LONG COVID กับความผิดปกติของปอด

2 นาทีในการอ่าน
LONG COVID กับความผิดปกติของปอด

หลังหายจาก COVID-19 ผู้ป่วยมักต้องเผชิญกับภาวะลองโควิดที่มีหลากหลายอาการและความผิดปกติที่แตกต่างกัน ซึ่งความผิดปกติของปอดจากภาวะลองโควิดสามารถเกิดขึ้นได้ การสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นและพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กจะช่วยให้รับมือได้อย่างถูกวิธี


สังเกตอาการปอดผิดปกติ

  • เหนื่อย
  • เพลีย
  • ล้า

*** แม้ไม่ได้ออกแรงมากก็ยังมีอาการตามที่กล่าวข้างต้น


ปอดกับ LONG COVID

ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีการอักเสบที่ปอดรุนแรง เนื้อปอดจะกลายเป็นพังผืด ส่งผลให้เนื้อที่ของปอดที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง เมื่อเนื้อที่ของปอดลดลงมากถึงครึ่งหรือเกินครึ่งจะส่งผลกับการใช้ชีวิตหลังหายจากโควิด เรียกว่าแค่เดินขึ้นบันไดก็เหนื่อยจนต้องหยุดพัก หายใจแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน 

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับปอดจากภาวะลองโควิดจึงมีความสัมพันธ์กับช่วงที่ผู้ป่วยเป็นโควิด-19 นั่นคือ หากเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดไม่รุนแรงมาก เนื้อปอดไม่โดนทำลายมาก ย่อมฟื้นตัวเป็นปกติได้ในเวลาไม่นาน แต่หากเชื้อไวรัส
โควิด-19 ลงปอดรุนแรง ปอดถูกทำลายมาก นอกจากภาวะลองโควิดจะกินเวลายาวนาน ยังส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตอย่างชัดเจน ออกแรงเพียงเล็กน้อยก็รู้สึกเหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และอาจป่วยได้ง่ายขึ้น ติดเชื้อที่ปอดได้ง่ายขึ้น การมาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพปอดอย่างละเอียดจึงมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้รู้แน่ชัดว่าอาการเหนื่อยเกิดจากปอดผิดปกติจากภาวะลองโควิดหรือไม่ 


LONG COVID กับความผิดปกติของปอด

ความเสียหายของปอดกับ LONG COVID

ลักษณะความเสียหายของปอดที่พบในผู้ที่มีภาวะลองโควิดได้แก่

  • การติดเชื้อแทรกซ้อน อาทิ เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ในช่วงที่ป่วยเป็นโควิด-19 และมีอาการรุนแรง 3 – 4 สัปดาห์แรก เมื่อหายแล้วเชื้อยังคงหลงเหลืออยู่ที่ปอดจึงต้องรักษาไปอีกประมาณ 3 – 6 เดือน
  • เนื้อปอดอักเสบเสียหายรุนแรง เกิดพังผืด สมรรถภาพปอดลดลง หายใจมีปัญหา ต้องรับประทานยาและทำกายภาพบำบัด โดยระยะเวลาขึ้นอยู่กับความรุนแรง
  • ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด 
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด


อย่างไรก็ตามเมื่อหายจากโควิด-19 แล้ว ปอดต้องการระยะเวลาในการฟื้นฟูจนกว่าจะกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงปกติ ซึ่งระยะเวลาในการฟื้นฟูแตกต่างกันตามอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละคน สิ่งสำคัญคือการสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อหายจากโควิด-19 และตรวจเช็กกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะแม้จะมีอาการป่วยจากโควิด-19 เพียงเล็กน้อยก็สามารถมีภาวะลองโควิดที่ส่งผลกับปอดเรื้อรังและยาวนานได้ 

ข้อมูลโดย

Doctor Image
ศ. เกียรติคุณ นพ. สว่าง แสงหิรัญวัฒนา

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
ศ. เกียรติคุณ นพ. สว่าง แสงหิรัญวัฒนา

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์โรคปอด และระบบทางเดินหายใจ

ชั้น 1 อาคารโรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดให้บริการทุกวัน 8.00-16.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด