ศูนย์สั่งการ BDMS Medevac Center และ Bangkok Hospital Phuket Dispatch Center
รับแจ้งเหตุ
- รับเรื่อง 24 ชม.
- ล่ามหลายภาษา
ให้คำปรึกษา
- แพทย์เฉพาะทาง
- ให้คำแนะนำ และแผนการเคลื่อนย้าย
ประสานงาน
- รถพยาบาลฉุกเฉิน
- ส่งต่อระหว่างสถานพยาบาล
- การประเมินค่าบริการในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ส่งต่อผู้ป่วยอย่างไร้รอยต่อ
- นำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลที่มีศักยภาพ
สถานที่ทำการ:
ชั้น 17 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่
เลขที่ 2 ซ.ศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 11130
เบอร์โทร +6627169999
e-mail: [email protected]
การขอรถพยาบาลฉุกเฉิน
ท่านควรขอความช่วยเหลือจากหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุดทันที เมื่อพบเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ ได้แก่
- อาการเจ็บแน่นหน้าอก
- หายใจลำบาก
- ภาวะเลือดออกที่ควบคุมไม่ได้ หรือมีภาวะช็อกอื่น ๆ
- ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจากความร้อน เช่น ไฟไหม้ ฯลฯ
- ได้รับอันตรายจากสารพิษ
- หมดสติหรือชักต่อเนื่อง
- อาการที่สงสัยภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบเฉียบพลัน เช่น อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เดินเซ อัมพาตอ่อนแรง หรือชาครึ่งซีก มุมปากตก พูดไม่ชัด สูญเสียการมองเห็นเฉียบพลัน
- ได้รับบาดเจ็บรุนแรง เช่น ตกจากที่สูง อุบัติเหตุรถชนความเร็วสูง เป็นต้น
โทรขอความช่วยเหลืออย่างไร?
ตั้งสติและโทร
ก่อนขอความช่วยเหลือให้ท่านตั้งสติให้ดี และกดเบอร์รถพยาบาลฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด
- สำหรับศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพดุสิตเวชการ (BES) ให้โทร 1-7-2-4
- และสำหรับรพ.กรุงเทพภูเก็ต กรุงเทพสิริโรจน์ให้โทร 1-7-1-9
- หรือกดขอความช่วยเหลือผ่านแอปพลิเคชัน BES i lert you
ตอบคำถาม !
เจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุจะทำการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเหตุฉุกเฉิน แม้ว่าท่านจะรู้สึกคำถามดังกล่าวทำให้เสียเวลา แต่ทุกคำถามนั้นมีความสำคัญต่อการส่งความช่วยเหลือที่เหมาะสมที่สุดให้กับผู้ป่วย และในขณะสอบถามข้อมูลนั้นเจ้าหน้าที่สั่งการจะทำการติดต่อประสานงานส่งความช่วยเหลือไปพร้อม ๆ กัน โดยศูนย์สั่งการอาจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อส่งต่อให้กับทีมระหว่างเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ
ข้อมูลที่จำเป็นต่อการส่งความช่วยเหลือ ได้แก่
- ตำแหน่งของผู้ป่วย
- ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้แจ้ง รวมถึงเบอร์ติดต่อผู้ที่อยู่ ณ ที่เกิดเหตุในกรณีที่ท่านไม่ได้อยู่กับผู้ป่วย
- ข้อมูลเกี่ยวกับอาการผู้ป่วย เช่น ระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย การหายใจ หรือภาวะเลือดออก เป็นต้น
ข้อมูลภยันตราย ณ ที่เกิดเหตุ เช่น ไฟไหม้ สายไฟฟ้าแรงสูงขาด อาวุธ หรือการใช้ความรุนแรงในที่เกิดเหตุ สภาพจราจร รวมถึงความเสี่ยงต่อโรคติดต่อ เช่น วัณโรค โควิด-19 หรือน้ำหนักของผู้ป่วยกรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักมาก ซึ่งต้องการการสนับสนุน หรือช่วยเหลือเพิ่มเติมในการดูแลผู้ป่วย ณ ที่เกิดเหตุ
ปฏิบัติตามคำแนะนำ !
