การรักษาต้อหินมีความสำคัญเพราะช่วยควบคุมอาการต้อหินไปที่ไม่ให้แย่ลง ยับยั้งการทำลายประสาทตา ช่วยลดความเสี่ยงตาบอด ยิ่งรักษาเร็ว ไปพบจักษุแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ ยิ่งช่วยลดความรุนแรงของโรค
แนวทางการรักษาโรคต้อหิน
วิธีรักษาต้อหินมีอยู่หลายวิธี ได้แก่
การรักษาต้อหินโดยใช้ยา
การรักษาต้อหินโดยใช้ยาเป็นการรักษาเบื้องต้นที่ดีที่สุด สะดวก มีประสิทธิภาพ แต่จำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาต้อหินทุกวันตลอดชีวิต ซึ่งปัจจุบันยาหยอดตามีหลายชนิด โดยต่างกันที่กลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพ และอาการข้างเคียง ส่วนการใช้ยารักษาต้อหินชนิดกินหรือฉีดนั้นจะใช้ในระยะสั้นเพื่อเตรียมการผ่าตัด เนื่องจากมีผลข้างเคียงสูง
ยาที่ใช้รักษาต้อหินแบ่งเป็น 6 กลุ่มหลัก ได้แก่
- ยากลุ่ม Beta – Adrenergic Blockers ยากลุ่มนี้โดยเฉพาะยา Timolol เป็นยาที่ใช้บ่อยและใช้มานานแล้ว โดยหยอดวันละ 2 ครั้ง เวลาเช้าและเย็น แต่ควรระวังในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดหรือโรคหัวใจบางชนิด
- ยากลุ่ม Adrenergic Agonist ยากลุ่มนี้บางตัวมีฤทธิ์ปกป้องสายตาได้ด้วย (Neuroprotection) แต่ควรระวังในผู้ป่วยเด็กเล็ก อาจทำให้อ่อนเพลียและง่วงซึม บางรายอาจมีอาการแพ้ได้
- ยากลุ่ม Carbonic Anhydrase Inhibitor ยากลุ่มนี้บางตัวเพิ่มเลือดไปเลี้ยงบริเวณขั้วประสาทตาได้ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแสบตา ยากลุ่มนี้ลดความดันตาได้ดี แต่อาจทำให้ชาปลายมือ ปลายเท้า เบื่ออาหาร น้ำหนักลดได้
- ยากลุ่ม Cholinergic เป็นยาที่ใช้มานาน เพิ่มการไหลออกของน้ำในช่องด้านหน้าลูกตา ทำให้ความดันลด
- ยากลุ่ม Prostaglandin Derivatives เป็นยากลุ่มใหม่ มีประสิทธิภาพในการลดความดันตาได้ดี เพียงหยอดวันละครั้ง มีผลข้างเคียงทางร่างกายน้อยมาก แต่อาจมีอาการตาแดง ผิวหนังรอบดวงตาคล้ำขึ้น ขนตายาวและหนาขึ้น
- ยากลุ่ม Fixed Combination ยาที่รวมเอายา 2 ชนิดไว้ในขวดเดียวกัน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการหยอดตา
การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์
การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์มักใช้ร่วมกับการใช้ยา ซึ่งการทำเลเซอร์ต้อหินไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อน ใช้เวลาทำประมาณ 10 – 15 นาที ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล ที่สำคัญเลเซอร์ต้อหินผลข้างเคียงต่ำ
การรักษาต้อหินโดยการผ่าตัด
การผ่าตัดต้อหินมุ่งเน้นที่การทำช่องระบายน้ำภายในลูกตา (Aqueous) จากช่องลูกตาส่วนหน้าออกมาสู่ภายนอก เพื่อลดความดันตา การผ่าตัดต้องทำในห้องผ่าตัด ใช้เพียงการฉีดยาชาหรือดมยาสลบ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็กใช้วิธีผ่าตัดในกรณีที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยาและเลเซอร์อย่างเต็มที่แล้ว แต่ไม่สามารถควบคุมความดันตาให้อยู่ในระดับที่ปกติได้ หรือรักษาจนความดันตาอยู่ในระดับปกติแต่ยังไม่หาย อาจมีการสูญเสียลานสายตาหรือเส้นใยประสาทตาอย่างต่อเนื่อง หลังผ่าตัดควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด
โรงพยาบาลที่ชำนาญด้านการรักษาต้อหิน
การเลือกโรงพยาบาลรักษาต้อหินที่ได้มาตรฐานมีความสำคัญอย่างมาก ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมดูแลรักษาโรคต้อหินครบทุกมิติ ตั้งแต่การตรวจต้อหินที่โรงพยาบาลกรุงเทพ การวินิจฉัยอย่างละเอียด ตลอดจนดูแลรักษาต้อหินด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาที่พร้อมดูแลอย่างใกล้ชิด
แพทย์ที่ชำนาญการรักษาต้อหิน
การเลือกจักษุแพทย์รักษาต้อหินที่มีความชำนาญเฉพาะทางย่อมช่วยให้ผู้ป่วยมั่นใจในการรักษาและนำมาซึ่งผลลัพธ์การรักษาที่ดี ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพ มีจักษุแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางโรคต้อหินที่มากด้วยประสบการณ์พร้อมให้การดูแลและคำแนะนำที่ถูกต้อง โดยสามารถทำนัดหมายตรวจต้อหินได้ในวันและเวลาที่ต้องการ
สามารถคลิกที่นี่เพื่อทำนัดหมายได้ด้วยตนเอง
แพ็กเกจผ่าตัดต้อหิน
แพ็กเกจผ่าตัดต้อหินราคาเริ่มต้นที่ 57,000 บาท
ดูแพ็กเกจผ่าตัดต้อกระจกเพิ่ม คลิก