ถุงน้ำดีเป็นเพียงตัวเก็บพักน้ำดี ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารประเภทไขมัน หลังผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก น้ำดียังคงถูกสร้างจากตับและไหลลงมาตามท่อน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กเพื่อย่อยไขมันตามปกติ เพียงแต่อาจไม่เข้มข้นเท่าเดิม จึงต้องดูแลด้านการรับประทานอาหารเป็นพิเศษเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว
อาการข้างเคียงเมื่อไม่มีถุงน้ำดี
หลังผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกอาจมีอาการ
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- อาหารไม่ย่อยหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง
- อาจท้องเสียจากการที่น้ำดีไหลออกมามากเกินไป
ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพปริมาณน้อย ๆ จำนวนหลายมื้อแทนการรับประทานมาก ๆ ในครั้งเดียว โดยเฉพาะใน 2 เดือนแรกควรรับประทานอาหารไขมันต่ำ ใยอาหารสูง จะช่วยทุเลาอาการหลังผ่าตัดได้
เลือกอาหารไขมันต่ำ
หลังผ่าตัดถุงน้ำดีเมื่อเวลาผ่านไปท่อน้ำดีจะขยายตัวและเก็บน้ำดีไว้ได้เพิ่มขึ้น บางคนสามารถรับประทานอาหารปกติได้ แต่ในคนที่การย่อยไขมันยังบกพร่อง อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อหลังรับประทานอาหารไขมันสูงในมื้อเดียว
ปกติควรรับประทานอาหารที่มีไขมันร้อยละ 20 – 35 ของพลังงาน โดยเลือกรับประทานไขมันที่ไม่อิ่มตัวเป็นหลัก พบในอโวคาโด น้ำมันมะกอก ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดธัญพืช ปลา และควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบในหนังเป็ด ไก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันเต็มส่วน หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ ซึ่งพบในเบเกอรี่ ครีมเทียม
กรณีมีปัญหาในการย่อยไขมัน แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ (ไขมันน้อยกว่า 3 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค หรือ 1/2 ช้อนชาต่อมื้อ)
ตารางอาหารหลังผ่าตัดถุงน้ำดี
ชนิดอาหาร |
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง |
อาหารที่รับประทานได้ |
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ |
|
|
นมและผลิตภัณฑ์จากนม |
|
|
ข้าว แป้ง ธัญพืช |
|
|
เมนูอาหาร |
|
|
เลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง
อาการท้องเสียพบได้บ่อยหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีมักจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป การเพิ่มใยอาหารจะช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ ใยอาหารพบในธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ผลไม้ ผัก และพืชตระกูลถั่ว ควรเพิ่มการรับประทานใยอาหารทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา และอาหารรสจัด
รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยมื้อ
การรับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่แบ่งเป็นหลายมื้อจะช่วยป้องกันท้องเสียและปวดท้องได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังผ่าตัด 2 เดือนแรก การรับประทานอาหารปริมาณมากและนั่งอยู่กับที่จะทำให้การดูดซึมอาหารไม่ดีและท้องเสียได้
Reference & Resources
- NHS Choices: Do I Need to Change My Diet After Gallbladder Surgery?
- Nutrition and Diet Therapy: Self-instructional Approaches; Peggy Stanfield and Y.H. Hui
- Academy of Nutrition and Dietetics: Amount and Types of Fat We Eat Affect Health and Risk of Disease: Updated Position of Academy of Nutrition and Dietetics
- Institute of Medicine: Dietary Reference Intakes – Macronutrients
- Oprah.com: What to Eat After a Gallbladder Removal