4 โรคเรื้อรังต้องระวังช่วงฤดูฝน

3 นาทีในการอ่าน
4 โรคเรื้อรังต้องระวังช่วงฤดูฝน

ในฤดูฝนอุณหภูมิจะลดต่ำลง อากาศมีความชื้นมากขึ้น ส่งผลให้เสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยได้มากขึ้น โดยเฉพาะโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจที่ระบาดถึงกันได้ง่าย การรู้เท่าทันโรคและดูแลตัวเองให้แข็งแรง ย่อมช่วยให้ห่างไกลจากความเจ็บป่วยในหน้าฝน

 

4 โรคเรื้อรังที่พบบ่อยและควรระวังในช่วงฤดูฝน ได้แก่

4 โรคเรื้อรังต้องระวังช่วงฤดูฝน

1) ไข้หวัด (Common Cold)

สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น Rhinovirus (ไรโนไวรัส)

การติดต่อ : สามารถติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อไวรัสเข้าไปในร่างกายหรือผ่านทางการไอจามใส่กัน

อาการ : เมื่อได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปประมาณ 1 – 3 วัน จะมีอาการจาม คัดจมูก มีน้ำมูก ไข้ต่ำ ๆ และมีอาการไอตามมาได้ 

การดูแลรักษา : ไข้หวัดจะรักษาตามอาการ ควรดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ หากมีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไอ เสมหะเพิ่มขึ้น หอบเหนื่อย หรือรับประทานอาหารได้น้อยลงควรต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที

การป้องกัน : ล้างมือบ่อย ๆ ใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้มีอาการไข้หวัด


4 โรคเรื้อรังต้องระวังช่วงฤดูฝน

2) ไข้หวัดใหญ่ (Seasonal Influenza)

สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ Influenza Virus

การติดต่อ : เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่อยู่ในน้ำมูกและเสมหะของผู้ป่วยจึงติดต่อได้ระหว่างผู้ใกล้ชิดที่อยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี หากไอหรือจามสามารถติดต่อผ่านการหายใจเข้าไปได้ โดยมักจะมีอาการหลังจากที่ได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 – 3 วัน

อาการ : มีไข้สูง 38 – 39 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูกร่วมด้วยได้

การดูแลรักษา : รับประทานยาลดไข้กลุ่มพาราเซตามอลและไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและทำการรักษาโดยเร็ว เนื่องจากไข้หวัดใหญ่เมื่อเป็นแล้วมีความเสี่ยงในการเกิดปอดอักเสบได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ และหญิงตั้งครรภ์

การป้องกัน : การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น หัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน 


4 โรคเรื้อรังต้องระวังช่วงฤดูฝน

3) ไข้เลือดออก (Dengue Fever) 

สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus)

การติดต่อ : จากการถูกยุงลายบ้าน (Aedes Egypti) ที่เป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงมีเชื้อไวรัสเดงกีอยู่กัด ยุงชนิดนี้มักอยู่ในภาชนะที่มีน้ำขังและกัดตอนกลางวัน โดยเชื้อเข้าสู่ร่างกายและทำให้มีอาการได้ประมาณ 2 – 7 วัน

อาการ : มีไข้สูง 38 – 39 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ในบางรายอาจมีจุดเลือดออกตามตัวได้

การดูแลรักษา : ทานยาลดไข้กุลุ่มพาราเซตามอล งดทานยาแอสไพริน ยาลดไข้สูงแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs เช่น ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) และไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว

การป้องกัน : หลีกเลี่ยงและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะภาชนะที่มีน้ำขัง แนะนำให้ฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอายุ 9 – 45 ปีที่เคยมีอาการติดเชื้อไวรัสเดงกีมาแล้ว และในผู้ที่ไม่เคยเป็นไข้เลือดออกปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันได้


4 โรคเรื้อรังต้องระวังช่วงฤดูฝน

4) ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)

สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส RSV สามารถติดต่อได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่พบบ่อยในเด็กอายุ 2 ขวบหรือวัยอนุบาล

การติดต่อ : การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก เสมหะของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัส RSV การหายใจเอาเชื้อไวรัสเข้าไปในทางเดินหายใจผ่านการไอหรือจาม

อาการ : ระยะฟักตัวประมาณ 3 – 5 วันหลังจากได้รับเชื้อ ในเด็กเล็กจะมีอาการไข้ ไอ เสมหะ น้ำมูก หากเป็นรุนแรงจะไอ มีเสมหะ เหนื่อย จนเกิดปอดอักเสบได้

การดูแลรักษา : รับประทานยาลดไข้กลุ่มพาราเซตามอล เช็ดตัวลดไข้ หากไม่ดีขึ้นควรไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง หรือเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ มีโอกาสป่วยรุนแรงได้ 

การป้องกัน เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในเด็กเล็ก หากมีอาการไข้ควรงดไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กจนกว่าจะหายดีเพื่อป้องกันโรค


แบบไหนเรียกป่วยเรื้อรัง

อาการที่บ่งบอกว่ากำลังเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ ไอติดต่อกัน 3 สัปดาห์ขึ้นไป หลังเจ็บป่วยจากโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ มีโอกาสเกิดภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือภาวะ Bronchial Hyperresponsiveness (BHR) คือภาวะที่หลอดลมถูกกระตุ้นได้ง่ายหลังจากมีการติดเชื้อไวรัส ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรังได้นานตั้งแต่ 3 – 4 สัปดาห์ขึ้นไป 


เมื่อไรควรมาพบแพทย์

อาการที่ต้องสังเกตอย่างใกล้ชิดและควรรีบมาพบแพทย์ทันที ได้แก่

  • ไข้สูงลอย เช่น 39 องศาเซลเซียส รับประทานทานยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น
  • ไอมีเสมหะจนเหนื่อยหอบ 
  • วัดออกซิเจนปลายนิ้วได้น้อยกว่า 95% 
  • ไอเรื้อรังตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป

ดูแลป้องกันโรคหน้าฝน

  • รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่สะอาด
  • สวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่นอยู่เสมอ
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอทุกวัน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • พักผ่อนอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง
  • เลี่ยงการโดนฝนหรือลุยน้ำท่วม 
  • ถ้าโดนฝนถึงบ้านต้องรีบอาบน้ำสระผมทันที 
  • ระวังไม่ให้ยุงกัด เลี่ยงพื้นที่อับชื้นหรือมีน้ำขัง
  • ล้างมือให้บ่อยช่วยลดการติดเชื้อ

ข้อมูลโดย

Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 1 อาคารโรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00 - 20.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด