แบบทดสอบคุณดื่มมากเกินไปแล้วหรือเปล่า?

3 นาทีในการอ่าน
แบบทดสอบคุณดื่มมากเกินไปแล้วหรือเปล่า?

แบบทดสอบคุณดื่มมากเกินไปแล้วหรือเปล่า?


โปรดตอบคำถามต่อไปนี้ตามความเป็นจริง โดยทำเครื่องหมาย / หน้าคำตอบที่ตรงกับคุณมากที่สุด

1. คุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยแค่ไหน?

(0) ไม่เคยเลย

(1) เดือนละครั้งหรือน้อยกว่า

(2) 2 – 4 ครั้งต่อเดือน

(3) 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์

(4) 4 ครั้งต่อสัปดาห์หรือมากกว่า

2. ในวันที่คุณดื่มตามปกตินั้น คุณดื่มกี่ดื่มมาตรฐาน?
ดื่มมาตรฐาน หมายถึง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใดก็ได้ที่มีแอลกอฮอล์ประมาณ 10 กรัม ได้แก่ เบียร์ 1 แก้ว (285 ม.ล.) ไวน์ 1 แก้วเล็ก (100 ม.ล.) เหล้า 1 แก้ว (30 ม.ล.)

(0) 1 หรือ 2

(1) 3 หรือ 4

(2) 5 หรือ 6

(3) 7 หรือ 9

(4) 10 หรือมากกว่า

3. คุณดื่ม 6 ดื่มมาตรฐานหรือมากกว่าในคราวเดียวกันบ่อยแค่ไหน?
ดื่มมาตรฐาน หมายถึง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใดก็ได้ที่มีแอลกอฮอล์ประมาณ 10 กรัม ได้แก่ เบียร์ 1 แก้ว (285 ม.ล.) ไวน์ 1 แก้วเล็ก (100 ม.ล.) เหล้า 1 แก้ว (30 ม.ล.)

(0) ไม่เคยเลย

(1) เดือนละครั้งหรือน้อยกว่า

(2) เดือนละครั้ง

(3) สัปดาห์ละครั้ง

(4) วันละครั้งหรือเกือบทุกวัน  

4. ในช่วงปีที่แล้วมีบ่อยครั้งแค่ไหนที่คุณพบว่า เมื่อคุณได้เริ่มต้นดื่มแล้ว คุณจะไม่สามารถหยุดดื่มได้เลย?

(0) ไม่เคยเลย

(1) เดือนละครั้งหรือน้อยกว่า

(2) เดือนละครั้ง

(3) สัปดาห์ละครั้ง

(4) วันละครั้งหรือเกือบทุกวัน

5. เมื่อปีที่แล้วมีบ่อยครั้งแค่ไหนที่การดื่มของคุณเป็นสาเหตุให้คุณไม่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่ตามปกติแล้วคุณเคยทำได้มาก่อน?

(0) ไม่เคยเลย

(1) เดือนละครั้งหรือน้อยกว่า

(2) เดือนละครั้ง

(3) สัปดาห์ละครั้ง

(4) วันละครั้งหรือเกือบทุกวัน

6. เมื่อปีที่แล้วมีบ่อยครั้งแค่ไหนที่คุณต้องการจะดื่มในตอนเช้าเพื่อให้คุณรู้สึกดีขึ้นหลักจากที่ได้ดื่มจัดมาก่อนหน้านี้?

(0) ไม่เคยเลย

(1) เดือนละครั้งหรือน้อยกว่า

(2) เดือนละครั้ง

(3) สัปดาห์ละครั้ง

(4) วันละครั้งหรือเกือบทุกวัน

7. เมื่อปีที่แล้วมีบ่อยครั้งแค่ไหนที่คุณรู้สึกผิดหรือเกิดความรู้สึกเสียใจภายหลังการดื่มของคุณ?

(0) ไม่เคยเลย

(1) เดือนละครั้งหรือน้อยกว่า

(2) เดือนละครั้ง

(3) สัปดาห์ละครั้ง

(4) วันละครั้งหรือเกือบทุกวัน

8. เมื่อปีที่แล้วมีบ่อยครั้งแค่ไหนที่การดื่มของคุณทำให้คุณไม่สามารถจำได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในคืนที่ผ่านมา?

(0) ไม่เคยเลย

(1) เดือนละครั้งหรือน้อยกว่า

(2) เดือนละครั้ง

(3) สัปดาห์ละครั้ง

(4) วันละครั้งหรือเกือบทุกวัน

9. คุณหรือใครบางคนเคยได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการดื่มของคุณหรือไม่?

(0) ไม่เคยเลย

(2) เคย แต่ไม่ใช่ปีที่แล้ว

(4) เคยเมื่อปีที่แล้ว

10. เคยมีเพื่อน ญาติพี่น้อง แพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่น ๆ แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับการดื่มของคุณ หรือเคยแนะนำให้คุณลดการดื่มลงบ้างหรือไม่?

(0) ไม่เคยเลย

(2) เคย แต่ไม่ใช่ปีที่แล้ว

(4) เคยเมื่อปีที่แล้ว



การให้คะแนน

รวมคะแนนหน้าข้อที่คุณทำเครื่องหมายไว้ คะแนนที่คุณทำได้ มีความหมาย ดังนี้

0 ถึง 7 คะแนน แสดงว่า คุณมีความเสี่ยงต่ำ

  • คุณควรรักษาระดับการดื่มของคุณไม่ให้มากกว่านี้ตลอดไป
  • ในบางสถานการณ์ เช่น ขณะขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร ตั้งครรภ์ หรือ ที่เจ็บป่วย ฯลฯ การดื่มแอลกอฮอล์แม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้คุณและผู้อื่นเสี่ยงอันตรายได้ จึงไม่ควรดื่มในสถานการณ์ดังกล่าว

 

8 ถึง 12 คะแนน แสดงว่า การดื่มของคุณสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้

  • ขณะนี้คุณอาจจะมีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ การเคลื่อนไหวไม่ดี ความสามารถในการคิดลดลง ความดันโลหิตสูง ซึมเศร้าและเครียด เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ โดยเฉพาะเมื่อขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร
  • คุณควรลดการดื่มลง โดยควบคุมปริมาณการดื่มให้ได้ ดังนี้

             ผู้ชาย คุณไม่ควรดื่มมากกว่า  4  ดื่มมาตรฐานต่อวัน และในแต่ละสัปดาห์ควรหยุดดื่มให้ได้อย่างน้อย  2 วัน ทั้งนี้ไม่ควรดื่มเกิน  6 ดื่มมาตรฐานในวันเดียว

             ผู้หญิง คุณไม่ควรดื่มมากกว่า  2  ดื่มมาตรฐานต่อวัน และในแต่ละสัปดาห์ควรหยุดดื่มให้ได้อย่างน้อย 2 วัน ทั้งนี้ไม่ควรดื่มเกิน  4 ดื่มมาตรฐานในวันเดียว

13 คะแนนขึ้นไป แสดงว่า คุณมีความเสี่ยงสูงหรือเสพติดแอลกอฮอล์แล้ว

  • คุณจะมีอาการผิดปกติต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตับและสมองของคุณจะถูกทำลาย ความจำของคุณจะเสื่อมลง
  • คุณจะมีอาการติดแอลกอฮอล์ อยากดื่มมากจนใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการดื่ม ทำให้เสียการเสียงานและเสียความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว
  • คุณควรหยุดดื่มและไปพบแพทย์เพื่อรับการบำบัดรักษาโดยด่วน



ข้อมูล : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 3-6 อาคารโรงพยาบาลชีวา ทรานสิชั่นนัล แคร์

เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด