โรคกระดูกพรุนอย่าคิดว่าไกลตัว

3 นาทีในการอ่าน
โรคกระดูกพรุนอย่าคิดว่าไกลตัว

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ทำให้กระดูกเปราะและหักง่ายโดยที่อาจเกิดกระดูกหักเองหรือเกิดแรงกระทำที่ไม่รุนแรงเช่น หกล้มขณะยืนหรือเดิน

 

สาเหตุโรคกระดูกพรุน

  • พันธุกรรมหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติที่อายุมากขึ้น กระดูกจะบางลงจากฮอร์โมนเพศที่น้อยลง เช่น กระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
  • เกิดจากโรคหรือยาบางอย่าง เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง โรคฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคมะเร็งเต้านมบางชนิด (Aromatase Inhibitor) และอื่น

กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุน

  • ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไปและผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่มีภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ เช่น ผู้หญิงหมดประจำเดือนก่อนอายุุ 45 ปี ผู้ที่ถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางอายุรกรรม คนที่ออกกำลังกายอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน หรือได้ยา Aromatase Inhibitor
  • ผู้ชายที่มีโรคหรือได้ยาที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายต่ำ เช่น จากการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก โรคพันธุกรรมที่มีฮอร์โมนเพศชายต่ำ เช่น Klinefelter’s Syndrome
  • ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ขนาดเทียบเท่าหรือมากกว่า Prednisolone 5ิลลิกรัม/วัน ต่อเนื่องตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
  • มีบิดาหรือมารดากระดูกสะโพกหักจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง
  • น้ำหนักตัวน้อยมาก คือ ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20ิโลกรัม/ตารางเมตร
  • ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ดื่มสุรามาก สูบบุหรี่ กินแคลเซียมไม่เพียงพอ วิตามินดีในเลือดต่ำ ไม่ออกกำลังกาย

อาการโรคกระดูกพรุน

ส่วนใหญ่ในระยะแรกจะไม่มีอาการ แต่จะแสดงอาการเมื่อมีกระดูกหักแล้ว เช่น ถ้ากระดูกสันหลังหักจะมีอาการปวดหลัง ตัวเตี้ยลง หลังค่อม ถ้ากระดูกสะโพกหักมักจะเกิดจากการหกล้มในท่ายืนหรือเดินจะมีอาการปวดสะโพกมากและกระดูกผิดรูป เดินไม่ไหว ทำให้ต้องนอนติดเตียงถ้าไม่ได้รับการผ่าตัด


ตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน

โดยใช้สูตรคำนวณ Osteoporosis Self Assessment Tool for Asians (OSTA) Score หรือ Khon Kaen Osteoporosis Study (KKOS) Score โดย 2 สูตรนี้จะใช้อายุและน้ำหนักเป็นตัวคำนว ถ้าได้ค่าน้อยกว่า -1 แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงที่เกิดโรคกระดูกพรุน แนะนำให้ตรวจความหนาแน่นกระดูกต่อไป

โรคกระดูกพรุนอย่าคิดว่าไกลตัว


วินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนทำได้โดยตรวจความหนาแน่นกระดูก (Bone Mineral Density, BMD) ด้วยเครื่อง Dual Energy X-Ray Absorptiometry (DXA, เครื่องเด๊กซ่า) นิยมตรวจที่กระดูกสันหลังและกระดูกสะโพกเป็นหลัก ถ้าตรวจตำแหน่งนี้ไม่ได้อาจตรวจที่กระดูกข้อมือ (Distal Radius) แทน โดยจะรายงานผลเป็นค่า  T Score ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบความหนาแน่นกระดูกที่วัดได้กับค่าเฉลี่ยความหนาแน่นสูงสุดของผู้ใหญ่เพศเดียวกัน ถ้าได้ค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง –2.5 ถือว่ากระดูกบาง (Osteopenia) ถ้าได้ค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ –2.5 ถือว่าเป็นกระดูกพรุน (Osteoporosis)

โรคกระดูกพรุนอย่าคิดว่าไกลตัว


รักษาโรคกระดูกพรุน

  1. ก่อนให้รักษาโรคกระดูกพรุนต้องตรวจหาสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดกระดูกพรุนก่อน เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง โรคฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง หรือยาที่ทำให้กระดูกพรุน ถ้าพบว่าเป็นโรคอื่นก็รักษาสาเหตุของโรคนั้น หรือหยุดยาที่เป็นสาเหตุ
  2. กินแคลเซียมให้เพียงพอ 1,000 – 1,200 มิลลิกรัม/วัน โดยกินจากอาหารธรรมชาติเป็นหลัก เช่น นมและผลิตภัณฑ์ของนม เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย ผักใบเขียว งา ถ้ากินจากอาหารไม่เพียงพออาจใช้ยาเม็ดแคลเซียมเสริม เช่น ยา Calcium Carbonate ซึ่งต้องกินพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีเพื่อให้ดูดซึมได้ดี
  3. ได้รับวิตามินดีให้เพียงพอจากอาหารหรือจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังโดยแสงแดด โดยปริมาณวิตามินดีที่ต้องการคือ 600 – 800 ยูนิตต่อวัน โดยจะอยู่ในอาหารพวกน้ำมันตับปลา ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาทูน่า เห็ด ถ้าได้ไม่เพียงพออาจกินยาวิตามินดีเสริม เช่น Ergocalciferol (Vitamin D2) หรือ Cholecalciferol (Vitamin D3) เป้าหมายให้ระดับวิตามินดีในเลือด 25 Hydroxy vitamin D มากกกว่า 30 นาโนกรัม/มิลลิลิตร
  4. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ควรทำทั้งการออกกำลังแบบมีการลงน้ำหนัก(Weight Bearing Aerobic Exercise) เช่น วิ่ง เดินเร็ว เต้นรำ และออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening Exercise) รวมทั้งการฝึกการทรงตัว (Balance Exercise) ทั้งหมดจะช่วยลดความเสี่ยงกระดูกหักได้
  5. งดสูบบุหรี่และไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 3 ยูนิต/วัน
  6. ป้องกันการล้ม เช่น จัดบ้านให้เป็นระเบียบ ทำราวเกาะห้องน้ำ ระวังพื้นบ้านลื่น หลีกเลี่ยงกินยาที่ทำให้ง่วง เพราะอาจทำให้ล้มได้ หรืออาจใช้ไม้เท้าค้ำยันในผู้ที่ทรงตัวไม่ดี
  7. แพทย์จะประเมินว่าวรใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุนหรือไม่ โดยยามีทั้งแบบกินสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งต้องกินตอนท้องว่าง ดื่มน้ำตามอย่างน้อย 1 แก้ว และไม่กินยาหรืออาหารอื่นภายใน 1ั่วโมง และยาฉีดซึ่งมีแบบฉีดเข้าเส้นเลือดปีละ 1ครั้ง หรือฉีดใต้ผิวหนังทุก 6 เดือน หรือฉีดใต้ผิวหนังทุกวันหรือทุก 1 เดือน ซึ่งแพทย์จะบอกข้อบ่งชี้ ข้อดี ข้อเสียของยาแต่ละชนิดให้ผู้ป่วยรับทราบ
  8. ข้อบ่งชี้ในการใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุน คือ มีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนแล้ว หรือตรวจพบกระดูกพรุนจากเครื่องวัดความหนาแน่นกระดูก หรือตรวจพบกระดูกบางร่วมกัคำนวณ FRAX Score แล้วพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสะโพกหักตั้งแต่ร้อยละ 3 ขึ้นไป
  9. การติดตามการรักษา โดยส่วนใหญ่จะใช้การตรวจความหนาแน่นของกระดูกหลังการรักษาทุก 1 2 ปี และในบางรายตรวจเลือดดูค่าความหมุนเวียนกระดูกหลังการรักษาที่ 3 6 เดือน

ข้อมูลโดย

Doctor Image
นพ. ปราโมทย์ พัชรมณีปกรณ์

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
นพ. ปราโมทย์ พัชรมณีปกรณ์

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ

ชั้น 2 อาคาร โรงพยาบาลกรุงเทพ

จันทร์ – ศุกร์ 7.00 - 16.00 น.

เสาร์ – อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 7.00 – 16.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด