่อง Geiger-Muller counters
  • ปริมาณมาก ใช้รักษามะเร็ง ใช้วัดอัตราการไหลของของเหลวในท่อ ใช้ในภาคอุตสาหกรรมในการวัดความหนาของวัตถุ เช่น กระดาษ ฟิล์ม เหล็ก

ความรุนแรงของซีเซียม

ความรุนแรงของรังสีที่มีต่อร่างกายขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ได้รับสัมผัส

  1. ปริมาณของรังสี
  2. ระยะเวลา
  3. ส่วนของร่างกาย 

ซีเซียมอันตรายแค่ไหน

ซีเซียมกับผลต่อร่างกาย

ผลต่อร่างกาย

รายละเอียด

ผลระยะสั้น

1) ผลเฉพาะที่ (Local Radiation Injury/ Cutaneous Radiation Syndrome)

สัมผัสทางผิวหนังทำให้เกิดผื่นแดง คัน บวม มีตุ่มน้ำหรือแผลเกิดขึ้น อาจมีคนหรือผมร่วงได้

2) ผลต่อระบบอื่นในร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันเมื่อได้รับปริมาณที่สูงมาก (Acute Radiation Syndrome)

มีอาการนำ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย 

หลังจากนั้นอาการจะหายไปชั่วคราวประมาณ 1-3 สัปดาห์ ต่อจากนั้นจะมีผลต่อ 3 ระบบหลัก ๆ ของร่างกาย

1) ระบบโลหิต มีผลกดไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดต่ำลงได้

2) ระบบทางเดินอาหาร มีผลทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเป็นเลือด

3) ระบบประสาท ทำให้สับสน เดินเซ ซึมลง และชักได้โดยเฉพาะในรายที่รุนแรง

ผลระยะยาว

เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) มะเร็งไทรอยด์ เป็นต้น


เหตุการณ์สูญหายของซีเซียม

จากเหตุการณ์การสูญหายของวัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 จากโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี

  • ที่เกิดเหตุมีค่าความแรงรังสี (Activity) ปัจจุบันอยู่ที่ 41.4 mCi ซึ่งเมื่อเทียบกับความแรงรังสีเริ่มต้นวัดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2538 อยู่ที่ 80 mCi หรือถ้าคิดเป็นน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 0.000505 กรัม (505 ไมโครกรัม) ปริมาณรังสีที่ปล่อยออกมาจากแท่งเหล็กที่บรรจุ 129 mSv/hr จะมีผลทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย (2000 mGy) โดยเกิดผิวหนังอักเสบ ผื่น บวม แดง ต่อเมื่อกอดแท่งนี้เป็นเวลา 15 ชั่วโมงครึ่ง
  • ปริมาณรังสีซีเซียมในอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2529 คาดว่ามีการปนเปื้อนซีเซียมอยู่ในสิ่งแวดล้อม 27 กิโลกรัม (2.35×109 mCi) เท่ากับปริมาณรังสีมากกว่ากรณีที่เกิดเหตุ 56.76 ล้านเท่า (http://large.stanford.edu/courses/2012/ph241/wessells1/)
  • ปริมาณรังสีเสื่อมในอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ (Fukushima Daiichi) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 คาดว่ามีการปนเปื้อนสีเสื่อมอยู่ในสิ่งแวดล้อม 17 PBq (4.60×108 mCi) เท่ากับปริมาณรังสีมากกว่ากรณีที่เกิดเหตุนี้ 11 ล้านเท่า (https://fukushima.jaea.go.jp/QA/en/q112.html#:~:text=JAEA’s%20research%20shows%20t hat%20the,directly%20released%20into%20the%20sea.)

กลุ่มเสี่ยงจากเหตุการณ์การสูญหายของวัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 คือ ผู้ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณหรือช่วงเวลาที่หลอมวัตถุต้องสงสัยว่าเป็นแท่งเหล็กบรรจุกัมมันตรังสีซีเซียม 137


ซีเซียมอันตรายแค่ไหน 

การรับสัมผัสรังสีซีเซียม

ช่องทางการรับรังสี

รายละเอียด

การรับรังสีจากภายนอก

(External Radiation Hazard) 

ทางผิวหนัง (Skin)

การป้องกัน ใช้หลัก (TDS Rules : Time, Distance and  Shielding)

ใช้เวลาให้น้อยที่สุด (Time)

อยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุด (Distance)

ใช้อุปกรณ์ในการกำบังรังสี (Shielding)

การรับรังสีจากแหล่งกำเนิดในร่างกาย

(Internal Radiation Hazard)

1) การสูดหายใจ (Inhalation)

2) การรับประทานสิ่งที่ปนเปื้อน (Ingestion)


รักษาพิษซีเซียมระยะเฉียบพลัน

การรักษาการเกิดพิษในระยะเฉียบพลัน

  • ไม่แนะนำการลดการดูดซึมจากทางเดินอาหาร (GI Decontaminate) โดยการให้ Activated Charcoal
  • รักษาตามอาการ โดยให้สารน้ำทดแทนและยาแก้อาเจียน
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพราะอาจทำให้เกิด QT Prolong 
  • ให้ยาต้านพิษ (Antidote) คือ ยา Prussian blue ขณะนี้ยังไม่มีในประเทศไทย แต่อยู่ระหว่างการประสานงานเพื่อนำเข้ามาใช้ในการรักษา มีข้อบ่งชี้เฉพาะผู้ป่วยที่มีการปนเปื้อนซีเซียมภายในร่างกาย (Internal Contamination) เท่านั้น ไม่ใช้รักษาหากได้รับทางผิวหนังหรือปนเปื้อนตามเสื้อผ้า

ซีเซียมอันตรายแค่ไหน 

เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง 

การเฝ้าระวังสุขภาพในประชากรกลุ่มเสี่ยง หมายถึง เจ้าหน้าที่หรือประชาชนที่ได้รับรังสีสะสมตั้งแต่ 0.2 Gy ขึ้นไปในเหตุการณ์นั้น ๆ โดยจัดการเฝ้าระวังอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ดังนี้

  1. ซักประวัติตรวจร่างกาย (History Taking and Physical Examination)
  2. ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
    • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count (CBC))
    • ค่าการทำงานของไต (Creatinine, eGFR)
    • ค่าเอนไซม์ตับ (AST, ALT)
    • ตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urine analysis (UA))
    • ค่าน้ำตาลในเลือด (FBS)
    • ค่าไขมันในเลือด (Lipid Profile)
  3. ตรวจทางรังสี (Imaging)
    • ถ่ายภาพฉายรังสีทรวงอก (Chest X-ray)
    • ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Mammogram and Ultrasound Breasts)
    • ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องทั้งหมด (Whole Abdominal Ultrasound)
  4. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
  5. ตรวจพิเศษอื่น ๆ ตามความเหมาะสม


หากพบวัตถุที่สงสัยไม่ควรไปนํามาส่งคืนหรือพยายามพิสูจน์ด้วยตนเอง
สิ่งที่ควรทำคือ ปิดกั้นบริเวณและแจ้งสายด่วนทางนิวเคลียร์และรังสี 1296 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เนื่องจากรังสีสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดรังสีเท่านั้น

ข้อมูลโดย

Doctor Image
ดร. พญ. แสงดาว อุประ

เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์

ดร. พญ. แสงดาว อุประ

เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์

Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์อาชีวอนามัย โรงพยาบาลกรุงเทพ

เฮลท์ดีไซน์เซ็นเตอร์ ชั้น 5 อาคาร R (Rehabilitation)

เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด