โรคอารมณ์สองขั้ว (BIPOLAR DISORDER)

2 นาทีในการอ่าน
โรคอารมณ์สองขั้ว  (BIPOLAR DISORDER)

รู้จักโรคอารมณ์สองขั้ว

โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) คือ โรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ระหว่างช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (Depression) สลับกับช่วงที่อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania) ระยะเวลาในแต่ละช่วงอาจอยู่เป็นสัปดาห์หรือเดือน โดยมีช่วงอารมณ์ปกติคั่นกลางได้ ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการซึมเศร้าและคิดว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตามแพทย์จะซักประวัติและติดตามลักษณะอาการขณะรักษาเพื่อใช้วินิจฉัยในการแยกโรค

photo

อาการอารมณ์สองขั้ว

  • ช่วงอารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ

  1. มั่นใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้นหรือคิดว่าตนเองยิ่งใหญ่

  2. นอนน้อย

  3. พูดมากกว่าปกติหรือพูดอย่างไม่หยุด

  4. ความคิดแล่นเร็ว

  5. วอกแวกง่าย

  6. อยากทำอะไรหลาย ๆ อย่างในช่วงเวลานั้น

  7. หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ทำให้เกิดปัญหา เช่น ใช้จ่ายหรือลงทุนเยอะ ไม่ยับยั้งใจเรื่องเพศ ฯลฯ

  • ช่วงอารมณ์ซึมเศร้า

  1. ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุกวัน

  2. ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง

  3. เบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารมากเกิน

  4. นอนไม่หลับหรือหลับมากไป

  5. กระสับกระส่ายหรือเชื่องช้ามากขึ้น

  6. อ่อนเพลีย

  7. รู้สึกตนเองไร้ค่า

  8. สมาธิลดลง

  9. คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อย ๆ

photo

สาเหตุโรคอารมณ์สองขั้ว

สาเหตุโรคอารมณ์สองขั้วเชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัย เช่น

  1. มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทหรือโครงสร้างในสมอง

  2. ความเครียด

  3. พันธุกรรม มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไบโพลาร์ 


รักษาโรคอารมณ์สองขั้ว

photo

  • การรักษาด้วยยา 

กลไกของยา คือ การปรับสารเคมีในสมอง ยาจะช่วยทำให้อารมณ์มั่นคงและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักกังวลกับผลข้างเคียงของยา ประเด็นนี้ผู้ป่วยสามารถปรึกษาและร่วมแสดงความคิดเห็นกับแพทย์ระหว่างที่ปรึกษา เพื่อปรับยาให้เหมาะสมในแต่ละราย กลุ่มยาที่ใช้ในโรคอารมณ์สองขั้ว ได้แก่ 

  • ยาควบคุมอารมณ์

  • ยาต้านโรคจิต

  • ยาต้านเศร้า (มักใช้ช่วงสั้น ๆ ในระยะที่มีอาการซึมเศร้า)

photo

  •  การรักษาด้วยจิตบำบัด

ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วมักเจอกับปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่เป็นผลจากโรค การทำจิตบำบัดจึงมีประโยชน์มาก ผู้ป่วยจะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองและการจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมบำบัดอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด และโยคะ

bipolar-treatment-3.jpg

photo

bipolar-treatment-5.jpg

 

  • การรักษาด้วยไฟฟ้า

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก หรือตัวโรคตอบสนองต่อยาไม่ดีเท่าที่ควร ECT เป็นตัวเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพดี โดยกระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นสมองเพื่อปรับสารเคมีต่าง ๆ ผู้ป่วยจะต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด บางรายอาจมีปัญหาด้านความจำช่วงสั้น ๆ แต่ยังไม่พบว่า ECT มีผลเสียต่อสมองในระยะยาว


photo


ลองสังเกตตนเองและคนใกล้ตัว ถ้าเข้าข่ายโรคไบโพลาร์ให้รีบไปตรวจวินิจฉัยและรีบรักษาแต่เนิ่น ๆ หากรู้ ยอมรับตัวเองได้ และเข้ารับการรักษาก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ 

Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 3-6 อาคารโรงพยาบาลชีวา ทรานสิชั่นนัล แคร์

เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด