การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากมีความสำคัญกับผู้ชายสูงวัย ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นความเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้น ยิ่งรู้เร็วยิ่งช่วยให้รักษาเร็ว ก่อนจะลุกลามรุนแรงจนสร้างความทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิต การตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากจึงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก โดยใช้ภาพเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็ก 3 มิติ (MRI Fusion with Trans rectal หรือ Tran perineum Ultrasound for Prostate Biopsy) ที่ช่วยให้วินิจฉัยได้ถูกต้องและรวดเร็ว
การตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากโดยการใช้ภาพเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็ก (MRI)
เทคโนโลยีการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก โดยใช้ภาพเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 3 มิติ (MRI Fusion with Trans rectal or Tran perineum Ultrasound for Prostate Biopsy) แพทย์จะตรวจในผู้ป่วยที่ตรวจเลือด Prostatic Specific Antigen แล้วพบว่าค่า PSA สูงและมีแนวโน้มบ่งชี้การเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยแพทย์จะใช้ภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 3 มิติ พร้อมสอดเครื่องมืออัลตราซาวนด์แบบ Real – Time เข้าไปทางทวารหนักเพื่อให้เห็นรูปร่าง รายละเอียด และตำแหน่งที่ชัดเจน จากนั้นจะใช้เข็มเจาะเข้าไปยังบริเวณต่อมลูกหมากที่ผิดปกติเพื่อตัดชิ้นเนื้อไปตรวจวินิจฉัยอย่างชัดเจน โดยไม่ต้องสุ่มตัดแบบในอดีตที่บางครั้งทำให้ผู้ป่วยต้องกลับมาตรวจซ้ำ เนื่องจากผลการตรวจมีความคลาดเคลื่อนไม่ชัดเจน
ข้อดีของการตรวจ
- ผลตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากถูกต้องชัดเจน
- ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากได้เร็วขึ้น
- รักษามะเร็งต่อมลูกหมากได้ในระยะแรกเริ่ม
- คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นหลังทำการรักษา
- แพทย์ผู้ชำนาญการระบบทางเดินปัสสาวะตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยได้ง่ายและชัดเจน
ข้อจำกัดในการตรวจ
- ใช้เวลาค่อนข้างนาน
-
- มีหลายขั้นตอนตั้งแต่
- การเอกซเรย์ถ่ายภาพด้วยเครื่อง MRI
- แพทย์รังสีช่วยวาดตำแหน่ง ขอบเขตต่อมลูกหมาก และตำแหน่งในต่อมลูกหมากที่มีความเสี่ยงพบมะเร็ง โดยเครื่องคอมพิวเตอร์
- ผู้ป่วยเข้ารับการประเมินร่างกาย
- มีหลายขั้นตอนตั้งแต่
- ผู้ป่วยจำเป็นต้องดมยาสลบก่อนเข้ารับการตรวจ
- ผู้ป่วยบางกลุ่มไม่สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโลหะในร่างกาย เช่น เคยผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมหรือข้อเทียมโลหะ เพราะอาจรบกวนการทำงานของคลื่นแม่เหล็ก ฯลฯ
- ผู้ป่วยที่รับประทานยาในกลุ่มยาละลายลิ่มเลือดต้องหยุดรับประทานยาก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 7 วัน
- นอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 คืน
- อาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะอย่างน้อย 1 วันหลังการตัดชิ้นเนื้อ
รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากควรเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางเป็นสำคัญ ยิ่งรักษาเร็วยิ่งส่งผลดีต่อผู้ป่วย โดยสามารถรักษาได้หลายวิธี ได้แก่ การรักษาด้วยรังสี (Radiotherapy) การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy) การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) การผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Radical Prostatectomy) ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรง ขนาดมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วย
มะเร็งต่อมลูกหมากหากรู้เร็วรักษาไวย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคุณผู้ชายไม่มากนัก แต่หากละเลยปล่อยทิ้งไว้อาจรุนแรงและยากต่อการรักษา จึงควรตรวจเช็กมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์