ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายมากขึ้น และหลายคนคงมีอาการปวดตามข้อเวลาออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาประเภทที่ต้องกระโดด หรือวิ่งมาก ๆ เป็นเวลานาน และอาจรู้สึกปวดตามข้อ หรือในเวลาที่อากาศเย็นขึ้น บุคคลประเภทนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบ (Arhritis) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของโรคกลุ่มนี้ซึ่งแยกออกมาได้กว่า 200 ชนิดที่พบบ่อยมีอยู่ 2 ชนิด คือ โรคข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบเรื้อรัง (Osteoarthritis) และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือปวดข้อรูมาตอยด์ (The Rumatoid Arthritis) ทั้ง 2 ชนิด มีสาเหตุของโรคต่างกันคือ โรคข้อเสื่อม เกิดจากความทรุดโทรมของกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อกระดูกค่อย ๆ หายไป ทำให้ข้อกระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหว จนเกิดอาการข้อยึด ส่งผลให้ปวดบริเวณข้อ โดยเฉพาะเวลาอากาศเย็น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สาเหตุที่พบบ่อยคือ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เกิดการทำลายข้อต่อกระดูกของตนเอง และโรคนี่ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะช่วยอายุระหว่าง 22 – 55 ปี และเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคได้มากกว่าเพศชายถึง 3 เท่า ทั้งยังเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ไปตลอด แต่ในผู้ป่วยบางชนิดก็เป็นไปได้เช่นกัน ส่วนผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคข้ออักเสบนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปกติ หรือแม้แต่นักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรงก็มีสิทธิ์เป็นได้นักกรีฑา นักวิ่ง นักกระโดดสูงล้วนอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพราะจำเป็นต้องใช้ข้อต่อต่าง ๆ โดยเฉพาะที่หัวเข่าและข้อเท้ามากเป็นพิเศษ ในการวิ่งหรือกระโดด ทำให้เกิดแรงกดที่ข้อกระดูก เหมือนคนที่มีน้ำหนักมากเช่นกัน อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคนี้ ส่วนใหญ่แล้วแนะนำให้บริโภคอาหารลักษณะเดียวกับผู้ควบคุมน้ำหนัก ซึ่งเน้นเป็นอาหารไขมันต่ำ และเน้นให้ทานผักผลไม้เป็นหลัก เพราะคนอ้วนหรือคนที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ แพทย์แนะนำให้พยายามควบคุมน้ำหนัก ควบคู่กับการรักษาโรคด้วยยา โดยเน้นไปที่อาหารกลุ่มธัญพืชที่มีการขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดขาว และผักใบเขียวต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งเบต้าแคโรทีน แคลเซียม โดเลต เหล็ก วิตามินซี ควรกินให้ได้ทุกวัน วันละนิดก็ได้ แต่ควรให้รับสม่ำเสมอ นอกจากอาหารควบคุมน้ำหนักต่าง ๆ แล้ว ผู้ป่วยโรคนี้ควรบริโภคปลาที่มีน้ำมันปลาด้วย เพราะมีหลักฐานว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในกฎไขมันไม่อิ่มตัวในปลา มีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบของข้อกระดูก จึงแนะนำให้บริโภคเฉลี่ย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาจกินในรูปของแคปซูลน้ำมันปลา แต่ต้องกินตามคำแนะนำบนฉลาก ไม่ควรกินเกินกว่าที่กำหนดไว้ นอกจากน้ำมันปลาแล้ว น้ำมันจากดอกอีฟนิ่งพริมโรสก็มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบได้เช่นกัน ก่อนกินควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่า สามารถกินได้หรือไม่ สำหรับอาหารที่ควรพิจารณาเข้าไว้เป็นประจำ ก็คือ
- ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 มาก เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลากระบอก ปลาทู ปลาดุก ปลาช่อน เป็นต้น โดยเฉพาะผู้เป็นโรคข้ออักเสบรูมาดอยด์
- ธัญพืชที่ไม่ขัดสีมากนัก เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮสวีด จมูกข้าวสาลี ถั่วต่าง ๆ สำหรับถั่วไม่ควรกินมาก เพราะมีแคลอรี่สูง
- ผักผลไม้ เช่น ผักใบเขียวต่าง ๆ กล้วยที่เป็นแหล่งโพแทสเซียม และใยอาหารควรกินอย่างน้อยให้ได้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แม้กระทั่งขิงก็พบว่ามีสารช่วยลดอาการอักเสบได้เช่นกัน จึงควรกินอย่างน้อย 5 กรัม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมไปถึงขึ้นฉ่าย ฝรั่ง หรือเซเลอรีนั้น ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อม
ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรบริโภคถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้จากน้ำนมถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนอาหารที่ควรงดไปเลย หรือกินเพียงเล็กน้อย คือ อาหารที่ผ่านกรรมวิธีขัดสีจนขาว และอาหารรสเค็มจัด หรือหวานจัด ลดอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว เช่น เนย เนยแข็ง น้ำมันมะพร้าว