ขอให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สั่งการและไม่วางสายจนกว่าเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ท่านวางสายได้ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่อาจให้คำแนะนำในการช่วยเหลือผู้ป่วย ระหว่างรอหน่วยปฏิบัติการ เช่น การให้การปฐมพยาบาลผู้ป่วย การปั๊มหัวใจ หรือการเคลื่อนย้ายไปยังที่ปลอดภัย เป็นต้น
ในภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์นั้นเวลาคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เจ้าหน้าที่ศูนย์สั่งการจะส่งหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินไปช่วยเหลือผู้ป่วยหากผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่บริการ และมีภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งระยะเวลาในการตอบสนองของทีมช่วยเหลือไปยังที่เกิดเหตุเหมาะสมกับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย หากผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่ ๆ ไกลจากหน่วยบริการ และการรอคอยอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยมากขึ้น ศูนย์สั่งการจะแนะนำให้ท่านเรียกบริการรถพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย
การขอบริการส่งต่อระหว่างสถานพยาบาล
ขั้นตอนการติดต่อ
- แจ้งเจ้าหน้าที่ ณ สถานพยาบาลต้นทาง
หากท่านต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลของท่าน มายังโรงพยาบาลในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ ขอให้ท่านแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ ณ สถานพยาบาลที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา และแจ้งให้แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยทราบความประสงค์ของท่าน - ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย
เจ้าหน้าที่รับเรื่องประจำศูนย์สั่งการจะสอบถามข้อมูลผู้ป่วยและเหตุผลในการเคลื่อนย้ายเพื่อให้เราสามารถให้บริการที่ปลอดภัยและเหมาะสมตามความต้องการของผู้ป่วย เอกสารส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย ได้แก่ ประวัติการรักษา ผลการส่งตรวจวินิจฉัย มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางแผนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัย และการวางแผนการรักษาที่ต่อเนื่อง ณ สถานพยาบาลปลายทาง - การประเมินและชำระค่าใช้จ่ายในการบริการ
หลังแพทย์อำนวยการทำการประเมินแล้วเห็นสมควรว่าผู้ป่วยสามารถเคลื่อนย้ายได้ และโรงพยาบาลยืนยันรับผู้ป่วยแล้ว ผู้ตรวจการจะประเมินและแจ้งราคาค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายแก่ท่าน การชำระค่าบริการอาจทำได้โดยการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือการออกเอกสารรับรองจากบริษัทคู่สัญญา หรือบริษัทประกันกรณีที่ได้รับความคุ้มครอง - การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
หลังได้รับข้อมูลผู้ป่วยแล้ว แพทย์อำนวยการจะทำการประเมินความเสี่ยงในการเคลื่อนย้าย จากความรุนแรงของอาการผู้ป่วย สภาพถนน เส้นทาง สภาพอากาศ ความเหนื่อยล้าของทีม และตัดสินเลือกวิธีการเคลื่อนย้าย ประเภทของหน่วยปฏิบัติการ และเวลาที่เหมาะสมในการเคลื่อนย้าย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรเป็นสำคัญ - สัมภาระของผู้ป่วยและผู้ร่วมเดินทาง
ผู้ร่วมเดินทางอาจได้รับอนุญาตให้เดินทางไปกับผู้ป่วยได้ หากสามารถทำได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ที่ร่วมเดินทางกับผู้ป่วย- จะต้องได้รับการยืนยันตัวตนและอนุญาตจากศูนย์สั่งการ รวมถึงเจ้าหน้าที่สนามบินสำหรับการเคลื่อนย้ายทางอากาศ โดยส่งบัตรประจำตัว/หนังสือเดินทางไปที่ศูนย์สั่งการทางอีเมล
- จะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับกฎความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายทางการแพทย์ และจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำนั้นอย่างเคร่งครัดตลอดการเคลื่อนย้าย
กระเป๋าเดินทางขนาดพกพา 1 ใบอาจได้รับอนุญาตให้ขนย้ายบนรถพยาบาลหากสามารถยึดตรึงได้อย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อบุคลากร และผู้ป่วย
โปรดแจ้งศูนย์สั่งการหากคุณต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการเดินทางของญาติ หรือเพื่อนของผู้ป่วย หรือการขนส่งสัมภาระเพิ่มเติม สัมภาระ/ของใช้ส่วนตัวจะถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่รถพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สนามบิน
ท่านสามารถอ่านคำแนะนำในการเคลื่อนย้ายด้วยรถพยาบาลได้โดยการแสกนเอกสาร QR CODE ด้านล่าง