เย็บผูกเส้นเลือดริดสีดวง (THD) รักษาได้ไม่ต้องผ่า

2 นาทีในการอ่าน
เย็บผูกเส้นเลือดริดสีดวง (THD) รักษาได้ไม่ต้องผ่า

แม้การรักษาริดสีดวงจะมีหลายวิธี แต่ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากผ่าตัด ด้วยเทคโนโลยี ADVANCED MIS ผนวกกับความชำนาญของศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ได้พัฒนาเทคนิคใหม่ในการรักษาริดสีดวงแบบไม่ผ่าตัด วิธีเย็บผูกเส้นเลือดริดสีดวง (Transanal Hemorrhoidal Dearterialization – THD) อีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาที่นอกจากไม่ต้องผ่าตัด ยังเจ็บน้อย ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน และโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ


รักษาริดสีดวงแบบไม่ผ่าตัด
 

วิธีการเย็บผูกเส้นเลือดริดสีดวง (Transanal Hemorrhoidal Dearterialization – THD) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจหาตำแหน่งของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงริดสีดวงทวาร จากนั้นแพทย์จะทำการเย็บผูกเส้นเลือดที่ส่งเลือดมาเลี้ยงหัวริดสีดวง และเย็บรั้งหัวริดสีดวงกลับเข้าไปด้านในทวารหนัก ทำให้หัวริดสีดวงทวารที่ยื่นออกมากลับเข้าที่และในขณะเดียวกันหัว ริดสีดวงจะค่อย ๆ ยุบและฝ่อลง โดยไม่มีการตัดเนื้อเยื่อริดสีดวง ไม่มีแผลที่ทวารหนักหรือกล้ามเนื้อหูรูด


ระยะริดสีดวงที่ควรรักษา

วิธีการเย็บผูกเส้นเลือดริดสีดวง (Transanal Hemorrhoidal Dearterialization – THD) เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นริดสีดวงทวารภายในระยะที่ 3 หัวริดสีดวงทวารออกมานอกทวารหนักแล้วกลับเข้าที่เดิมไม่ได้ ต้องใช้นิ้วมือดัน และระยะที่ 4 ริดสีดวงที่โผล่ยื่นค้างอยู่ด้านนอกทวารหนัก อาจมีอาการคันและอักเสบ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการเท่านั้น

Transanal Hemorrhoidal Dearterialization – THD

หลังจากการเย็บผูกหลอดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่ส่งเลือดไปยังริดสีดวงทวารแล้ว ริดสีดวงจะมีขนาดที่เล็กลง ขั้นตอนต่อไปคือ

  1. ใช้ไหมเย็บต่อลงมาด้านล่างของทวารหนัก
  2. ริดสีดวงที่หย่อนหรือโผล่ยื่นออกทางทวารหนักจะถูกดึงเข้าที่
  3. ผูกไหมทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน เพื่อยึดให้ริดสีดวงไม่โผล่ออกมา

ข้อดีของ THD

  • ไม่มีการตัดเนื้อเยื่อริดสีดวงออก ไม่มีแผลผ่าตัด 
  • เจ็บน้อย 
  • เลือดออกน้อย
  • ฟื้นตัวเร็ว อาจไม่ต้องนอนโรงพยาบาล 
  • ขับถ่ายได้ตามปกติ
  • ลดภาวะแทรกซ้อน

อาการข้างเคียงหลังรักษา

โอกาสเกิดอาการข้างเคียงหลังรักษาด้วยวิธีการเย็บผูกเส้นเลือดริดสีดวงมีน้อยมาก อาทิ

  • ปัสสาวะขัดชั่วคราว
  • อาจมีเลือดออก
  • อาจมีอาการปวด

ปรับพฤติกรรมป้องกันริดสีดวงเป็นซ้ำ

  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 – 10 แก้วต่อวัน
  • ทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง
  • ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา ไม่เบ่งถ่าย ไม่นั่งนาน
  • ไม่ปล่อยให้ท้องผูก 
  • หมั่นสังเกตหลังขับถ่ายว่ามีเลือดปนออกมาหรือไม่
  • เลี่ยงการยกของหนักหรือออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งหนัก ๆ (ยกน้ำหนัก) อาจส่งผลให้ความดันเพิ่มขึ้น หลอดเลือดดำทวารหนักมีอาการโป่งพอง 
  • เลี่ยงอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้ท้องผูกและขับถ่ายยาก

 

ริดสีดวงทวารหนักหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องปกติและชะล่าใจปล่อยไว้ไม่รักษาทั้งที่ความจริงแล้วหากได้รับการรักษาโดยเร็วและถูกวิธีย่อมมีโอกาสหายและลดความรุนแรงของโรคได้ฉะนั้นหากสงสัยหรือมีอาการถ่ายเป็นเลือดผิดปกติควรพบแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญเพื่อตรวจและรักษาก่อนโรคจะลุกลามไปมากยิ่งขึ้น


ข้อมูลโดย

Doctor Image
พญ. สรินดา เลิศบรรณพงษ์

ศัลยศาสตร์

ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
พญ. สรินดา เลิศบรรณพงษ์

ศัลยศาสตร์

ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
Doctor profileDoctor profile
Doctor Image
ศ.(พิเศษ) ดร. นพ. อัฑฒ์ หิรัณยากาศ

ศัลยศาสตร์

ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
ศ.(พิเศษ) ดร. นพ. อัฑฒ์ หิรัณยากาศ

ศัลยศาสตร์

ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์ศัลยกรรม

ชั้น 1 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ

ทุกวัน เวลา 08.00 - 20.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด