NON - INVASIVE PRENATAL TESTING (NIPT) ตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์

2 นาทีในการอ่าน
NON - INVASIVE PRENATAL TESTING (NIPT) ตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์

เพิ่มความมั่นใจให้สุขภาพลูกน้อยในครรภ์ ด้วยการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรม (NIPT)


ทำความรู้จัก
NON – INVASIVE PRENATAL TESTING (NIPT)

Non – Invasive Prenatal Testing (NIPT) คือ การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซม (โดยเฉพาะโครโมโซมคู่ 21 ดาวน์ซินโดรม) คู่ 13, คู่ 18 รวมทั้งโครโมโซมเพศของทารกในครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 11 สัปดาห์เป็นต้นไป 

Non – Invasive Prenatal Test (NIPT) คือ การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมเพื่อดูว่าทารกในครรภ์มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดต่อโรคดาวน์ซินโดรมและโรคอื่น ๆ เช่น Trisomy คู่ที่ 13, 18 รวมทั้ง Sex Chromosome Abnormalities ฯลฯ 

  • ความจำเป็นของ NON – INVASIVE PRENATAL TEST (NIPT)
    Non – Invasive Prenatal Test (NIPT) มีความจำเป็นในกรณีที่คู่สามีภรรยาต้องการทราบความเสี่ยงของโครโมโซมทารกในครรภ์ โดยเฉพาะดาวน์ซินโดรม ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยมากที่สุดของความผิดปกติของโครโมโซม (Most Common Autosomal Trisomy)
  • ประโยชน์ของ NON – INVASIVE PRENATAL TEST (NIPT)
    ลดการเจาะน้ำคร่ำโดยไม่จำเป็น ในสมัยก่อนแพทย์จะแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโครโมโซมในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 35 ปี เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อดาวน์ซินโดรม (> 1:250) โดยความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุ การตรวจ NIPT มีความแม่นยำสูง ถ้าผลการตรวจพบว่ามีความเสี่ยงต่ำก็ไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำ
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่สามารถตรวจ NIPT
    ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13, 18, 21 และโครโมโซมเพศ 

Trisomy

อัตราการตรวจพบ

ผลบวกลวง

(ผลตรวจมีความเสี่ยงสูง 

แต่ทารกในครรภ์ปกติ)

Trisomy 21

Detection Rate 99.5%

False PR 0.05%

Trisomy 18

Detection Rate 97.7%

False PR 0.04%

Trisomy 13

Detection Rate 96.1%

False PR 0.06%

Sex Chromosome

Detection Rate 90.3%

False PR 0.23%

***ทุกคนควรได้รับคำแนะนำและการตัดสินใจตรวจขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและคำแนะนำแพทย์


ใครที่สามารถเข้ารับการตรวจ NIPT

คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป


ผลการตรวจและการแปลผล NIPT

  • ผลการตรวจ NIPT รอนานแค่ไหน
    ทราบผลการตรวจได้ภายใน 5 – 7 วัน
  • การปฏิบัติตัวเมื่อผลการตรวจ NIPT พบความผิดปกติ
    หากผลการตรวจ NIPT พบความผิดปกติของทารกในครรภ์ สูตินรีแพทย์จะทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ NIPT

  • การตรวจ NIPT มีความเสี่ยงกับคุณแม่ตั้งครรภ์หรือไม่
    เนื่องจากเป็นการตรวจจากเลือดคุณแม่ การตรวจ NIPT จึงไม่มีความเสี่ยงต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์

ทำไมต้องตรวจ NIPT ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ

ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมให้บริการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์โดยสูตินรีแพทย์และทีมสหสาขาที่มีความชำนาญเพื่อให้ทราบความเสี่ยงของทารกในการเป็นโรคดาวน์ซินโดรมและความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงลดความเสี่ยงจากการแท้งบุตร ช่วยให้ทารกในครรภ์คลอดออกมาอย่างราบรื่น 

Precision Medicine

วางแผนสุขภาพค้นหาความเสี่ยงทารกขณะตั้งครรภ์”

ข้อมูลโดย

Doctor Image
นพ. ร่มไทร เลิศเพียรพิทยกุล

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
นพ. ร่มไทร เลิศเพียรพิทยกุล

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์สุขภาพสตรี

ชั้น 2 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 - 20.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด