HMPV ไวรัสร้ายติดต่อง่ายเสี่ยงปอดอักเสบ

3 นาทีในการอ่าน
HMPV ไวรัสร้ายติดต่อง่ายเสี่ยงปอดอักเสบ

HMPV โรคติดเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัสเป็นโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัยจึงควรต้องรู้เท่าทัน เพราะสามารถระบาดได้ทุกเวลา พบมากในช่วงอากาศเย็นและอาจรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบหรือปอดบวมได้ ซึ่งอาการของโรคคล้ายกับไข้หวัดใหญ่และ RSV แต่รุนแรงน้อยกว่า และไม่มีวัคซีนป้องกัน จึงควรพบแพทย์โดยเร็วเพื่อดูแลรักษาอย่างถูกต้อง 

HMPV คืออะไร

HMPV คือ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (Human Metapneumovirus) เป็นไวรัสในตระกูล Pneumoviridae ซึ่งรวมถึงเชื้อ RSV (Respiratory Syncytial Virus) ที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่างได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อ HMPV ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2001 และปัจจุบันตรวจพบได้มากขึ้นจากการตรวจวินิจฉัยทางโมเลกุล

HMPV อาการเป็นอย่างไร

อาการของ HMPV จะคล้ายคลึงกับโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ โดยระยะฟักตัวของเชื้ออยู่ที่ประมาณ 3 – 6 วัน และระยะเวลาการเจ็บป่วยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ได้แก่

  • ไอ
  • ไข้
  • คัดจมูก
  • หายใจลำบาก
  • หากรุนแรงอาจลุกลามไปสู่โรคหลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบได้ 

HMPV ไวรัสร้ายติดต่อง่ายเสี่ยงปอดอักเสบ

HMPV แพร่กระจายอย่างไร

HMPV มักแพร่กระจายช่วงเดียวกับเชื้อ RSV และไข้หวัดใหญ่ โดยแพร่กระจายผ่านทาง

  • ละอองฝอยจากการไอหรือจาม
  • การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การจับมือ เป็นต้น
  • การสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วนำมือไปสัมผัสตา จมูก หรือปาก

กลุ่มเสี่ยง HMPV คือใคร

  • ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือเบาหวาน ฯลฯ
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือ HIV ฯลฯ

HMPV ไวรัสร้ายติดต่อง่ายเสี่ยงปอดอักเสบ

ตรวจวินิจฉัย HMPV ได้อย่างไร

การตรวจวินิจฉัย HMPV สามารถตรวจได้ในช่วงฤดูที่มีการระบาดของ HMPV ได้แก่

  • การตรวจหาสารพันธุกรรมไวรัส (NAAT) – PCR 
  • การตรวจหาโปรตีนของไวรัสจากสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ (Swab Test for Antigen) 

รักษา HMPV ได้อย่างไร

ปัจจุบันไม่มียาต้านไวรัสหรือวัคซีนที่เฉพาะสำหรับ HMPV การรักษาจึงเน้นบรรเทาอาการ เช่น

  • การให้ยาลดไข้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ 
  • ดูแลระบบทางเดินหายใจ เช่น การให้ออกซิเจนในกรณีรุนแรง เป็นต้น

HMPV ไวรัสร้ายติดต่อง่ายเสี่ยงปอดอักเสบ

ผู้ป่วย HMPV ดูแลตนเองอย่างไร

  • ปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม
  • ไม่ใช้แก้วหรือช้อนส้อมร่วมกับผู้อื่น
  • ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีโอกาสปนเปื้อน เช่น ลูกบิดประตู เป็นต้น

ป้องกัน HMPV ได้อย่างไร

แม้จะไม่มีวัคซีนเฉพาะสำหรับ HMPV แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ดังนี้

  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดอย่างน้อย 20 วินาที
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าโดยไม่ล้างมือ
  • เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย HMPV

HMPV ไวรัสร้ายติดต่อง่ายเสี่ยงปอดอักเสบ

เชื้อ HMPV ทำให้เป็นปอดอักเสบได้อย่างไร

หากร่างกายได้รับเชื้อไวรัส HMPV ผ่านทางระบบทางหายใจ เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนในเซลล์ทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดการอักเสบทำลายเนื้อเยื่อ เกิดอาการผิดปกติและรุนแรงจนปอดอักเสบได้

วัคซีนป้องกันเชื้อ HMPV มีหรือไม่

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส HMPV เพราะฉะนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือ สวมหน้ากากอนามัย ไม่ใกล้ชิดผู้ป่วย ห้ามใช้มือแคะจมูกหรือนำมือเข้าปาก ล้างมือให้บ่อยเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อไวรัส

HMPV ต่างจากโรคระบบทางเดินหายใจอื่นอย่างไร

โรคติดเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (HMPV) ต่างจากไข้หวัดใหญ่ (Influenza), RSV, โควิด (COVID-19) และไข้หวัดทั่วไป (Common Cold) ดังนี้

โรคระบบทางเดินหายใจ

HMPV
(Human Metapneumovirus)

ไข้หวัดใหญ่
(Influenza)

RSV
(Respiratory Syncytial Virus)

โควิด-19
(COVID-19)

ไข้หวัดทั่วไป
(Common Cold)

การติดเชื้อ

เชื้อไวรัสจากตระกูล Paramyxoviridae คล้าย RSV

เชื้อไวรัส Influenza A/B

เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง

เชื้อไวรัส SARS-CoV-2

เชื้อไวรัสหลายชนิด เช่น Rhinovirus

กลุ่มเสี่ยง

พบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ทุกเพศทุกวัย

อันตรายต่อเด็กเล็กและผู้สูงอายุ

ทุกเพศทุกวัย

ทุกเพศทุกวัย

อาการ

ไข้ ไอ หายใจลำบาก คล้าย RSV แต่รุนแรงน้อยกว่า

ไข้สูง ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ไอ
เจ็บคอ

ไอ หายใจลำบาก หลอดลมอักเสบ

ไข้ ไอ เจ็บคอ สูญเสียการรับรส การได้กลิ่น
มีอาการระบบอื่น เช่น ปวดกล้ามเนื้อ

น้ำมูกไหล จาม ไอ เจ็บคอ
อาการเบากว่าโรคระบบทางเดินหายใจอื่น

การแพร่ระบาด

ระบาดตามฤดูกาล

ระบาดตามฤดูกาล 

ระบาดตามฤดูกาล

แพร่เร็วและมีผลต่อระบบอวัยวะอื่น

สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ

วัคซีนป้องกัน

ไม่มีวัคซีนป้องกัน

มีวัคซีนป้องกัน

มีวัคซีนป้องกัน

มีวัคซีนป้องกัน

ไม่มีวัคซีนป้องกัน หายได้เอง

เพราะ HMPV เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่ไม่มีวิธีรักษาเฉพาะจึงควรป้องกันด้วยการล้างมือ สวมหน้ากาก และรักษาความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงจาก HMPV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรงพยาบาลที่พร้อมดูแลรักษา HMPV

คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมดูแลรักษา HMPV โรคติดเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัสด้วยแพทย์เฉพาะทางพร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงในทุกวัน

แพทย์ที่ชำนาญด้านการรักษา HMPV

นพ.ชยพล ชีถนอม อายุรแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ

สามารถคลิกที่นี่เพื่อทำนัดหมายได้ด้วยตนเอง

ข้อมูลโดย

Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 1 อาคารโรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00 - 20.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด