ก้อนที่ต่อมไทรอยด์เมื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดจะมีทั้งกลุ่มเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งและกลุ่มเนื้องอกที่เป็นมะเร็ง ในกรณีที่ก้อนไทรอยด์ที่พบไม่ใช่มะเร็งสามารถรักษาด้วยการจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA) ซึ่งผลข้างเคียงน้อย ใช้เวลาไม่นาน ไม่ต้องพักฟื้น และไม่กลับมาเป็นซ้ำ
แผลขอบทวารหนักพบได้หลังจากการถ่ายอุจจาระแข็งก้อนใหญ่จนมีแผลฉีกขาด อาจเป็นเรื้อรังจนกลายเป็นแผลขอบทวารหนักที่ลึกถึงกล้ามเนื้อหูรูดชั้นใน ทำให้เจ็บปวดทรมานทุกครั้งที่ขับถ่าย และกระทบชีวิตประจำวัน การรักษามีหลายวิธี การฉีด Botulinum Toxin เป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ได้ผลโดยไม่ต้องผ่าตัด
ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของกลุ่มหลอดเลือดในสมองอย่างโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (AVM) ที่มักไม่แสดงอาการ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็มักเริ่มรุนแรง ดังนั้นการสังเกตและรู้เท่าทันโรคคือเรื่องที่ไม่ควรละเลย
โรคช่องอกกับคนไทยไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทั้งหัวใจ ปอด หลอดอาหาร หลอดลม และเส้นเลือดต่าง ๆ หากรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด อย่างมะเร็งปอด เนื้องอกต่อมไทมัส เนื้องอกในปอด เป็นต้น ปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษาที่เข้ามาช่วยศัลยแพทย์ในการผ่าตัดกับหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด da Vinci Xi แขนกลอัจฉริยะที่ช่วยให้แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพอีกครั้ง
ในปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่อยู่ในระยะที่ 4 ซึ่งเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น เช่น ต่อมน้ำเหลืองไกลจากบริเวณต่อมลูกหมาก กระดูก หรือตับ ที่ดื้อต่อการรักษาด้วยฮอร์โมน
เพราะปอดอักเสบ ถ้าเป็นหนักอาจมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต การฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 65 ปี มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำ หากป่วยรุนแรงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้
มะเร็งไทรอยด์มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยส่วนใหญ่มักจะคลำพบก้อนที่ลำคอ มะเร็งไทรอยด์ชนิดที่พบส่วนใหญ่มักมีการดำเนินโรคที่ดี แต่ยังอาจพบการแพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น
ในปัจจุบันการดำน้ำเป็นกิจกรรมที่กำลังได้รับความนิยมทั้งแบบสมัครเล่นและอาชีพ สิ่งสำคัญที่ต้องระวังและไม่ควรละเลยคือการตรวจเช็กสุขภาพอย่างละเอียดก่อนดำน้ำ เพราะอาจพบภัยเงียบจากโรคน้ำหนีบ (Decompression Sickness) โดยเฉพาะผู้ที่มีผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วชนิด Patent Foramen Ovale (PFO) จะมีความเสี่ยงสูงและอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
