หลายคนที่เป็นคอบอลหรือแม้แต่ดูบอลไม่เป็น น่าจะเคยได้ยินข่าวเรื่องนักฟุตบอลทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเสียชีวิตในระหว่างการแข่งขันเนื่องจากหัวใจล้มเหลวอยู่บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องน่าประหลาดใจว่า ทำไมนักฟุตบอลซึ่งเป็นผู้ที่ต้องออกกำลังกายเป็นประจำเสมอถึงเสียชีวิตจากโรคหัวใจกันมาก ทั้งที่ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน
การพัฒนาโปรแกรมการรักษาใหม่ ๆ ยังคงเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง หนึ่งในนั้นคือเทคโนโลยีการรักษาโรคหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด TAVI/TAVR ที่นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ช่วยลดความเสี่ยงขณะผ่าตัดได้เป็นอย่างดี
โดยปกติแล้วความเสี่ยงของโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป และผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง
หลอดเลือดแดงโป่งพอง (Aneurysm) คือ สภาวะที่หลอดเลือดขยายใหญ่ขึ้น ในกรณีที่หลอดเลือดแดงที่โป่งพองมีการปริแตก อาจปวดท้อง ปวดหลัง หรือปวดในช่องอกได้เฉียบพลัน และมักจะพบร่วมกับอาการช็อก ต้องรีบทำการรักษาโดยเร็วที่สุด
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography) หรือ CT Scan เป็นเครื่องมือทางรังสีที่ใช้ตรวจภายนอก (Non - Invasive) เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคของอวัยวะภายใน ได้หลายภาพที่มีความละเอียดสูง (High Resolution) ช่วยในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องชัดเจน
การตรวจหัวใจด้วยเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นการตรวจหัวใจที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ได้ใช้รังสีเอกซเรย์
คนที่ไม่เคยมีอาการเจ็บป่วยมาก่อน แต่อยู่ดี ๆ กลับเสียชีวิตแบบที่คนใกล้ชิดไม่ทันได้ตั้งตัวมักได้รับการวินิจฉัยว่าเสียชีวิตจากอาการของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน หรือเส้นเลือดหัวใจตีบเป็นส่วนใหญ่ แต่จริง ๆ แล้วมีอีกโรคซึ่งน่ากลัวและเป็นอันตรายมากก็คือ โรคเส้นเลือดแดงโป่งพองแตกเซาะ (Emergency Aneurysm)<br /><br />
โรงพยาบาลหัวใจกรงุเทพมีทีมแพทย์ที่พร้อมให้การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงโป่งพองหรือโรคหลอดเลือดแดงโป่งพองแตกเซาะตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคนี้สามารถทำการผ่าตัดได้ใน 1 - 2 ชั่วโมง
หลอดเลือดโป่งพอง คือ สภาวะที่หลอดเลือดขยายใหญ่หรือโป่งพองขึ้น จากผนังหลอดเลือดแข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น ถ้าโป่งพองไม่มากจะไม่มีอาการแสดงออก แต่ถ้าเส้นเลือดโป่งพองมากจนกดทับอวัยวะข้างเคียงอาจร้ายแรงถึงชีวิต
คนไทยมีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน พบว่าอาหารเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากการบริโภคที่เปลี่ยนไป ด้วยอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง ออกกำลังกายน้อยลง และมีความเครียดมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นกรรมพันธุ์อีกด้วย
การเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นสัญญาณเตือนให้ระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะอาจเกิดซ้ำได้อีก การออกกำลังกายในผู้ป่วยหลังเคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันต้องปฏิบัติให้ถูกวิธี
ลิ้นหัวใจรั่วเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ซึ่งลิ้นหัวใจเกี่ยวข้องกับหัวใจโดยตรง ถ้าหากเกิดรั่วหรือทำงานผิดปกติ หัวใจก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่หรืออาจถึงขนาดหัวใจวายได้เลยทีเดียว