สร้างภูมิต้านทานให้ลูกน้อย ลดความเสี่ยงด้วยวัคซีน

2 นาทีในการอ่าน
สร้างภูมิต้านทานให้ลูกน้อย ลดความเสี่ยงด้วยวัคซีน

สำหรับเด็กทุกคน วัคซีนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดี โดยทั่วไปเด็กเล็กควรได้รับวัคซีนพื้นฐานตามวัยตั้งแต่แรกเกิด อายุ 2, 4, 6, 9 และ 12 เดือน อาทิ วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไวรัสโรต้า หัด หัดเยอรมัน คางทูม และไข้สมองอักเสบ นอกจากนี้วัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันโรคไอพีดีปอดบวมก็จำเป็นสำหรับเด็กเช่นเดียวกัน

เด็กกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีนคงอยู่ไม่นานและอาจลดต่ำลงจนป้องกันโรคได้ไม่เต็มที่ การฉีดวัคซีนจึงช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้อีกทางหนึ่งเพื่อให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงและเติบโตสมวัย เมื่อเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป นอกจากฉีดวัคซีนขั้นพื้นฐานแล้ว แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เกิดขึ้นบ่อยในเด็ก เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันโรคไอพีดีปอดบวม ซึ่งวัคซีนนี้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจและลดความรุนแรงของโรคได้ โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคเลือด และภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น 

หากเด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนอาจเป็นการเพิ่มโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเมื่อเทียบกับเด็กที่ได้รับวัคซีน และหากติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการไข้สูง บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการชักได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมเกราะป้องกันโรคให้แก่เด็ก ควรพาไปฉีดวัคซีนที่จำเป็นตามกำหนดกับกุมารแพทย์ ซึ่งวัคซีนไข้หวัดใหญ่พบอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นเพียงอาการไข้ต่ำ ๆ ปวดบวมแดงเฉพาะตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน ซึ่งสามารถหายได้เองภายใน 2 – 3 วัน ดังนั้นควรเลือกฉีดวัคซีนกับกุมารแพทย์เพื่อรับฟังคำแนะนำก่อนการฉีดตลอดจนข้อปฏิบัติในการดูแลลูกเมื่อกลับไปอยู่บ้าน 


ฉีดวัคซีนเด็กช่วง COVID-19

เด็กควรฉีดวัคซีนตรงตามกำหนด เน้นวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อภายหลังการสัมผัสโรค โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก วัคซีนที่สามารถเลื่อนได้บ้างภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคพื้นฐานข้างต้นในเด็กอายุ 2 ขวบปีแรก เพราะโรคกลุ่มนี้พบได้บ่อยและมีความรุนแรง การรับวัคซีนไม่ครบหรือช้าเกินไป มีผลเสียและอันตราย วัคซีนที่สามารถเลื่อนได้ในระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น มักฉีดในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบเป็นต้นไป แต่ไม่ควรเลื่อนนานจนเกินไป และสามารถให้ต่อได้เลยโดยไม่ต้องเริ่มนับใหม่

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 โรงพยาบาลกรุงเทพเพิ่มมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวดยิ่งขึ้น มีการตรวจคัดกรองผู้ป่วยทุกเคาน์เตอร์บริการ โดยการซักประวัติการเดินทาง การสัมผัสกับกลุ่มเสี่ยง ตรวจวัดอุณหภูมิ และคัดกรองอาการระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งมีการแยกพื้นที่ให้บริการ แบ่งโซนชัดเจนในการรับบริการผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม อาทิ แบ่งโซนรับบริการผู้ป่วยเข้าข่ายโรค COVID-19 แยกตึกและผู้ดูแลโดยเฉพาะ แยกส่วนชัดเจนระหว่างผู้ป่วย ARI Clinic (ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบหายใจ) และ Non-ARI Clinic (ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการทางระบบหายใจ) แยกจากผู้ป่วยที่มารับบริการโดยทั่วไปอย่างเป็นสัดส่วน


สร้างภูมิต้านทานให้ลูกน้อย ลดความเสี่ยงด้วยวัคซีน
ศูนย์กุมารเวชกับมาตรการรองรับการให้บริการ 

  • Zoning แบ่งโซนให้บริการระหว่างคลินิกรับฉีดวัคซีนกับคลินิกเด็กป่วย 
  • OPD Short Period Service เพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการในกรณีที่ผู้ป่วยนัดหมายล่วงหน้าสามารถรับบริการได้อย่างรวดเร็ว 
  • Bangkok Hospital Delivery บริการส่งยาให้ถึงบ้าน กรณีผู้ป่วยมียากลับบ้านหากไม่อยากรอรับที่โรงพยาบาลสามารถให้ส่งยาที่บ้านได้
  • Always Cleaning มีการทำความสะอาดห้องตรวจและพื้นที่ส่วนกลางสม่ำเสมอ รวมทั้งลดความเสี่ยงด้วยการเก็บของเล่นเด็กออกชั่วคราวเพื่อลดโอกาสเด็กในการสัมผัสของเล่น
  • Safety ทีมแพทย์และพยาบาลมีการใส่ Surgical Mask และ Face Shield ในทุกการให้บริการ 

 

Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 4 อาคาร B โรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00 - 20.00 น.