ท้องเสียเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แม้สามารถรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเองก็ควรระมัดระวังและมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะหากอาการรุนแรงต้องรีบพบแพทย์ทันทีก่อนมีอันตรายถึงชีวิต<br /><br /> <br /><br /> ท้องเสียคืออะไร<br /><br /> ท้องเสียหรืออุจจาระร่วง (Diarrhea) คือ ภาวะที่ร่างกายมีการถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ่ายเหลวเป็นน้ำปนเนื้อ มากกว่าวันละ 3 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง หรือถ่ายมีเลือดปน ถ่ายมีมูกเลือดมากกว่า 1 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง <br /><br /> <br /><br /> ท้องเสียมีกี่แบบ<br /><br /> ท้องเสียแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามระยะเวลาที่มีอาการ ได้แก่<br /><br /> 1) ท้องเสียเฉียบพลัน (Acute Diarrhea) พบมากที่สุด มีอาการอยู่ที่ประมาณ 1 - 3 วัน ก่อนจะดีขึ้นและหายเอง<br /><br /> 2) ท้องเสียต่อเนื่อง (Persistent Diarrhea) จะมีอาการอยู่ที่ประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ ควรสังเกตอาการและปรึกษาแพทย์ทันที<br /><br /> 3) ท้องเสียเรื้อรัง (Chronic Diarrhea) จะมีอาการต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ขึ้นไป อาจจะเป็น ๆ หาย ๆ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด<br /><br /> <br /><br /> สาเหตุท้องเสียเกิดจากอะไร<br /><br /> ท้องเสียเกิดจากความผิดปกติของลำไส้ แบ่งออกเป็น การติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ โดยในกลุ่มที่ท้องเสียเฉียบพลันมักเกิดจากการติดเชื้อ อาทิ ไวรัส แบคทีเรีย กลุ่มพยาธิ ซึ่งจะติดเชื้อชนิดไหนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยทางระบาดวิทยาแต่ละพื้นที่ โรคระบาดใด ๆ ในช่วงเวลาหรือพื้นที่นั้น ๆ หรือปัจจัยในแง่ร่างกายของแต่ละคน เช่น โรคประจำตัว การรับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน เป็นต้น และกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ อาจแบ่งย่อยเป็นชนิดที่ท้องเสียโดยไม่มีความผิดปกติของลำไส้ (Functional Diarrhea) และชนิดที่แพทย์พบความผิดปกติของลำไส้ เช่น มีการอักเสบเรื้อรัง หรือพบก้อนเนื้อ เป็นต้น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อเช็กอาการก่อนสายเกินไป<br /><br /> <br /><br /> การดูแลรักษาเมื่อท้องเสียต้องทำอย่างไร<br /><br /> วิธีการดูแลรักษาเมื่อท้องเสียขึ้นอยู่กับความรุนแรงในการขาดน้ำและโรคประจำตัวของผู้ป่วยเป็นหลัก<br /><br /> 1) ท้องเสียระดับเบา น้ำหนักลดไม่ถึง 5% มีการขาดน้ำเล็กน้อย ยังรับประทานอาหารได้ปกติ โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงหรืออาหารเป็นพิษ อาการมักไม่เกิน 2 - 3 วัน สามารถรักษาเองเบื้องต้นเองได้ โดยการรับประทานเกลือแร่สำหรับคนท้องเสีย (Oral Rehydration Salt - ORS) และกลุ่มยารักษาเพื่อลดอาการ เช่น ยาลดอาการปวดท้อง ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น เมื่ออาการดีขึ้นสามารถหยุดยาได้ แต่ในกรณีที่ท้องเสียแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือเป็นนานมากกว่า 3 - 5 วัน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการค้นหาสาเหตุเพิ่มเติม<br /><br /> 2) ท้องเสียระดับกลาง น้ำหนักลด 6 - 9% มีการขาดน้ำระดับกลาง ผู้ป่วยเริ่มรับประทานได้ไม่ค่อยได้ อาจมีอาการเวียนหัว ริมฝีปากแห้ง ใจหวิว ๆ ปัสสาวะเริ่มลดลงแต่ยังมีอยู่ เมื่อตรวจสัญญาณชีพอาจพบหัวใจเต้นเร็วขึ้น มากกว่า 100 ครั้ง/นาที แต่ความดันยังปกติ เบื้องต้นแนะนำให้รับประทานเกลือแร่สำหรับคนท้องเสีย (Oral Rehydration Salt - ORS) ทันที เพื่อป้องกันการเสียน้ำรุนแรงเพิ่มขึ้น แล้วมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและเข้ารับการรักษาต่อไป <br /><br /> 3) ท้องเสียระดับรุนแรง น้ำหนักลดมากกว่า 10% ขึ้นไป ผู้ป่วยอาจเป็นลมหมดสติ ใจสั่น เวียนหัวรุนแรง ไม่ปัสสาวะเลยหรือปัสสาวะน้อยมาก เมื่อตรวจร่างกายอาจพบสัญญาณชีพผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 120 ครั้ง/นาที หรือความดันตก น้อยกว่า 90/60 มม.