ถาม - ตอบเรื่องน่าสงสัยของโรคซึมเศร้า

3 นาทีในการอ่าน
ถาม - ตอบเรื่องน่าสงสัยของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ จากสถิติพบโรคซึมเศร้าประมาณ 20% ของประชากรทั่วไป หากรีบรักษาย่อมเพิ่มโอกาสหาย แต่หากปล่อยไว้อาจกระทบกับการใช้ชีวิตจนอยากทำร้ายตัวเองได้ จึงควรเข้าใจโรคซึมเศร้าและรับมืออย่างถูกต้อง

Q : โรคซึมเศร้าคืออะไร

A : โรคซึมเศร้าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมอง โดยมีสาเหตุหนึ่งมาจากการเผชิญกับความเครียดเป็นระยะเวลานาน
     
ส่งผลให้สมองสูญเสียความสมดุล หรือในบางคนเกิดจากภาวะทางพันธุกรรมบางอย่างที่ถ่ายทอดส่งต่อกันมา 


Q : อาการโรคซึมเศร้าเป็นอย่างไร

A : อาการของโรคซึมเศร้าจะเศร้าจนไม่อยากทำอะไร จากเดิมที่เป็นคนแอ็กทีฟกระฉับกระเฉงจะกลายเป็นไม่มีแรง ไม่
     
อยากทำอะไร ที่สำคัญกระทบกับการนอน การกิน และบางคนเกิดความคิดอยากทำร้ายตัวเองได้


Q : สังเกตอาการซึมเศร้าของตนเองได้อย่างไร

A : วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าของตนเองได้ง่าย ๆ คือ ระดับพลังงานชีวิตลดลง ไม่อยากทำอะไร นอนไม่หลับ หยุดคิดเรื่อง
     
ต่าง ๆ ไม่ได้, ไม่มีสมาธิ, รู้สึกไม่ดีกับตนเอง, เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากเกินไป, เริ่มมีความคิดอยากทำร้าย
     
ตนเอง ฯลฯ


Q : สังเกตอาการคนใกล้ชิดว่าเป็นซึมเศร้าได้อย่างไร

A : วิธีสังเกตอาการคนใกล้ชิดที่เป็นซึมเศร้าให้ดูพฤติกรรมในภาพรวมว่าเปลี่ยนไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน เช่น จากเดิม
     
เป็นคนสนุกสนานร่าเริงเปลี่ยนเป็นคนเงียบ เก็บตัว ไม่ชอบพูดคุย ไม่อยากทำอะไร เป็นต้น แนะนำให้พูดคุยซักถามว่า
     
ช่วงนี้เป็นอย่างไร ทำไมช่วงนี้เงียบ ๆ ไป เป็นต้น


Q : ในแต่ละช่วงวัยอาการซึมเศร้ามีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

A : เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่าในแต่ละช่วงวัยของมนุษย์ อาการแสดงของโรคซึมเศร้าอาจแตกต่างกันออกไป ได้แก่

      วัยรุ่น มีฮอร์โมนพลุ่งพล่าน อาการแสดงของโรคซึมเศร้าอาจจะเป็นอาการใจร้อนขึ้น รู้สึกอารมณ์เสียตลอดเวลา

      คนวัยทำงาน มีพฤติกรรมลักษณะอาการแสดงของโรคซึมเศร้าที่เกี่ยวกับงานมากขึ้น เช่น เครียดในงาน หรือมี
         
ปัญหาความสัมพันธ์ ฯลฯ

      ผู้สูงวัย ส่วนใหญ่อาการแสดงของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักมีความเกี่ยวข้องกับความเสื่อมของสมอง
         
บางครั้งแสดงออกในลักษณะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล โดยมากจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกาย เจ็บตรงนั้น ปวดตรงนี้
         
ไปหาหมอหลายที่ บางครั้งเป็นอาการแสดงโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัย

      ผู้หญิงหลังคลอด บางครั้งเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จากเดิมที่ทารกในครรภ์มีฮอร์โมนแบบหนึ่ง หลัง
         
คลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนแบบวูบลงมาอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เกิด
         
อาการซึมเศร้าหลังคลอดได้ เช่น คุณแม่ซึมลง คุณแม่ร้องไห้ง่าย ฯลฯ


ถาม - ตอบเรื่องน่าสงสัยของโรคซึมเศร้า

Q : แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าเป็นอย่างไร

A : ปัจจุบันมีหลายแนวทางในการรักษาโรคซึมเศร้า ได้แก่

     1) การใช้ยา ปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลข้างเคียงน้อยลงเมื่อเทียบกับในอดีต

    2) การทำจิตบำบัดหรือการพูดคุย มีหลากหลายเครื่องมือและหลากหลายวิธีการในการทำจิตบำบัด ซึ่งผู้ป่วยแต่ละ
    
คนมีลักษณะความต้องการในการรักษาที่แตกต่างกันออกไป


Q : เทคโนโลยีการรักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบันเป็นอย่างไร

A : การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นวิธีการรักษาที่มีใช้มานานและมีประสิทธิภาพสูง ปัจจุบันมีหลาย
     
รูปแบบ แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด


Q : ซึมเศร้ากับไบโพลาร์ต่างกันหรือไม่อย่างไร

A : ซึมเศร้ากับไบโพลาร์เป็นคนละโรคกัน โรคไบโพลาร์คือโรคอารมณ์สองขั้ว ระหว่างขั้วซึมเศร้าและขั้วมีความสุข แอ็กทีฟ
     
และไฮเปอร์สุด ๆ ซึ่งจะสลับไปมาระหว่างสองขั้วนี้ แต่โรคซึมเศร้าจะไม่มีการสลับขั้วของอารมณ์จะมีแต่ขั้วของ
     
ซึมเศร้า


Q : ป้องกันโรคซึมเศร้าได้อย่างไร

A : พยายามบาลานซ์ชีวิตให้ดี เพราะชีวิตมีหลายด้านทั้งเรื่องงาน ครอบครัว งานอดิเรก สิ่งที่สนใจ สิ่งที่อยากทำ เรา
     
จำเป็นจะต้องทำทุกอย่างให้รอบด้านเพื่อให้ชีวิตมีความสมดุลมากที่สุดและช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคซึมเศร้า


Q : ปรึกษาจิตแพทย์ดีอย่างไร

A : ไม่อยากให้ทุกคนกลัวการเข้ามาคุยกับจิตแพทย์ เพราะการเข้ามาคุยกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเป็นการพูดคุยกับ
     
คนที่สามารถคุยได้ทุกเรื่องและช่วยกันแก้ปัญหาได้ ถ้าวันหนึ่งที่รู้สึกเครียด จัดการอารมณ์และชีวิตไม่ได้ แนะนำให้
     
ปรึกษาจิตแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางเพื่อหาทางออกที่ถูกต้อง 

ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมดูแลรักษาสุขภาพจิตให้คนทุกช่วงวัย ตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน วัยสูงอายุ ด้วยเครื่องมือ วิธีการ และเทคโนโลยีการรักษาที่หลากหลาย อย่ารอจนเป็นโรคซึมเศร้า เพราะสุขภาพดี เริ่มต้นที่สุขภาพใจ 

ข้อมูลโดย

Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 3-6 อาคารโรงพยาบาลชีวา ทรานสิชั่นนัล แคร์

เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด