สกี คือหนึ่งในกีฬาสุดสนุกเมื่อไปต่างแดนในช่วงหิมะตกหรืออากาศหนาวเย็น ซึ่งก่อนจะเล่นสกีนอกจากต้องมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องเครื่องแต่งกาย การฝึกซ้อมในท่าที่ถูกต้องมีส่วนสำคัญที่ช่วยลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น แต่หากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขณะเล่นสกี สิ่งสำคัญคือการพบแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง
ท่วงท่าในการเล่นสกี
การฝึกท่วงท่าก่อนเล่นสกีเป็นเรื่องสำคัญ โดยทั่วไปมักใช้การไถลบนพื้นราบไปข้างหน้า ซึ่งมีอุปกรณ์ช่วยคือไม้สต็อก โดยวางไม้สต็อกทั้งสองข้างไว้ข้างหน้าสกี ระยะห่างประมาณ 15 เซนติเมตร จากนั้นไถลตัวไปข้างหน้า เมื่ออยากเร่งความเร็วให้วางไม้เป็นรูปตัว V จากนั้นไถลไปทีละข้าง เมื่อข้างหนึ่งไปอีกข้างค่อยตามในทางที่เฉียงไปด้านหน้า แต่หากต้องการเปลี่ยนทิศให้เปิดหน้าเท้าไม้ข้างใดข้างหนึ่งในทิศทางที่ต้องการแล้วหมุนยกอีกข้าง ค่อย ๆ เลื่อนไปทีละนิด เพียงเท่านี้ก็จะสามารถเล่นไปตามทิศทางที่ต้องการ
(REF: http://www.skifurano.com/เทคนิคการเล่นสกีเบื้อง/)
อุบัติเหตุกับสกี
ในการเล่นสกีผู้เล่นมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดใน 3 ตำแหน่ง คือ เข่า ไหล่ ข้อเท้าและขา ซึ่งบริเวณที่พบมากที่สุดคือเข่า โดยเฉพาะเอ็นไขว้หน้าเข่า (ACL – Anterior Cruciate Ligament) และเอ็นข้างเข่าด้านใน (MCL – Medial Collateral Ligament) ที่มักเกิดการบาดเจ็บร่วมกัน โดยความรุนแรงนั้นมีหลายระดับขึ้นอยู่กับแรงกระแทกและตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนใหญ่ที่พบคือเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด
อาการเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด
อาการที่พบเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการเล่นสกีจนเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด ได้แก่
- ข้อเข่าบิดและพลิกรุนแรง
- บวม
- เกิดเสียงในข้อขณะเกิดอุบัติเหตุ
- รู้สึกข้อหลวม ไม่มั่นคง
- ปวดมากเมื่องอเข่า
- เดินลงน้ำหนักไม่ได้
รักษาเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด
การรักษาเอ็นไขว้หน้าเข่าขาดแพทย์ผู้ชำนาญการจะรักษาตามอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ โดยการผ่าตัดผ่านกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด คืออีกทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://ww2.bangkokhospital.com/th/acl-earley-treatment-before-osteoarthritis
BIODEX BALANCE SYSTEM
หลังการผ่าตัดผ่านกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด นอกจากการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง การทำกายภาพบำบัดคือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้กลับมาเคลื่อนไหวได้โดยเร็ว โดยจะมีการใช้ Biodex Balance System เครื่องทดสอบการทรงตัวของร่างกายด้วยระบบดิจิทัล (Balance Test) ในการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติและประสาทความรู้สึกในการทรงตัว รวมถึงใช้ฝึกการทรงตัวในลักษณะต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกับการเล่นกีฬา และฝึกการทรงตัวในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการทรงตัวใน 4 กลุ่มอาการ คือ Stabilization, Weight Shift, Weight Bearing, Postural Control เพื่อช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยระบบประสาทและสมอง
อย่างไรก็ตามก่อนการเล่นสกีควรวอร์มร่างกายเพื่อลดการเป็นตะคริวและยืดหยุ่นได้ดีในสภาพอากาศเย็น ที่สำคัญหากเกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บควรพบแพทย์ผู้ชำนาญการทันที