ศูนย์เลสิก


ผู้ที่เหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธีเลสิก

คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าใคร ๆ ก็สามารถเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์ได้ ในทางตรงกันข้ามคนบางคนอาจมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมกับการทำเลสิก โดยปกติจักษุแพทย์จะต้องทำการตรวจสอบวัดค่าสายตา ตรวจประเมินสภาพตาอย่างละเอียด รวมถึงมีการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษอื่น ๆ เช่น ความโค้งและความหนาของกระจกตา ขนาดรูม่านตา วัดระดับการเบี่ยงเบนของแสง (Wavefront Analysis) เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ขั้นพื้นฐานในการเข้ารับการผ่าตัดทำเลสิกหรือไม่


คุณสมบัติพื้นฐาน

  • มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
  • มีสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี
  • มีปัญหาในการสวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ อันเนื่องมาจากอาชีพ กิจวัตรประจำวัน รวมไปถึงงานอดิเรก
  • ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • ไม่มีโรคของกระจกตา และโรคตาอย่างอื่นที่รุนแรง เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้งอย่างรุนแรง หรือโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคเบาหวาน SLE
  • มีความเข้าใจถึงการผ่าตัดด้วยวิธี LASIK อย่างละเอียด และมีความคาดหวังที่ถูกต้อง

ผลข้างเคียง

การตัดสินใจทำการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกตินับเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณได้ ดังนั้นพึงศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ทั้งในแง่ประโยชน์ที่จะได้รับ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยทั่วไปแล้วเลสิกเป็นหัตถการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาสายตา หากอยู่ภายใต้การดูแลจากจักษุแพทย์ที่มีประสบการณ์และแทบไม่พบภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่ส่งผลให้เกิดความจำเป็นในการต้องทำการผ่าตัดแก้ไขหรือทำให้เกิดการสูญเสียทัศนวิสัยอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดีอาจพบผลข้างเคียงเล็กน้อย ดังนี้:

  • การติดเชื้อ (Infection)
  • การแก้สายตาขาดหรือเกิน (Under and Over corrections)
  • การเห็นแสงกระจาย (Glare) หรือ มีรัศมีรอบดวงไฟ (Halo) โดยเฉพาะตอนกลางคืน ในระยะแรก ๆ หลังการรักษาแล้วจะค่อย ๆ ดีขึ้น
  • ความคมชัดไม่คงที่ (Fluctuation of vision)
  • ภาวะตาแห้ง (Dry Eyes)

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์เลสิก

ชั้น 5 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดให้บริการ

จันทร์ - เสาร์ 08.00 - 17.00 น.

อาทิตย์ 08.00 - 16.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

ดูแพ็กเกจอื่น ๆ