ปรอท หายใจเร็ว หากอาการรุนแรงมากจนความดันตกจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉินเพื่อให้สารน้ำอย่างรวดเร็ว แนะนำว่าอย่ารอจนอาการท้องเสียรุนแรง เมื่อเริ่มมีอาการมากขึ้นในระดับกลางควรมาพบแพทย์ทันที <br /><br /> <br /><br /> ท้องเสียเป็นสัญญาณของโรคใดบ้าง<br /><br /> เนื่องจากสาเหตุของอาการท้องเสียนั้นมีหลายภาวะจึงขอยกตัวอย่างกลุ่มโรคที่พบบ่อยและมีความจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติ่ม<br /><br /> ● ลำไส้แปรปรวน ไม่ใช่โรคร้ายแรง “แต่เรื้อรัง” อาการที่พบบ่อย คือ อาการปวดบิดท้องเวลาถ่ายอุจจาระ เมื่อถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วอาการจะดีขึ้นชัดเจน แต่จะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย ซึ่งอาการโรคลำไส้แปรปรวนมีได้หลายแบบ ทั้งท้องเสีย ท้องผูก ท้องผูกสลับท้องเสีย ไม่มีไข้ ไม่มีมูกเลือดปน ช่วงเวลาที่เป็นมักหายได้เอง แต่หากผู้ป่วยมีอาการ เป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ขึ้นไป อาจสงสัยได้ว่าเป็นโรคลำไส้แปรปรวน แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง หากได้รับการวินิจฉัยแล้ว การรักษาหลักจะประกอบด้วยการใช้ยาและการปรับพฤติกรรม เช่น เลี่ยงอาหารกลุ่ม FODMAPs ที่มีคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่รวมหลากชนิดเป็นองค์ประกอบ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนอาการแย่ลง อาทิ นม ข้าวสาลี น้ำผึ้ง ถั่วต่าง ๆ หัวหอม กระเทียม เห็ด ฯลฯ รวมถึงจัดการความเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ เนื่องจากกระตุ้นอาการของโรคให้กำเริบได้เช่นกัน<br /><br /> ● มะเร็งลำไส้ ผู้ป่วยอาจมาด้วยหลากหลายอาการ เช่น ท้องเสียเรื้อรังมากกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป อาจมีมูกเลือดปน ท้องผูกสลับท้องเสีย อาการอาจเป็น ๆ หาย ๆ มีน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว เบื่ออาหารมากผิดปกติ บางคนมีไข้ต่ำ ๆ ต่อเนื่องตลอดเวลา ผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงพื้นฐานเดิมที่จะเป็นโรคนี้ เช่น มีประวัติคนในครอบครัวหรือญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ ทานอาหารไฟเบอร์ต่ำหรือทานของปิ้งย่างบ่อย ๆ เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นต้น<br /><br /> ● ไทรอยด์สูง ในผู้ป่วยไทรอยด์สูงมักมีอาการท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเหลวเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ได้ เนื่องจากตัวฮอร์โมนไทรอยด์สามารถกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานมากผิดปกติ มักพบร่วมกับอาการอื่น ๆ ของภาวะไทรอยด์สูง เช่น ใจสั่น น้ำหนักลดมากผิดปกติ ขี้ร้อน หรือประจำเดือนมาไม่ปกติในผู้หญิง เป็นต้น <br /><br /> ● ยาฆ่าเชื้อบางชนิด มีผลทำให้เกิดอาการท้องเสีย โดยเกิดจากผลข้างเคียงของยาเอง หรือเกิดจากการที่ยาเข้าไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียดีในลำไส้ทิ้งไปและเชื้อที่ไม่ดีเจริญเติบโตมากเกินไป