การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาโรคอ้วนได้อย่างเห็นผล แต่จำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมตัวก่อนและหลังผ่าตัดเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การผ่าตัดกระเพาะอาหารคืออะไร
การผ่าตัดกระเพาะอาหาร (Bariatric Surgery) คือ การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง และลดการดูดซึมของอาหารในกระเพาะอาหาร ทำให้ร่างกายนำไขมันส่วนเกินสลายไปเป็นพลังงาน เพราะในกระเพาะอาหารมีฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความอยากอาหาร การผ่าตัดกระเพาะอาหารให้เล็กลงช่วยตัดฮอร์โมนชนิดนี้ทิ้งจึงลดความอยากอาหารลงไป น้ำหนักจึงค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง
การผ่าตัดกระเพาะอาหารเหมาะกับใคร
ผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีดัชนีมวลกายสูงกว่า 32.5 กก./ตร.ม.
- ผู้ป่วยโรคอ้วนที่ลดน้ำหนักไม่ได้ผลทั้งที่ควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
- ผู้ที่ไม่มีข้อห้ามในการผ่าตัดและไม่ป่วยจิตเวช
แนวทางการผ่าตัดกระเพาะอาหารรักษาโรคอ้วน
- ผ่าตัดผ่านกล้องลดขนาดกระเพาะอาหาร (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy) แพทย์จะทำการผ่าตัดปรับรูปร่างของกระเพาะอาหารให้เหมือนผลกล้วยหอม ซึ่งต้องตัดกระเพาะอาหารและบริเวณที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมความหิวออกไป โดยจะใช้การผ่าตัดผ่านกล้องบริเวณหน้าท้องแล้วใส่เครื่องมือผ่าตัดที่ทั้งตัดและเย็บกระเพาะอาหารได้พร้อมกัน การรักษาวิธีนี้แผลผ่าตัดกระเพาะอาหารจะมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว
- ผ่าตัดผ่านกล้องลดขนาดกระเพาะอาหารและทำบายพาส (Laparoscopic Gastric Bypass) แพทย์จะผ่าตัดแยกกระเพาะอาหารให้ขนาดเล็กลงเป็นรูปกระเปาะ ก่อนบายพาสต่อกับลำไส้เพื่อเปลี่ยนเส้นทางลำไส้และลดการดูดซึมอาหาร ทำให้ผู้ป่วยรับประทานได้น้อยลง
เตรียมตัวก่อนผ่าตัดกระเพาะอาหารอย่างไร
ก่อนเข้ารับการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
- ตรวจร่างกายโดยละเอียด เช่น ตรวจเลือด, อัลตราซาวนด์, เอกซเรย์, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, ตรวจสมรรถภาพปอด เป็นต้น
- ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารให้มั่นใจว่าไม่มีความผิดปกติใด ๆ ของกระเพาะอาหารก่อนที่จะทำการผ่าตัด
- เตรียมความพร้อมด้านโภชนาการจากนักกำหนดอาหาร โดยจะประเมินและปรับการรับประทานอาหารหลังทำการผ่าตัด
- ทดสอบสภาพจิตใจกับนักจิตวิทยาเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีโรคทางจิตเวชสำคัญที่ห้ามการผ่าตัดและเตรียมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังผ่าตัด
- ประเมินภาวะโรคที่มีความเสี่ยงก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- ตรวจการนอนหลับ STOP – BANG และตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ Sleep Test
- เรียนรู้วิธีออกกำลังก่อนและหลังผ่าตัดอย่างถูกต้องกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
- งดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด 4 สัปดาห์
- งดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการผ่าตัด 6 – 8 ชั่วโมง ถ้าต้องรับประทานยาให้เป็นไปตามที่แพทย์สั่ง
- หากไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์และพยาบาล
- ถ้าอยู่ในระหว่างรับประทานยา อาหารเสริม สมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์ว่าสามารถรับประทานชนิดใดและต้องหยุดชนิดใดก่อนผ่าตัด
- กรุณาแจ้งแพทย์หากรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด หรือมีประวัติการเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือด
- ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับยาฉีดป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันก่อนการผ่าตัดกระเพาะอาหาร 12 ชั่วโมง
