Preimplantation Genetic Testing for fertility ตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว

2 นาทีในการอ่าน
Preimplantation Genetic Testing for fertility ตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว

เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
ด้วยการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว (PGT)”


ทำความรู้จัก
Preimplantation Genetic Testing (PGT)

Preimplantation Genetic Testing (PGT) เป็นการตรวจวิเคราะห์เพื่อดูความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนเพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์ มีโครโมโซมที่ปกติและปราศจากโรคทางพันธุกรรมก่อนการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งจะเพิ่มอัตราการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการตั้งครรภ์


รูปแบบการตรวจ Preimplantation Genetic Testing (PGT)

การตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการฝังตัว มี 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. Preimplantation genetic testing for Aneuploidy (PGT-A) เป็นการตรวจดูความผิดปกติของโครโมโซมของร่างกายซึ่งมีทั้งหมด 22 คู่และโครโมโซมเพศ 1 คู่คือ XX หรือ XY โดยตัวอ่อนที่ปกติจะต้องมีโครโมโซมครบจำนวน 23 คู่ การตรวจ PGT-A ปัจจุบันเราใช้เทคนิค Next Generation sequencing (NGS) ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบันและเป็นที่แพร่หลายกันทั่วโลก
  2. Preimplantation genetic testing for monogenic disorder (PGT-M) เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคพันธุกรรมแบบยีนเดี่ยวเพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่ได้รับการถ่ายทอดยีนผิดปกติมาจากทางบิดาหรือมารดา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคได้ ตัวอย่างของโรคทางพันธุกรรมแบบยีนเดี่ยวที่พบบ่อยในประเทศไทย คือ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
  3. Preimplantation genetic for structural rearrangement (PGT-SR) เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างของโครโมโซม ความผิดปกติลักษณะนี้เกิดจากการสลับชิ้นส่วนของโครโมโซมโดยไม่มีการเพิ่มหรือการลดจำนวนโครโมโซม บิดาหรือมารดาที่มีการสลับชิ้นส่วนของสองโครโมโซม (Reciprocal Translocation) อาจจะมีผลทำให้เซลล์สืบพันธุ์ของบิดาหรือมารดามีสารพันธุกรรมไม่ครบหรือมีบางส่วนเกินมา ทำให้เกิดตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ ดังนั้นการตรวจ PGT-SR จะช่วยในการคัดเลือกตัวอ่อนที่โครโมโซมผิดปกติออกไปได้

ข้อดีของการตรวจ Preimplantation Genetic Testing (PGT)

ข้อดีของการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อนช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์และลดความเสี่ยงของการแท้งบุตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี, ผู้หญิงที่มีประวัติแท้งบุตรมามากกว่า 2 ครั้งโดยมีสาเหตุจากทารกมีโครโมโซมผิดปกติหรือหาสาเหตุไม่ได้, คู่สมรสที่มีประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัวหรือบุตรคนแรกมีโครโมโซมผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม, คู่สมรสที่ทำเด็กหลอดแก้วและได้รับการย้ายตัวอ่อนมามากกว่า 2 รอบและยังไม่ประสบความสำเร็จ 


ทำไมต้องตรวจ PGT ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมให้บริการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและบุคลากรที่มากด้วยประสบการณ์ในการตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากและความผิดปกติของตัวอ่อน ทุกขั้นตอนในการตรวจโครโมโซมจะใช้ปริมาณเซลล์น้อย ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อตัวอ่อนในภาพรวม ผลการตรวจที่ได้มีความถูกต้องและตรงจุด เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์และเติมเต็มครอบครัวที่สมบูรณ์


Precision Medicine วางแผนสุขภาพเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์”

ข้อมูลโดย

Doctor Image
พญ. ปวีณา สารการโกศล

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
พญ. ปวีณา สารการโกศล

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
Doctor profileDoctor profile
Doctor Image
พญ. ชุตินาท อิ่มเอม

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
พญ. ชุตินาท อิ่มเอม

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก

ชั้น 5 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ

จันทร์ - เสาร์ เวลา 8.00 - 16.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด