เพื่อเป็นการลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อและเพิ่มความมั่นใจในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ทางโรงพยาบาลได้มีมาตรการการป้องกันการแพร่กระจายและการควบคุมโรคอย่างเข้มงวด
เครื่องเอกซเรย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด Bi-plane DSA หรือ Biplane Digital Subtraction Angiography ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ตับ และหลอดเลือดแขน ขา และหลอดเลือดทั่วร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาโรคได้หลายชนิดแบบไม่ต้องผ่าตัด หรือเรียกว่า รังสีร่วมรักษา
เครื่องบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (QRS PelviCenter) คือ เครื่องมือแพทย์ที่ช่วยบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยใช้ระบบคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นระบบประสาท และกล้ามเนื้อที่ช่องเชิงกราน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวและคลายตัวอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ช่วยให้กลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้นบรรเทาอาการปัสสาวะเล็ดก่อนถึงห้องน้ำ
เทคโนโลยี ROBODOCTOR : Remote Presence System จากสหรัฐอเมริกา เข้ามาช่วยแพทย์ในการรักษาคนไข้ได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลทางการแพทย์และมีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายมลรัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนนาดารวมทั้งเอเซียและยุโรปประเทศต่างๆ
EEG เป็นการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง บ่งบอกถึงการทำงานของสมองสัมพันธ์กับเวลา ณ ขณะนั้น ส่วน MRI brain เป็นการตรวจดูลักษณะโครงสร้างของสมองและมีการพัฒนาการใช้ MRI มาตรวจวัดการทำงานของสมองโดยดูการเปลี่ยนแปลงของปริมาณออกซิเจนในขณะนั้น แต่การตรวจ fMRIเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยคำสั่งที่เป็นเสี้ยวมิลลิวินาที (เช่น การตรวจหาศูนย์การทำงานของภาษา หน่วยความจำความสนใจ สมองที่ควบคุมการมองเห็นการได้ยิน เป็นต้น)
การผ่าตัดเสริมหมอนรองกระดูกทางข้างลำตัวแบบแผลเล็กเป็นนวัตกรรมล่าสุดที่สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ นำมาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายกล้ามเนื้อหลังให้น้อยลงเพื่อรักษาอาการหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกทับเส้น และกระดูกสันหลังเคลื่อน
O-arm 3D Imaging Navigator and IONM เทคโนโลยีช่วยเสริมความปลอดภัยในการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่ให้ภาพคมชัด มีประสิทธิภาพในการประมวลผลขั้นสูง ส่งเสริมความปลอดภัยในการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ดียิ่งขึ้น
การรักษาด้วยรังสีระยะใกล้ Brachytherapy เป็นวิธีการรักษาโดยให้ต้นกำเนิดรังสีอยู่ใกล้กับบริเวณที่จะทำการรักษา (ก้อนมะเร็ง) ทำให้บริเวณที่อยู่ใกล้ต้นกำเนิดรังสีได้รับปริมาณรังสีสูง และบริเวณที่อยู่ถัดมา (เนื้อเยื่อปกติ) ได้รับปริมาณรังสีน้อย
12 ความต่างเมื่อได้รับยาเคมีบำบัดที่โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ
เทคโนโลยีใหม่ในการฉายรังสีรักษา ซึ่งให้ปริมาณรังสีครอบคลุมก้อนมะเร็งได้ดี พร้อมทั้งสามารถลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉายรังสีโดนเนื้อเยื่อปกติให้น้อยลง