การรักษาโรคเบาหวานให้ได้ผลดีที่สุดจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์หลากหลายสาขาวิชา รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ในการดูแลตนเอง การก่อตั้งศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลกรุงเทพจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความชำนาญและมีมาตรฐานในการดูแลและสอนผู้ป่วยเบาหวาน รวมทั้งการจัดหาบุคลากรเพื่อนำไปใช้ประกอบการสอน และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีโอกาสศึกษาด้วยตนเอง และให้บริการรักษาโรคทางต่อมไร้ท่ออื่น ๆ เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ โรคของต่อมหมวกไต โรคของต่อมใต้สมอง โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคอ้วน โรคเกี่ยวกับความสูง ความผิดปกติของแคลเซียมและโรคกระดูกพรุน
บริการของศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ
- ศูนย์รวมกลุ่มแพทย์ผู้ชำนาญด้านเบาหวานและเมตาบอลิสม อายุรแพทย์ รวมถึงพยาบาล ผู้ชำนาญเรื่องเบาหวาน นักโภชนาการ นักกิจกรรมเภสัชกร และเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องเท้า
- พรั่งพร้อมไปด้วยเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ที่ทันสมัย (Quick Lab) ลดระยะเวลาในการรอผลการตรวจวิเคราะห์ในการตรวจเลือด ดังนี้ :FBS, Cholesterol, Triglyceride ,HDL , LDL , BUN, CRE, Uric Acidและมีการตรวจ POCT HGT ,POCT HbA1c โดยใช้ระยะเวลา 7 นาทีในการตรวจ
- การตรวจหาการแข็งตัวของหลอดเลือดของหัวใจ หรือหลอดเลือดทั้งร่างกายเบื้องต้นด้วยเครื่องมือพิเศษ ABI ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- การตรวจวินิจฉัย และให้การป้องกันรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคเบาหวานได้ทันท่วงที อาทิเช่น การตรวจดูไข่ขาวในปัสสาวะโดยละเอียด Micro albumin urine , การตรวจจอประสาทตา, การตรวจดูน้ำตาลในเม็ดเลือดแดง (HbA1c) , การส่งต่อผู้ป่วยไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางหัวใจ, ไต, ตา, ผ่าตัด และตรวจเท้า
- การดูแลญาติใกล้ชิดของผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่มีความเสี่ยง ให้ได้รับการแนะนำการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานจากภาวะก่อนเป็นเบาหวาน(Pre-Diabetes) โปรแกรมตรวจเช็คว่าเป็นเบาหวาน หรือเบาหวานแอบแฝงหรือไม่ โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารและหลังรับประทานกลูโคส OGTT
ดูแลเรื่องการลดน้ำหนักด้วยทีมที่ชำนาญ
การลดน้ำหนักเพียงลำพังอาจไม่สำเร็จ ผู้ที่มีความชำนาญที่ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมดูแลคุณ
- แพทย์ผู้ชำนาญ (Endocrinologist) ช่วยหาสาเหตุของภาวะอ้วนที่อาจแฝงอยู่ เช่น โรคไทรอยด์ต่ำ โรคฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง ฯลฯ ประเมินและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดันสูง โรคหัวใจขาดเลือด ไขมันพอกตับ ฯลฯ ที่สำคัญแพทย์อาจพิจารณาให้ยาช่วยลดน้ำหนักที่รับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้องถ้ามีข้อบ่งชี้ และใช้ยาโดยที่ไม่เกิดผลข้างเคียง ยานี้จะช่วยลดความอยากอาหาร ลดการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ ทำให้กินอาหารได้น้อยลง ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้นและมีความสุข ไม่ทรมานจากการต้องทนหิว
- นักกำหนดอาหาร (Dietitian) ช่วยประเมินอาหารที่กินอยู่ว่ามากเกินไปหรือไม่ กำหนดชนิดและปริมาณอาหารแต่ละอย่างให้เหมาะสมตามปริมาณที่ควรจะกินในแต่ละวัน
- นักวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport Scientist) ช่วยแนะนำการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ทั้งชนิดการออกกำลังกาย ความหนักเบาแค่ไหนที่เหมาะกับตัวเรา รวมทั้งแนะนำการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (Resistance Exercise) เพื่อช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อและลดปริมาณไขมันในร่างกาย
- พยาบาลผู้ให้ความรู้ (Obesity Co – ordinator) ช่วยประเมินพฤติกรรมการกิน อุปสรรคของการลดน้ำหนัก ประเมินความเครียด และช่วยหาวิธีคลายเครียด ร่วมกันตั้งเป้าหมายและให้กำลังใจในการลดน้ำหนัก