คุณผู้หญิงที่มีสุขภาพดี ไม่ควรมีอาการผิดปกติใด ๆ ขณะมีระดู แม้บางท่านอาจจะมีอาการปวดท้องน้อยขณะมีระดูได้บ้าง แต่ไม่ควรรุนแรงมากมายนัก
เมื่อเกิดอาการเสียงแหบ ไอ เจ็บคออาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเกิดความผิดปกติกับกล่องเสียง ซึ่งหลายคนมักคิดว่าปล่อยไว้ก็คงหายได้เอง แต่ความจริงแล้วโรคกล่องเสียงอักเสบนั้นอาจเรื้อรังได้ถ้าไม่รีบรักษาให้หายขาด เพราะฉะนั้นการรู้เท่าทันโรคนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจ
เมื่อเข้าใกล้ระยะคลอด นั่นคือ 37 สัปดาห์ เป็นต้นไป คุณแม่จะรู้สึกว่าท้องลดต่ำลง เนื่องจากศีรษะเด็กจะเคลื่อนต่ำลงสู่ช่องเชิงกราน ขณะเดียวกันจะรู้สึกปวดถ่วงในอุ้งเชิงกราน ท้องเกร็งแข็งบ่อยขึ้น ๆ ปัสสาวะบ่อย เท้าจะบวม ลุกนั่งลำบาก เป็นตะคริวที่ขาบ่อยขึ้น การเตรียมพร้อมก่อนการคลอดจึงเป็นเรื่องสำคัญ
โรคข้อสะโพกตายจากการขาดเลือดจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ซึ่งการผ่าตัดแนวใหม่ ผ่าตัดเข้าจากด้านหน้าข้อสะโพก (Direct Anterior Approach) ช่วยให้ฟื้นตัวเร็วกว่าเดิมมาก
หลังคลอดคุณแม่จะรู้สึกว่าน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ การบริหารด้วยท่าต่าง ๆจะช่วยให้ร่างกายกลับสู่สภาพเดิม ควรเริ่มบริหารร่างกายหลังคลอดแล้วประมาณ 6 สัปดาห์ โดยรอให้ร่างกายแข็งแรงและก่อนบริหารควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์
การปฏิบัติตัวของคุณแม่ในระยะหลังคลอด อวัยวะต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จะเริ่มกลับคืนมาสู่สภาวะปกติ แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเหมือนเดิมได้ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลังคลอดใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์จึงจะหยุดการเปลี่ยนแปลง
ข้อหรือข้อต่อ (Joints) ทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อลื่นและยังช่วยห่อหุ้มให้แข็งแรงและมั่นคง ภายนอกข้อต่อที่สำคัญคือ เอ็นยึดข้อ หรือบางทีจะมีหมอนกระดูกอ่อนรองข้อ เช่น ข้อเข่า ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบ เพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม
เมื่อมีอาการปวดท้องน้อย โดยเฉพาะปวดท้องน้อยระหว่างมีระดูไม่ใช่เรื่องปกติและไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นอาการของ “โรคสำคัญ” ของคุณผู้หญิง
เพราะความอายทำให้ผู้หญิงไม่น้อยไม่กล้าไปพบแพทย์เพื่อ "ตรวจภายใน" เพราะการตรวจดังกล่าวต้องเปลือยส่วนที่เป็นส่วนตัวมาก ๆ ซึ่งไม่อยากให้ใครเห็น นอกจากนี้ยังกลัวเจ็บและกลัวอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะในรายที่ยังเป็นสาวบริสุทธิ์ ไม่เคยแต่งงานหรือคลอดลูกมาก่อน
การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดต้องอาศัยทีมแพทย์พยาบาลที่มีความชำนาญทางด้านทารกแรกเกิดโดยเฉพาะ เนื่องจากทารกเหล่านี้ไม่ใช่แค่ตัวเล็กน้ำหนักน้อยเท่านั้น แต่อวัยวะต่าง ๆ ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จึงไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนทารกครบกำหนด
กระดูกหักล้า (Stress Fracture) เป็นการบาดเจ็บจากการวิ่งที่พบได้ไม่น้อยในนักวิ่งมาราธอน และเป็นสาเหตุที่ทำให้นักวิ่งต้องหยุดพักนานที่สุดในบรรดาการบาดเจ็บทั้งหมด
กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints) เป็นการบาดเจ็บอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา ซึ่งมีการอักเสบบริเวณกล้ามเนื้อด้านในของหน้าแข้ง เส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนรอบกระดูกหน้าแข้ง จะมีอาการปวดบริเวณหน้าแข้งด้านใน มักพบอาการหน้าแข้งอักเสบในบรรดานักวิ่ง โดยเฉพาะนักวิ่งมาราธอน