ดูแลหลังผ่าตัดกระเพาะอาหารอย่างไร
หลังเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยควรดูแลตนเองดังต่อไปนี้
- รับสารอาหารและน้ำทางสายน้ำเกลือจนกว่าจะรับประทานอาหารเองได้
- ใส่ปลอกสวมขาเพื่อป้องกันภาวะแข็งตัวในเส้นเลือดดำ โดยถอดออกเมื่อผู้ป่วยขยับตัวได้เอง และเมื่อขยับตัวได้ควรเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็ว เพื่อให้ทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติภายใน 2 – 3 วัน
- หากมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ปรึกษาแพทย์ทันที เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ > 120 ครั้งต่อนาที, มีไข้ 37.8 องศาเซลเซียส หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
- ควบคุมอาหารตามที่นักกำหนดอาหารวางแผนและให้คำปรึกษาอย่างเคร่งครัด
- การรับประทานอาหารหลังผ่าตัดแบ่งออกเป็น
- หลังผ่าตัดสัปดาห์แรกรับประทานได้เฉพาะอาหารเหลวครั้งละน้อยๆแต่บ่อยได้แก่เครื่องดื่มที่ไม่อัดลมและไม่เติมน้ำตาลซุปใสน้ำผักน้ำผลไม้โยเกิร์ตเป็นต้น
- หลังผ่าตัดสัปดาห์ที่ 3 รับประทานอาหารชิ้นเล็ก ๆ โดยดื่มน้ำก่อนทานอาหาร 15 – 30 นาที เช่น ข้าวต้ม เป็นต้น เพื่อเตรียมปรับสู่การรับประทานอาหารปกติ โดยรับประทานปริมาณน้อย เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
- สามารถเริ่มออกกำลังเบา ๆ ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 หลังการผ่าตัด และงดยกของหนัก 3 เดือน
- พบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัดเพื่อตรวจเช็กร่างกาย
- หากมีอาการผิดปกติหรือคำถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่ Call Cancer โทร. 1719
ปฏิบัติตัวอย่างไรหลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร
- รับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน ห้ามรับประทานจุบจิบ
- หยุดรับประทานทันทีที่รู้สึกอิ่ม
- ตัดอาหารชิ้นเล็ก เคี้ยวให้ละเอียดจนเหลวก่อนรับประทาน
- ดื่มน้ำเปล่าระหว่างมื้อบ่อย ๆ โดยจิบน้ำทีละน้อยเพื่อป้องกันขาดน้ำ ไม่ควรดื่มน้ำก่อนและหลังอาหาร 30 นาที
- จำกัดปริมาณน้ำตาล 15 กรัม หรือน้อยกว่าต่อ 1 มื้อ
- ไม่ควรดื่มน้ำอัดลม กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำหวาน
- เน้นรับประทานอาหารโปรตีนสูงอย่างเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
- เลี่ยงอาหารประเภทแป้งและไขมัน
- เสริมวิตามินและแร่ธาตุตามคำแนะนำของแพทย์
- ออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
ผ่าตัดกระเพาะข้อเสียมีหรือไม่
ผลเสียของการผ่าตัดกระเพาะอาหาร คืออาจต้องเผชิญกับภาวะขาดวิตามิน เพราะผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยลงจึงได้รับวิตามินและแร่ธาตุน้อยลง รวมถึงการดูดซึมอาหารที่ไม่ดีดังเดิม ทั้งนี้ก่อนผ่าตัดกระเพาะอาหารควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
โรงพยาบาลที่ชำนาญการผ่าตัดกระเพาะที่ไหนดี
ศูนย์ผ่าตัดและรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมให้การดูแลรักษาโรคอ้วนและการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อรักษาโรคอ้วน ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มากด้วยประสบการณ์และทีมสหสาขาที่พร้อมดูแลให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจในการรักษา กลับมามีสุขภาพดีในระยะยาว
แพทย์ที่ชำนาญการผ่าตัดกระเพาะอาหารรักษาโรคอ้วน
ศาสตราจารย์นายแพทย์สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์ ศัลยแพทย์ส่องกล้องและผ่าตัดโรคอ้วน ศูนย์ผ่าตัดและรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลกรุงเทพ
สามารถคลิกที่นี่เพื่อทำนัดหมายได้ด้วยตนเอง
แพ็กเกจการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน
แพ็กเกจการผ่าตัดกระเพาะอาหาร ราคา 560,000 บาท