คำถามที่พบบ่อยจากผู้ใช้งานอินซูลินปั๊ม

3 นาทีในการอ่าน
คำถามที่พบบ่อยจากผู้ใช้งานอินซูลินปั๊ม


คำถาม : อินซูลินปั๊มคืออะไร
?

ตอบ: อินซูลินปั๊มเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ภายนอก มีขนาดเล็ก กระทัดรัด สามารถปล่อยอินซูลินเข้าร่างกายได้อย่างต่อเนื่องผ่านผิวหนังได้ตามสัดส่วนที่แพทย์ได้ตั้งไว้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน  การปล่อยอินซูลินมีทั้งแบบพื้นฐานและแบบ Bolus ดังนั้นจึงสามารถเข้ามาแทนการฉีดยาอินซูลินได้ทุกรูปแบบ 


 

คำถาม : ใครเหมาะสมที่จะใช้งานอินซูลินปั๊มได้บ้าง?


ตอบ: ผู้ที่ใช้อินซูลินในการบำบัดรักษาภาวะเบาหวานอยู่แล้ว (โดยเฉพาะคนที่ต้องฉีดอินซูลินหลายครั้งต่อวัน) แล้วยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ อาจมีข้อบ่งชี้ในการใช้อินซูลินปั๊ม แทนเข็มฉีดยาแบบเดิมได้


 

คำถาม : ทำไมจึงควรใช้อินซูลินปั๊ม?


ตอบ : ถ้าคุณเหนื่อยกับการที่ต้องคอยฉีดอินซูลินทุกวันและคุณต้องการเพิ่มความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตของคุณมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาตื่นนอน เวลารับประทานอาหาร รวมไปถึงการออกกำลังกาย คุณก็สามารถทำได้ตามที่คุณต้องการได้ทุกเมื่อ การใช้อินซูลินปั๊มสามารถช่วยลดระดับค่า HbA1c ลดการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและสูงได้ดีอีกด้วย


img


 

คำถาม : ชุดเซ็ตยาสามารถติดกับร่างกายได้อย่างสมบูรณ์แบบนานถึง 3 วัน ภายใต้สภาวะอากาศที่ร้อนและชื้นหรือไม่?


ตอบ : ในชุดเซ็ตยาของเรานั้น กาวมีคุณสมบัติที่ได้ออกแบบมาเพื่อทนต่อสภาวะที่เปียกชื้น เช่น ความชื้นของคุณที่เกิดจากการอาบน้ำอุ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากอุปกรณ์สัมผัสกับความร้อนและชื้นเป็นระยะเวลานาน ก็สามารถทำให้คุณสมบัติของกาวเสื่อมสภาพลงได้ ควรหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ชุดเซ็ตยาของคุณ และควรโทรแจ้งทันที เมื่อพบว่ามีการชำรุดก่อนอายุการใช้งาน 3 วัน


 

คำถาม : จำเป็นต้องติดพลาสเตอร์ใสทับบนอุปกรณ์เพื่อป้องกันการใช้งานหรือไม่?


ตอบ: ไม่แนะนำให้ทำแบบนั้น ซึ่งมันอาจจะก่อให้เกิดความชื้นมากขึ้น และทำให้กาวของชุดเซ็ตยาเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น


 

คำถาม : ผมเป็นคนมีเหงื่อเยอะมากและได้รับการแนะนำมาว่าให้ติดพลาสเตอร์ใสก่อนติดชุดเซ็ตยาซึ่งมันจะดีหรือไม่?


ตอบ: การทำแบบนี้คือ “Open – Faced Sandwich” ซึ่งเป็นการออกแบบมาเพื่อแยกเหงื่อบนผิวของคุณให้ออกจากกาวของชุดเซ็ตยา ตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่าคุณได้ตัดพลาสเตอร์ใสเพียงแค่เล็กน้อยสำหรับเปิดออกเพื่อที่จะติดตั้งอุปกรณ์อย่างถูกต้อง


 

คำถาม : ถ้าผิวของเราเกิดผื่นแดงและคันบริเวณโดยรอบชุดเซ็ตยาที่ติดอยู่นั่นคืออาการแพ้ยาใช่หรือไม่?

ตอบ: ผิวของคุณอาจจะไวต่อสารปนเปื้อนอื่น ๆ ที่ติดมากับกาว ให้ทำความสะอาดโดยการใช้ Preps หรือแอลกอฮอล์ก่อนการเป็นเซ็ตในแต่ละครั้ง แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น ให้ลองติด IV3000 ชิ้นเล็ก ๆ หรือติดเทปกาวที่ปลอดสารก่อภูมิแพ้กับชุดเซ็ต กรุณาแจ้งผู้ชำนาญการที่ดูแลคุณโดยด่วน เป็นมืออาชีพด้านการดูแลสุขภาพของคุณทันทีถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น


 

คำถาม : บางครั้งเมื่อดึงชุดยาออก ท่อนำส่งอินซูลินหรือ Cannula จะงอจะเป็นอะไรหรือไม่?

ตอบ: ท่อนำส่งอินซูลินได้ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งาน โดยจะแจ้งเตือนผู้ใช้งาน ถ้าหากท่อนำส่งอินซูลินเกิดปัญหา เช่น อุดตันหรือพับงอ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลต่อการลำเลียงอินซูลิน และบ่อยครั้งที่ทำให้ผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ใช้งานผิดปกติได้



คำถาม :
ท่อนำส่งอินซูลินจะงอทุกครั้งเมื่อดึงชุดยาออก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

ตอบ: สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดชุดยาตรงจุดที่ไม่เหมาะสม ดูการสาธิตวิธีการติดจากวิดีโอแนะนำบนเว็บไซต์ของเราได้ เพื่อให้แน่ใจว่าขั้นตอนทั้งหมดถูกต้อง ถ้าคุณค่อนข้างผอม หรือฉีดยาทุกวันเป็นเวลาหลายปีให้พยายามที่จุดใหม่และพอมีไขมันอยู่บ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็นเนื่องจากการติดชุดเซ็ตยา


 

คำถาม : Quickset ของฉันจะปรากฏ Quickserter ออกมาเสมอก่อนที่จะกดปุ่มปล่อยอินซูลิน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

ตอบ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ขยับก้านสูบของ Quickserter กับพื้นผิวใด ๆ เช่น ฝ่ามือหรือโต๊ะ เป็นต้น ถ้าหากยังเหมือนเดิมแสดงว่า Quickserter ของคุณอาจจะมีการชำรุด ให้ติดต่อผู้แทนที่ดูแลคุณโดยด่วน


 

คำถาม : อินซูลินปั๊มแสดงรหัสข้อผิดพลาดควรทำอย่างไร?

 

ตอบ: ติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ทันที เปิดตลอด 24 ชั่วโมง


 

คำถาม : เมื่อปุ่มกดอินซูลินปั๊มไม่ตอบสนองควรทำอย่างไร?

ตอบ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอินซูลินปั๊มของคุณไม่ได้ล็อคปุ่มกดไว้ ดูวิดีโอสาธิตวิธีการปลดล็อคอินซูลินปั๊ม ถ้ายังเหมือนเดิมติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ทันที


 

คำถาม: สามารถท่องเที่ยวโดยติดเครื่องอินซูลินปั๊มได้หรือไม่?

ตอบ: สามารถเดินทางได้ อินซูลินปั๊มทุกตัวให้มาพร้อมสำหรับเดินทาง เพียงแค่ติดต่อขอใบรับรองแพทย์จากแพทย์ผู้ดูแลคุณเพื่อใช้ในการเดินทาง


 

คำถาม : จะเริ่มต้นการรักษาด้วยอินซูลินปั๊มอย่างไร?


ตอบ: ก่อนอื่นคุณจะต้องได้รับการวินิฉัยจากแพทย์ผู้ชำนาญการด้านต่อมไร้ท่อเสียก่อน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อกรุงเทพ ชั้น 2 อาคาร โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร: 0 2- 7551129, 0 2-7551130 โทรสาร: 02-7551697 หรือ E – mail[email protected]

 

Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ

ชั้น 2 อาคาร โรงพยาบาลกรุงเทพ

จันทร์ – ศุกร์ 7.00 - 16.00 น.

เสาร์ – อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 7.00 – 16.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด