เมื่ออายุเพิ่มขึ้นความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นโดยเฉพาะหัวใจที่นอกจากความเสื่อมตามวัย พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ และการมีโรคประจำตัวล้วนมีส่วนสำคัญในการเกิดโรคหัวใจตามมา ซึ่งผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไปควรใส่ใจดูแลตนเอง เพราะโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิต
ประสบการณ์การผ่าตัดรักษาโรคหัวใจโดยไม่ถ่ายเลือด
ความจริงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
เพราะการป้องกันโรคนั้นดีกว่าและสำคัญกว่าการรักษาโรค โดยเฉพาะหัวใจของเราที่มีเพียงดวงเดียว เนื่องในวันหัวใจโลก (World Heart Day) อยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลป้องกันหัวใจให้ห่างไกลโรค กับ 8 เรื่องที่สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยเพื่อป้องกันโรคหัวใจไปตลอดชีวิต
ปัญหาลิ้นหัวใจเกิดขึ้นได้ทุกวัยตั้งแต่เด็ก หรือในคนสูงวัยอายุประมาณ 60 - 70 ปีขึ้นไป จากความเสื่อมของลิ้นหัวใจ ผู้ป่วยสูงวัยมักมีความเสี่ยงในการผ่าตัดมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย การรักษาด้วยเทคนิค TAVI ที่ซ่อมลิ้นหัวใจได้โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่จึงเป็นทางเลือกการรักษาที่ช่วยให้ผู้สูงวัยกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง
การผ่าตัดปอดในอดีตจะใช้การผ่าตัดแบบเปิด ซึ่งผู้ป่วยมักกังวลเรื่องความเจ็บปวดเมื่อเข้ารับการผ่าตัดและขนาดของแผลที่อาจมีขนาดใหญ่ การผ่าตัดปอดโดยการส่องกล้องหรือ Video Assisted Thoracic Surgery (VATS) จึงเป็นทางเลือกการผ่าตัดที่ไม่เพียงช่วยให้ผู้ป่วยแผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ยังลดโอกาสเกิดผลแทรกซ้อน และได้ผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ต่อมไทมัส (Thymus Gland) เป็นอวัยวะในร่างกายที่ทำหน้าที่เป็นทั้งเนื้อเยื่อน้ำเหลืองและต่อมไร้ท่อ โดยตั้งอยู่บริเวณหน้าต่อหัวใจและเส้นเลือดแดงใหญ่ หลังต่อกระดูกหน้าอก (Sternal Bone or Breastbone) ตัวต่อมมีลักษณะรูปร่างคล้ายกับผีเสื้อ
จากข้อมูลทางสถิติในอดีตจนถึงปี 2018 พบว่า โรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มมะเร็งทั้งหมดและยังเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตที่สูงที่สุดของมะเร็งทุกชนิด
หนึ่งในปัญหาหัวใจที่พบได้ในผู้สูงอายุจากความเสื่อมตามวัย คือ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจเอออร์ติกที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้ เทคนิค TAVI (Transcatheter Aortic Valve Implanation) เทคนิคสายสวนแผลเล็กเพื่อซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจจึงเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดและช่วยให้กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง
การออกกำลังกายมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้หัวใจแข็งแรง ยิ่งถ้าเลือกท่าบริหารได้เหมาะสม ย่อมช่วยเพิ่มพลังฟิตให้หัวใจได้เป็นอย่างดี
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจช่วยให้หัวใจมีสมรรถภาพที่ดี ลดอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีและมีสุขภาพใจที่แข็งแรง
ด้วยพฤติกรรมการทานอาหารของคนยุคใหม่ที่มักเน้นรสชาติถูกปากเมนูที่ถูกใจ โดยเฉพาะรสหวาน มัน เค็มเรียกได้ว่าเป็นรสชาติยอดนิยมของคนไทยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากขาดการควบคุมและบริโภคเกินพอดี