วัคซีนไข้หวัดใหญ่ Flu High-Dose เพิ่มซูเปอร์ภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงวัย

3 นาทีในการอ่าน
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ Flu High-Dose เพิ่มซูเปอร์ภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงวัย

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ยิ่งในผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างหัวใจ เบาหวาน ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด ไตเรื้อรัง หลอดเลือดสมอง มีความเสี่ยงที่เวลาอาการรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาลแล้วอาจจะเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงมีความจำเป็นต่อความเสี่ยงดังกล่าวโดยเฉพาะผู้สูงวัยอย่างมาก จึงได้มีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงวัยลดกับความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ได้

 

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ส่งผลเสียต่อผู้สูงวัยมากกว่าที่คิด

เมื่อผู้สูงอายุติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ร่างกายจะได้รับผลกระทบตามมาไม่ว่าจะเป็น

  • สูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเองหลังเจ็บป่วยจากไข้หวัดใหญ่ 23%
  • เพิ่มความเสี่ยงเส้นเลือดสมองตีบมากกว่าคนทั่วไป 8 เท่า
  • เพิ่มความเสี่ยงเส้นเลือดตีบที่หัวใจมากกว่าคนทั่วไป 10 เท่า
  • หากป่วยเป็นโรคเบาหวานจะมีปัญหาระดับน้ำตาลถึง 75%
  • 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมตามปกติภายใน 1 ปี

อาการไข้หวัดใหญ่

  • ไข้ 
  • ไอ
  • เจ็บคอ
  • น้ำมูกไหล
  • ปวดเมื่อยตามตัว 
  • ปวดศีรษะ

หากอาการไม่รุนแรงอาการจะหายได้เองภายใน 3 – 5 วัน  แต่ในผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัวมีความเสี่ยงที่อาการจะรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล 


วัคซีนไข้หวัดใหญ่เพิ่มซูเปอร์ภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงวัย

ไข้หวัดใหญ่เพิ่มความเสี่ยงในผู้สูงวัย

ผลกระทบต่อร่างกายเมื่อผู้สูงอายุเป็นไข้หวัดใหญ่มีมากมาย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหนักและเสียชีวิต ได้แก่

  • ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence) ซึ่งผู้สูงวัยมีโอกาสที่จะเกิดภาวะนี้สูง ดังนั้นเมื่อร่างกายติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ร่างกายจะตกอยู่ในภาวะเสื่อมถอย สูญเสียความสมดุล เกิดการอักเสบรุนแรง หากไม่สามารถยับยั้งจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
  • โรคประจำตัวที่รักษาไม่หายขาด (Underlying Disease) เมื่อผู้ป่วยสูงอายุเจ็บป่วย ร่างกายจะอ่อนแอและการปรับตัวใช้เวลามากกว่าคนหนุ่มสาว มีความเสี่ยงเกิดภาวะอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ง่ายขึ้น
  • ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอในผู้สูงอายุ (Frailty) ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะของร่างกายที่อยู่ระหว่างความสามารถในการทำงานได้และภาวะไร้ความสามารถ รวมถึงอยู่ระหว่างคนสุขภาพดีและคนที่ป่วยเป็นโรค พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

ป้องกันไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงวัย

สำหรับผู้สูงอายุการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพราะเชื้อโรคในแต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลงและกลายพันธุ์ การฉีดภูมิต้านทานเชื้อโรคของวัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงมีการปรับให้เหมาะสม ในแต่ละปีที่คาดว่าจะมีการระบาดใหญ่ขึ้น สำหรับประเทศไทยแนะนำให้ฉีดช่วงก่อนฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม และช่วงก่อนฤดูหนาวในเดือนตุลาคม เพราะเป็นช่วงที่มีการระบาด เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และลดอัตราการนอนในโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อน


ทำไมต้องเป็นวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

มีข้อมูลการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัยและวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์สำหรับบุคคลทั่วไปในอเมริกาและแคนาดาพบว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าถึง 24.2% ลดอัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลจากโรคต่าง ๆ อย่างโรคปอดอักเสบลดลง 27.3% โรคระบบหัวใจและทางเดินหายใจลดลง 17.9% โรคไข้หวัดใหญ่ลดลง 11.7% และแนวโน้มการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยรวมลดลง 8.4% ซึ่งเป็นวัคซีนที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยไม่ต่างกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั่วไป


Reference:
  • Baggett HC. et al. PLoS One. 2012;7(11):e48609
  • Warren-Gash C, et al. Eur respir J. 2018 
  • Andrew MK, et al. J Am Geriatr Soc. 2021. 
  • Samson SI, et al. J Diabetes Sci Technol. 2019  
  • CDC. https://www.cdc.gov/flu/about/disease/65over.htm Accessed May 31, 2018  
  • Gavazzi G. et al. The Lancet Infectious Diseases; 2002: 2(11), 659-666
  • Quadrivalent Influenza Vaccine (Split Virion, Inactivated), 60 mcg HA/strain SMPC. 2. DiazGranados CA, et al. N Engl J Med. 2014;371:635-645.
  • Lee J, et al. Vaccine. 2021
  • Oh SJ, Lee JK, Shin OS. Aging and the Immune System: the Impact of Immunosenescence on Viral Infection, Immunity and Vaccine Immunogenicity. Immune Netw. 2019 Nov 14;19(6):e37. doi: 10.4110/in.2019.19.e37. PMID: 31921467; PMCID: PMC694317
  • อมรรัตน์ จำเนียรทรง, ประเสริฐ สํายเชื้อ, การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุ, Thammasat Medical Journal, Vol. 16 No. 2, April-June 2016 หน้า 285-296
  • https://www.ecdc.europa.eu/en/seasonal-influenza/facts/factsheet
  • https://www.nfid.org/wp-content/uploads/2019/08/65-flu-fact-sheet.pdf
  • http://sciencedaily.com/releases/2021/10/211015184212.htm

ข้อมูลโดย

Doctor Image
นพ. ไพฑูรย์ บุญมา

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
นพ. ไพฑูรย์ บุญมา

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 1 อาคารโรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00 - 20.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด