เพราะทุกการเติบโตของเจ้าตัวเล็กตั้งแต่ลืมตาดูโลกคือหัวใจสำคัญของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว การใส่ใจพัฒนาการของเจ้าตัวเล็กในแต่ละช่วงวัย ตลอดจนตรวจเช็กสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ย่อมเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ทุกย่างก้าวของการเติบโตเต็มไปด้วยรอยยิ้มและความสำเร็จ
1) ถนอมสุขภาพตาเจ้าตัวน้อย
พัฒนาการทางด้านสายตาของเด็กมีมาตั้งแต่ในท้องแม่จนกระทั่งลืมตาดูโลกจึงจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจเช็กสุขภาพตาในทุกช่วงวัยเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เป็นโรคเกี่ยวกับดวงตา ในช่วงสัปดาห์แรกเด็กจะเริ่มมองเห็นโครงหน้า ครบ 1 เดือนจะมีอาการตาเหล่เล็กน้อย ก่อนจะหายไปเองเมื่ออายุ 2 – 3 เดือน แล้วเริ่มมองเห็นภาพชัดเจนขึ้น กลอกตาได้ จนครบ 4 – 6 เดือน ภาพจะคมชัดและมีการมองควบคู่ไปกับการหยิบจับ เมื่อถึงช่วง 7 – 12 เดือน การทำงานของตากับมือจะประสานกัน จนกระทั่ง 1 – 2 ปี การมองเห็นจะใกล้เคียงผู้ใหญ่ แต่อาจมีปัญหาตาเหล่ได้จึงจำเป็นต้องตรวจเช็ก และตั้งแต่ 2 – 3 ขวบ สายตาจะมองเห็นชัดเจน แต่หากมีความผิดปกติทั้งจากกรรมพันธุ์หรือสิ่งแวดล้อมจะแสดงออกมาชัดเจนในช่วงนี้ จึงไม่ควรละเลยที่จะตรวจสุขภาพตาเจ้าตัวน้อย
อ่านบทความ วัคซีนเด็กเสริมภูมิคุ้มกันให้เจ้าตัวเล็ก
2) ตรวจสุขภาพลูกน้อยตามวัย
การตรวจสุขภาพมีความจำเป็นสำหรับเด็กไม่แพ้ผู้ใหญ่ เพราะเด็กต้องการการดูแลที่ใกล้ชิดในทุกมิติ เพื่อให้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ พัฒนาการ และพฤติกรรม ดังนั้นการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพ จัดการปัญหาด้านพัฒนาการและด้านพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพดีในทุกช่วงวัย หากมีปัญหาด้านสุขภาพสามารถรับมือได้ทันท่วงที
อ่านรายละเอียด ชุดตรวจสุขภาพเด็ก 7-15 ปี
3) ฝึกอารมณ์ไม่ให้เจ้าตัวเล็กโมโหร้าย
การแสดงออกถึงความโกรธและความก้าวร้าวรุนแรงของเด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะหากเด็กควบคุมความโกรธไม่ได้จำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการอย่างเหมาะสม สังเกตได้จากอาการต่าง ๆ อาทิ หยิก, ดึงผม, ฉุดกระชาก, ขว้างปาข้าวของ, ชักดิ้นชักงอ, ตบหน้าพ่อแม่หรือทำร้ายคนเลี้ยงดู, ทุบตีหรือทำร้ายเพื่อนที่โรงเรียนและผู้อื่น เป็นต้น หากสามารถรับมือได้จากการประคับประคองและสอนวิธีจัดการความโกรธโดยพ่อแม่ก็ไม่น่าหนักใจ แต่หากเด็กโกรธรุนแรงแบบรับมือไม่ได้ ทำร้ายพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคนรอบข้าง การปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นผู้มีความชำนาญเฉพาะทางคือวิธีการรักษาที่ดีที่สุด โดยต้องอาศัยการรักษาแบบร่วมมือ ปรับเปลี่ยนร่วมกับสมาชิกในครอบครัว สอนวิธีบริหารจัดการความโกรธ (Anger Management) ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากยังไม่ดีขึ้นอาจทานยาร่วมด้วย เพื่อให้เจ้าตัวเล็กควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
อ่านบทความ อย่าปล่อยให้เด็กโมโหร้ายคุมความโกรธไม่ได้
4) มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ตั้งแต่เด็ก
มะเร็งปากมดลูกพบในผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม สาเหตุหลักที่พบมากที่สุดคือการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus Infection) สายพันธุ์ชนิด 16 และ 18 ซึ่งป้องกันได้มากกว่าร้อยละ 70 เพียงฉีดวัคซีนลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก HPV ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่ผลิตจากชิ้นส่วนโปรตีนของเชื้อไวรัสซึ่งไม่ก่อโรค แต่มีประสิทธิภาพช่วยสร้างภูมิคุ้มกันการติดเชื้อไวรัส HPV โดยควรฉีดในเด็กผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9 – 14 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่เหมาะสมที่สุด มีผลวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า เด็กผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยดังกล่าวมีการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันดีกว่าช่วงอายุอื่น ๆ และเป็นวัยที่ยังไม่เคยมีกิจกรรมทางเพศมาก่อน หากฉีดช่วง 9 – 14 ปี จะฉีดเพียง 2 ครั้งเท่านั้นคือ เดือนแรกและอีก 6 เดือนถัดมา ช่วยป้องกันไวรัส HPV ได้ตลอดชีวิต
อ่านบทความ รู้หรือไม่ ลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ 9 ขวบ
POWER OF GENERATION
เสริมสร้างศักยภาพทุกช่วงวัยให้คุณใช้ชีวิตได้เต็มที่เต็มพลัง