หากเคยใช้ยาฆ่าเชื้อแล้วมีอาการท้องเสียเรื้อรังไม่หายควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียด<br /><br /> <br /><br /> <br /><br /> <br /><br /> ป้องกันท้องเสียได้อย่างไร<br /><br /> หลัก ๆ แล้วท้องเสียเป็น “อาการ” จึงยากที่จะป้องกัน แต่ในส่วนที่พอจะป้องกันได้คือ ท้องเสียแบบเฉียบพลันที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ ป้องกันได้โดยรับประทานอาหารสุก สะอาด กินร้อนช้อนกลาง ล้างมือให้บ่อยทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร นอกจากนั้นต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรจึงจะสามารถทำการรักษาหรือแนะนำการป้องกันหรือปรับพฤติกรรมบางอย่างตามสาเหตุหรือความเสี่ยงของโรคนั้น ๆ นอกจากนี้ยังมีการป้องกันในแง่ “ปรับพฤติกรรม” เพื่อลดความเสี่ยงของโรค เช่น หยุดเหล้า หยุดสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ เป็นต้น<br /><br /> <br /><br /> ท้องเสียจำเป็นต้องมาพบแพทย์หรือไม่<br /><br /> หากท้องเสียอาการไม่รุนแรง ไม่ได้เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง หรือมีอาการอื่น ๆ ประกอบที่สงสัยว่าเป็นกลุ่มโรคร้ายแรง สามารถรักษาตามอาการเบื้องต้นก่อนได้ แต่หากมีอาการขาดน้ำมาก ระดับกลางขึ้นไป หรือไม่ดีขึ้นภายใน 3 – 5 วัน หรือ มีอาการอื่น ๆ เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ถ่ายมีมูกหรือเลือดปน แนะนำให้มาพบแพทย์ทันที<br /><br /> นอกจากนี้ในส่วนของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อายุมากกว่า 65 ปี มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ ทานยากดภูมิคุ้มกัน หรือหญิงตั้งครรภ์ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการระดับกลางก่อน เนื่องจากเสี่ยงต่อการที่โรคจะทรุดลงหรือการเลือกใช้ยาบางชนิดที่อาจใช้ไม่ได้หรือทำปฏิกิริยาระหว่างยากันเองได้ <br /><br /> <br /><br /> แพทย์ที่ชำนาญด้านการรักษาท้องเสีย<br /><br /> นพ.ภควัต เธียรผาติ อายุรแพทย์ คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ<br /><br /> สามารถคลิกที่นี่เพื่อทำนัดหมายได้ด้วยตนเอง<br /><br /> <br /><br /> โรงพยาบาลที่ชำนาญด้านการรักษาท้องเสีย<br /><br /> คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพพร้อมดูแลรักษาอาการท้องเสียในทุกระดับความรุนแรง โดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความชำนาญและมากด้วยประสบการณ์ พร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากความเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ปวดท้องเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งแต่ละตำแหน่งบ่งบอกความผิดปกติที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการรับมือได้อย่างทันท่วงทีเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย
งูสวัด เป็นโรคผิวหนังที่สร้างความทรมาน จากการที่เส้นประสาทอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน มีผื่นขึ้นจนเสียความมั่นใจ ที่น่ากังวลคือภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป นอกจากการปวดตามแนวเส้นประสาท ยังอาจร้ายแรงถึงขั้นสมองและปอดอักเสบ จึงควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดเพื่อลดความเสี่ยงรุนแรง
ความเครียดส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะเมื่อคิดมาก คิดเยอะจนเกินรับไหว อาจส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหาร หรือที่เรียกว่าเครียดลงกระเพาะ