การจะเลือกทำเลสิกแบบไหนให้เหมาะกับปัญหาสายตาควรต้องปรึกษาจักษุแพทย์ผู้ชำนาญการและมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะข้อดีข้อเสีย ของการทำเลสิกแต่ละประเภทแตกต่างกัน
สายตายาวตามวัยไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะเมื่ออายุขึ้นวัยเลข 4 การเปลี่ยนแปลงของดวงตาย่อมมาเยี่ยมเยือน เลนส์แก้วตายืดหยุ่นน้อยลง การปรับโฟกัสของเลนส์ตาแย่ลง มองใกล้ไม่ชัด ต้องมองระยะไกลถึงจะชัด ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ตลอดวิวัฒนาการอันยาวนานในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีผู้ค้นพบว่า เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) มีคุณสมบัติพิเศษในการปรับความโค้งบนผิวกระจกตาได้ โดยวิธีที่นิยมที่สุดเรียกว่า วิธีผ่าตัดการทำเลสิก (LASIK หรือ Laser In - Situ Keratomileusis) เพื่อรักษาภาวะสายตาผิดปกติสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียงแบบถาวร
เลนส์เสริม (Phakic IOL) เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียงได้แบบถาวร ซึ่งเป็นอีกทางเลือกของผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติมาก ซึ่งอาจไม่สามารถที่จะทำเลสิกได้
การดูแลดวงตาหลังผ่าตัดเลสิกสำคัญมาก เพื่อให้การรักษาเป็นไปตามแผนและได้ผลดี ควรต้องมาตรวจหลังผ่าตัดทั้งหมดอย่างน้อย 5 ครั้งคือ 1 วัน , 1 สัปดาห์, 1 เดือน, 3 เดือน และครบ 1 ปี โดยหลังครบปีแนะนำให้ตรวจตาปีละครั้ง เพื่อติดตามผลการรักษาว่าเป็นไปตามแผนการรักษาหรือไม่
PRK เป็นการรักษาสายตาผิดปกติด้วยแสงเลเซอร์เหมือนกัน แต่ต่างกันที่เลสิกมีการแยกชั้นกระจกตา แต่ PRK ไม่ต้องแยกชั้นกระจกตา แต่ใช้แสงเลเซอร์ปรับผิวกระจกตาโดยตรง เมื่อปรับความโค้งเสร็จแล้วจึงปิดแผลด้วยคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ
ขั้นตอนการผ่าตัด FEMTO LASIK
การที่คนเรามีสายตาผิดปกติ (Refractive Error) สามารถแก้ไขได้หลายวิธีเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน ทั้งแว่นสายตา คอนแทคเลนส์ และการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ
ปัญหาสายตาผิดปกติเป็นผลมาจากกำลังการรวมแสงของตาไม่ดีพอกับความยาวลูกตา ทำให้การรวมแสงของตาตกไม่พอดีที่จอประสาทตา เกิดภาวะสายผิดปกติ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง และสายตายาวตามอายุ อีกทางเลือกซึ่งได้รับความนิยม คือ การทำเลสิกแบบ FEMTO LASIK
คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าใคร ๆ ก็สามารถเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์ได้ ในทางตรงกันข้ามคนบางคนอาจมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมกับการทำเลสิก จักษุแพทย์จะต้องทำการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ขั้นพื้นฐานในการเข้ารับการผ่าตัดทำเลสิก