หากเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gall Stone) แล้วส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา ปวดร้าวไหล่หรือหลังขวา ไปจนถึงตัวหรือตาเหลืองจากการที่ก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อรักษานิ่วในถุงน้ำดี (Laparoscopic Surgery) ไม่เพียงแผลมีขนาดเล็ก ยังช่วยให้เจ็บน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว กลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง
สบายใจทุกขั้นตอน
การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อรักษานิ่วในถุงน้ำดี (Laparoscopic Surgery) มีกระบวนการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้ชำนาญการและทีมสหสาขาวิชาชีพ ดังนี้
- เจาะรูขนาดเล็กบริเวณหน้าท้องและสะดือ
- ใส่กล้องและเครื่องมือผ่านรูผนังหน้าท้องเพื่อให้เห็นภาพถุงน้ำดีชัดเจนผ่านจอภาพ
- ตัดขั้วและเลาะถุงน้ำดีให้หลุดออกจากตับ
- นำถุงน้ำดีออกทางรูขนาดเล็กที่เจาะไว้บริเวณสะดือ
- ตรวจดูความเรียบร้อยหลังผ่าตัดและทำการปิดแผลให้เรียบร้อย
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องรักษานิ่วในถุงน้ำดี
- แพทย์มองเห็นอวัยวะภายในชัดเจน
- แผลมีขนาดเล็ก
- เจ็บน้อย
- ลดโอกาสการติดเชื้อ
- ฟื้นตัวไว
ผลสำเร็จหลังผ่าตัดผ่านกล้องนิ่วในถุงน้ำดี
- 100% ได้รับการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
- 100% ลุกเดินได้ภายใน 4 – 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัด* ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงก่อนผ่าตัด
- 93% ผ่าตัดผ่านกล้องได้สำเร็จ แม้ในรายที่มีการอักเสบเฉียบพลัน
- 0% การบาดเจ็บที่ท่อน้ำดีหลัก*
- 0% ติดเชื้อหลังผ่าตัด* ในรายที่ไม่มีการอักเสบเฉียบพลัน
ที่มา : สถิติจากผู้เข้ารับการผ่าตัดผ่านกล้องนิ่วในถุงน้ำดี ที่ศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ ในปี 2561
หลังผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปแล้ว ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการย่อยอาหาร เพราะถุงน้ำดีเป็นเพียงที่เก็บพักน้ำดี แต่ควรลดของมัน เน้นทานผักและปลามากขึ้น เพื่อให้ห่างไกลจากอาการท้องอืด ที่สำคัญการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อรักษานิ่วในถุงน้ำดีควรเข้ารับการดูแลโดยแพทย์ผู้ชำนาญการและทีมสหสาขาที่มากด้วยประสบการณ์เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้