ยาฉีดควบคุมน้ำหนักและอินซูลิน ตัวช่วยลดโรคอ้วนและเบาหวาน

3 นาทีในการอ่าน
ยาฉีดควบคุมน้ำหนักและอินซูลิน ตัวช่วยลดโรคอ้วนและเบาหวาน

ภาวะอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง มีการวิจัยพบว่าภาวะอ้วนลงพุงสัมพันธ์กับภาวะต้านอินซูลิน ภาวะเบาหวาน โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ยาฉีดควบคุมน้ำหนักและคุมน้ำตาลจึงเป็นอีกตัวช่วยในการรักษาอย่างเห็นผลเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมและลดน้ำหนักได้เองตามธรรมชาติ


โรคอ้วนและโรคเบาหวาน

ความชุกของภาวะอ้วนในประชากรไทยที่มีอายุ 37 ขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 15.5 โดยผู้ชายร้อยละ 32.4 และผู้หญิงร้อยละ 9.8 ซึ่งผู้ชายในกรุงเทพฯ มีสัดส่วนสูงที่สุด ในขณะที่ผู้หญิงมีสัดส่วนไม่ต่างกันมาก มีการประมาณกันว่า 24% – 52% ของผู้ที่มีภาวะอ้วนจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมด้วย

ในส่วนของโรคเบาหวาน ปัจจุบันประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ป่วยด้วยโรคนี้ถึง 5 ล้านคน โดยผู้ป่วยหลายรายมีภาวะแทรกซ้อนในเวลาต่อมา ซึ่งวิถีชีวิตแบบในเมืองปัจจุบันส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น เช่น โรคเบาหวาน มีการคาดการณ์ว่าความชุกของโรคเบาหวานจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 9 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2583


ยาฉีดคุมน้ำหนักและลดน้ำตาล

ปัจจุบันการใช้ยาฉีดเพื่อควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคอ้วนและควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีและสะดวกต่อการลดนํ้าหนัก โดยแพทย์จะทำการฉีดยาใต้บริเวณต่าง ๆ ของผิวหนังตามความเหมาะสม ได้แก่ ต้นขา หน้าท้อง ต้นแขน ร่วมกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ข้อดีของการใช้ยาฉีดเพื่อควบคุมน้ำหนักและควบคุมน้ำตาล ได้แก่

  • ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ควบคุมความอยากอาหาร
  • รู้สึกอิ่ม หิวน้อยลง
  • น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • ผลข้างเคียงน้อย

ยาฉีดควบคุมน้ำหนักและอินซูลิน ตัวช่วยลดโรคอ้วนและเบาหวาน
ดูแลรักษาแบบองค์รวม

การดูแลรักษาโรคเบาหวานและโรคอ้วนแบบองค์รวม (Multidisciplinary Team) และตามลักษณะเฉพาะบุคคล (Personalized Care) เป็นการบูรณาการรักษาแนวใหม่ โดยนำข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน มาวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการตัดสินใจ แนะนำการรักษา ทำนายอนาคตการเกิดและการดำเนินของโรค ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของผู้ชำนาญการในทุกสหสาขาวิชาชีพ (Center of Excellent) พร้อมให้การดูแลรักษาโรคที่ได้มาตรฐานในระดับสากล (JCI) ดูแลรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย

  • การให้ความรู้ เพื่อระวัง ป้องกัน ดูแลตัวเองที่บ้าน (Self – Management)
  • จัดกลุ่มผู้ป่วยอบรมนอกสถานที่กับกลุ่มผู้ที่มีความชำนาญในทุกสหสาขาวิชาชีพ (Seminar and Camp)
  • นักโภชนาการ นักกำหนดอาหาร ร่วมดูแลและให้คำปรึกษาการทานอาหารตามลักษณะเฉพาะบุคคล
  • แพทย์สหสาขาวิชาชีพดูแลแบบครบวงจร (One Stop Services) เกี่ยวกับโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานและโรคอ้วน
  • ยารักษาโรคที่ทันสมัยมีให้เลือกทุกชนิดทุกแบบ ทั้งชนิดรับประทาน ทางผิวหนัง และฉีด อินซูลินแบบ Insulin Pump ซึ่งปัจจุบันมียาฉีดเข้าใต้ผิวหนังที่ช่วยลดน้ำหนักและน้ำตาลได้พร้อมกัน ยังมีประโยชน์ต่อการลดโรคหัวใจ สะดวกในการบริหารยาทำให้ผู้ป่วยได้รับยาต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  • การดูแลต่อที่บ้านโดยส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์ เช่น เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว (Self – Monitoring Blood Sugar (SMBG)), Continuous Glucose Monitoring System (CGMS) แบบ Internet of Medical Things (IOMTs) เช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องชั่งน้ำหนัก เป็นต้น
  • การเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สุขภาพ ประวัติการรักษาของผู้ป่วย (Electronic Medical Records) เพื่อใช้ในการรักษาและส่งต่ออย่างราบรื่นและทันเวลา
  • ระบบการดูแลผู้ป่วยกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ผ่านออนไลน์นอกโรงพยาบาล (Telemedicine) เพื่อความต่อเนื่องในการรักษา เพิ่มความสะดวกในการนัดหมาย ดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น ติดตามผลเลือด ส่งยาถึงบ้านได้ทุกวัน ลดการเดินทางโดยไม่จำเป็น และลดความแออัดของสถานที่


อย่างไรก็ตามวิธีการลดน้ำหนักที่ยั่งยืนที่สุดคือการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควบคุมปริมาณที่เหมาะสม และออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ การใช้ยาฉีดเพื่อควบคุมน้ำหนักและควบคุมน้ำตาลเป็นเพียงอีกตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยในการลดน้ำหนัก ป้องกันโรค และลดความรุนแรงของโรค ซึ่งประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักและน้ำตาลนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะและความตั้งใจแต่ละบุคคล


 

ข้อมูลโดย

Doctor Image
นพ. สิทธิผล ชินพงศ์

อายุรศาสตร์

นพ. สิทธิผล ชินพงศ์

อายุรศาสตร์

Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ

ชั้น 2 อาคาร โรงพยาบาลกรุงเทพ

จันทร์ – ศุกร์ 7.00 - 16.00 น.

เสาร์ – อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 7.00 – 16.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด