ภาวะข้อไหล่ติด

1 นาทีในการอ่าน
หรือ
rifm-iconrifm-play-icon
ฟัง AI สรุปให้
ภาวะข้อไหล่ติด

แชร์

รู้จักข้อไหล่

ข้อไหล่เป็นข้อต่อที่สำคัญอันหนึ่งของร่างกาย ข้อไหล่ประกอบไปด้วย กระดูกหัวไหล่ Humerus และ กระดูกเบ้าหัวไหล่ Glenoid ซึ่งลักษณะทางกายภาพจะคล้ายกับลูกกอล์ฟบนแท่นที ความมั่นคงของข้อไหล่จึงต้องอาศัยเยื่อหุ้มข้อไหล่ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อโดยรอบเพื่อให้สามารถขยับได้ตามต้องการ เช่น การเอื้อมหยิบของเหนือศรีษะ การอ้อมแขนเกาหลัง หรือการใส่เสื้อผ้า


ภาวะข้อไหล่ติดยึด

ภาวะข้อไหล่ติดยึด สามารถพบได้บ่อยในช่วงวัยกลางคน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยมักจะมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่ ทำให้มีความลำบากในการทำกิจกรรมประจำวัน เช่น สวมเสื้อ เกาหลัง หรือทำให้มีอาการปวดหัวไหล่เวลานอน อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่

  1. Primary Stiff Shoulder คือ ภาวะข้อไหล่ติดยึดโดยไม่มีสาเหตุ

  2. Secondary Stiff Shoulder คือ ภาวะข้อไหล่ติดยึดโดยเกิดจากพยาธิสภาพในข้อไหล่ เช่น จากอุบัติเหตุเกี่ยวกับหัวไหล่ หรือจากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ โรคไต โรคหัวใจ ฯลฯ


ระยะข้อไหล่ติดยึด

การดำเนินโรคข้อไหล่ติดยึดนั้นมี 3 ระยะ

  1. ระยะอักเสบ (Inflammatory Phase)

  2. ระยะข้อยึดติด (Frozen Phase)

  3. ระยะคลายตัว (Thal Phase)


วินิจฉัยข้อไหล่ติดยึด

การวินิจฉัยภาวะข้อไหล่ติดยึดนั้น นอกจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายแล้ว ต้องมีการส่ง X Ray, Ultrasound หรือ MRI เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดของการติดยึด เพื่อการวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง


รักษาภาวะข้อไหล่ติดยึด

การรักษาภาวะข้อไหล่ติดยึดแบ่งได้เป็น 2 แบบได้แก่

  1. การรักษาโดยไม่ผ่าตัด ได้แก่
    • การทานยา
    • การฉีดยา Steroid
    • การทำกายภาพบำบัดเพิ่มวิสัยการเคลื่อนไหวข้อไหล่
  2. การรักษาโดยการผ่าตัด เมื่อได้ทำการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมาอย่างน้อย 6 – 12 เดือนแล้วยังมีภาวะไหล่ติดยึดอยู่ แล้วเป็นปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันจึงจะพิจารณาการรักษาโดยการผ่าตัด ปัจจุบันมีการรักษาแบบส่องกล้องข้อไหล่ ซึ่งได้ผลดีและมีการฟื้นตัวได้เร็ว ทำให้การรักษาภาวะข้อไหล่ติดยึดนั้นไม่น่ากลัวอีกต่อไป

         
โดยปกติแล้วภาวะไหล่ติดยึดโดยไม่มีสาเหตุนั้นสามารถหายได้เองตามธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นข้อไหล่ติดยึดโดยมีสาเหตุ เช่น เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดหรือมีความผิดปกติของกระดูกหัวไหล่ต้องรักษาที่ต้นตอนั้น ๆ

Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกาย โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 5 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น.

ประหยัดเวลาค้นหาแพทย์ด้วยตัวเอง

ให้ AI ช่วยประเมินอาการและแนะนำแพทย์ที่เหมาะสม

แชร์

แชร์